เมนู

ธัมมตัณหาไม่เป็นทุกขสมุทัย ดังนี้.
ธัมมตัณหา นทุกขสมุทโยติกถา จบ

อรรถกถาธัมมตัณหา นทุกขสมุทโยติกถา



ว่าด้วย ธัมมตัณหาไม่เป็นทุกขสมุทัย



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องธัมมตัณหามิใช่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์. แม้ในเรื่องนี้
ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายปุพพเสลิยะทั้งหลายนั่นแหละว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ตัณหานั้นเป็นธัมมตัณหา เหตุใด เพราะ
เหตุนั้น ตัณหานั้นจึงมิใช่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ดังนี้ คำถามของสกวาที
หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือเช่นกับ
เรื่องก่อนนั่นแหละ ดังนี้แล.
อรรถกถาธัมมตัณหา นทุกขสมุทโยติกถา จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ



1. กัปปัฏฐกถา 2. กุสลจิตตปฏิลาภกถา 3. อันตราปยุตตกถา
4. นิยตัสสนิยามกถา 5. นีวุตกถา 6. สัมมุขีภูตกถา 7. สมาปันโน-
อัสสาเทติกถา 8. อาสาตราคกถา 9. ธัมมตัณพาอัพยากตาติกถา
10. ธัมมตัณหานทุกขสมุทโยติกถา.
วรรคที่ 13 จบ

วรรคที่ 14



กุสลากุสลปฏิสันทหนากถา



[1550] สกวาที กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูลได้ หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันใดเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
อกุศล ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันนั้นแหละ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศล
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูลได้ แต่ไม่พึงกล่าวว่า ความนึก
ฯลฯ ความตั้งใจอันใด เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอกุศล ความนึก ฯลฯ ความ
ตั้งใจอันนั้นแหละ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศล หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กุศลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่นึกถึงอยู่ ฯลฯ ไม่ตั้งใจอยู่
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กุศลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ผู้ตั้งใจอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า กุศลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้นึกถึงอยู่ ตั้งใจอยู่ ก็
ต้องไม่กล่าวว่า กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูล.
[1551 ] ส. กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูลได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อกุศล ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย