เมนู

วรรคที่ 14



กุสลากุสลปฏิสันทหนากถา



[1550] สกวาที กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูลได้ หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันใดเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
อกุศล ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันนั้นแหละ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศล
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูลได้ แต่ไม่พึงกล่าวว่า ความนึก
ฯลฯ ความตั้งใจอันใด เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอกุศล ความนึก ฯลฯ ความ
ตั้งใจอันนั้นแหละ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศล หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กุศลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่นึกถึงอยู่ ฯลฯ ไม่ตั้งใจอยู่
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กุศลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ผู้ตั้งใจอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า กุศลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้นึกถึงอยู่ ตั้งใจอยู่ ก็
ต้องไม่กล่าวว่า กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูล.
[1551 ] ส. กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูลได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อกุศล ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย

หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กุศลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กุศลย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทำไว้ในใจโดยแยบคาย
มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า กุศลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทำไว้ในใจโดยแยบคาย
ก็ต้องไม่กล่าวว่า กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูลได้ ดังนี้.
[1552] ส. กุศลมูลย่อมสืบต่ออกุศลมูลได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เนกขัมมสัญญาเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งกามสัญญา
อัพยาปาทสัญญาเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งพยาปาทสัญญา อวิหิงสาสัญญา
เกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งวิหิงสาสัญญา เมตตาเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่ง
พยาบาท กรุณาเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งวิหิงสา มุทิตาเกิดขึ้นได้ในลำดับ
แห่งอรติ อุเบกขาเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งปฏิฆะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1553] ส. อกุศลมูลสืบต่อกุศลมูลได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันใด เพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
กุศล ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันนั้นแหละ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอกุศลมูล
หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อกุศลมูลสืบต่อกุศลมูลได้ แต่ไม่พึงกล่าวว่า ความนึก
ฯลฯ ความตั้งใจอันใด เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศล ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ
อันนั้นแหละ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอกุศล หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อกุศลมูลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่นึกถึงอยู่ ฯลฯ ผู้ไม่
ตั้งใจอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อกุศลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ผู้ตั้งใจอยู่
มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า อกุศลเกิดขึ้นแก่ผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ผู้ตั้งใจอยู่
ก็ต้องไม่กล่าวว่าอกุศลมูลสืบต่อกุศลมูลได้.
[1554] ส. อกุศลมูลสืบต่อกุศลมูลได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กุศลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทำไว้ในใจโดยแยบคาย หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อกุศลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทำไว้ในใจโดยแยบคาย หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อกุศลเกิดขึ้น แก่บุคคลผู้ทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย
มิใช่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อกุศลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทำไว้ในใจโดยไม่
แยบคาย ก็ต้องไม่กล่าวว่า อกุศลมูล ย่อมสืบต่อกุศลมูลได้ ดังนี้.
[1555] ส. อกุศลมูล สืบต่อกุศลมูลได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว
ส. กามสัญญาเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งเนกขัมมสัญญา
พยาปาทสัญญาเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งอัพยาปาทสัญญา วิหิงสาสัญญา
เกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งอวิหิงสาสัญญา พยาบาทเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่ง
เมตตา วิหิงสาเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งกรุณา อรติเกิดขึ้นได้ในลำดับ
แห่งมุทิตา ปฏิฆะเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งอุเบกขา หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1556] ป. ไม่พึงกล่าวว่า กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูลได้ อกุศลมูล
สืบต่อกุศลมูลได้ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. จิตกำหนัดในวัตถุนั้นเทียว ก็คลายกำหนัดในวัตถุ
นั้นเทียว คลายกำหนัดในวัตถุใดเทียว ก็กำหนัดในวัตถุนั้นเทียว มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า จิตกำหนัดในวัตถุใดเทียว ก็คลายกำหนัด
ในวัตถุนั้นเทียว คลายกำหนัดในวัตถุใดเทียว ก็กำหนัดในวัตถุนั้นเทียว
ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูลได้ อกุศลมูล
สืบต่อกุศลมูลได้.
กุสลากุสลปฏิสันทหนกถา จบ

อรรถกถากุสลากุสลปฏิสันทหนกถา



ว่าด้วย การสืบต่อของกุศลและอกุศล



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องการสืบต่อกุศลและอกุศล. ในเรื่องนั้น กุศลชื่อว่า
เกิดขึ้นในลำดับแห่งอกุศล หรือว่าอกุศลชื่อว่าเกิดขึ้นในลำดับแห่งกุศล
ย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น การสืบต่อของกุศลและอกุศลเหล่านั้นจึงไม่
ประกอบซึ่งกันและกัน คือไม่ปนกัน.
อนึ่ง ชนเหล่าใดถือลัทธิดุจลัทธินิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายว่า ความ
กำหนัดและความคลายกำหนัดมีในวัตถุเดียวกันนั่นแหละ เหตุใด เพราะ
เหตุนั้น ธรรมนั้นจึงชื่อว่าสืบต่อซึ่งกันและกัน ดังนี้ คำถามของสกวาที
หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
คำทั้ง 2 คือ อาวชฺชนา คือความนึก ปณิธิ คือความตั้งใจ เป็น
ชื่อของอาวัชชนจิตนั่นแหละ. จริงอยู่ ชื่อว่า อาวัชชา เพราะอรรถว่า
ยังภวังคจิตนั้นให้เคลื่อนไป. ชื่อว่า ปณิธิ เพราะอรรถว่า ย่อมดำรง คือ
ตั้งจิตไว้ในอารมณ์อื่นนอกจากอารมณ์ของภวังค์. คำว่า กุศลเกิดขึ้น
ได้แก่ผู้ไม่นึกถึงอยู่
ความว่า สกวาทีย่อมถามด้วยคำว่า กุศลที่เกิดสืบต่อ
ในลำดับแห่งอกุศลนั้นใด กุศลนั้นย่อมเกิดแก่ผู้ไม่นึกหรือ ฝ่ายปรวาที
เมื่อไม่เห็นความเกิดขึ้นแห่งกุศลโดยเว้นจากการนึก จึงตอบปฏิเสธ.
คำว่า กุศลเกิดขึ้นได้แก่ผู้ทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายหรือ ดังนี้ ท่าน
กล่าวเพื่อท้วงว่า ผิว่า กุศลพึงเกิดในลำดับแห่งอกุศลไซร้ กุศลนั้นก็พึง
เกิดเพราะมนสิการโดยอุบายอันไม่แยบคายด้วยอาวัชชนะของอกุศล
ทีเดียว ดังนี้. คำที่เหลือในที่นี้พึงทราบตามพระบาลีนั่นแหละ. คำว่า