เมนู

จักขุนทริยสนิทัสสนันติอาทิกถา



[1121] สกวาที จักขุนทรีย์เป็นสนิทัสสนะ หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว
ส. เป็นรูป เป็นรูปายตนะ เป็นรูปธาตุ ฯลฯ มาสู่คลอง
แห่งจักษุ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1122] ส. จักขุนทรีย์เป็นสนิทัสสนะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อาศัยจักษุและจักขุนทรีย์ จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1123] ส. อาศัยจักษุและจักขุนทรีย์ จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. คำว่า อาศัยจักษุและจักขุนทรีย์ จึงเกิดจักขุวิญญาณ
ขึ้น ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง หรือ ?
ป. ไม่มี
ส. คำว่า อาศัยจักษุและรูปจึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น ดังนี้
เป็นสูตรมีอยู่จริง หรือ ?
ป. ถูกแล้ว
ส. หากว่า คำว่า อาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ
ขึ้น
ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง ก็ต้องไม่กล่าวว่า อาศัยจักษุและจักขุนทรีย์
จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น.

[1124] ป. ไม่พึงกล่าวว่า อินทรีย์ 5 เป็นสนิทัสสนะ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ท่านเห็นจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า ท่านเห็นจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ด้วย
เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า อินทรีย์ 5 เป็นสนิทัสสนะ ฯลฯ
จักขุนทริยสนิทัสสนันติอาทิกถา จบ

กายกัมมสนิทัสสนันติกถา



[1125] สกวาที กายกรรมเป็นสนิทัสสนะหรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. เป็นรูป เป็นรูปายตนะ เป็นรูปธาตุ เป็นสีเขียว เป็น
สีเหลือง เป็นสีแดง เป็นสีขาว เป็นวินัยแห่งจักขุวิญญาณ กระทบที่จักษุ
มาสู่ครองแห่งจักษุ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กายกรรม เป็นสนิทัสสนะหรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อาศัยจักษุและกายกรรม จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อาศัยจักษุและกายกรรม จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. คำว่า อาศัยจักขุและกายกรรม จึงเกิดจักขุวิญญาณ
ขึ้น ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริงหรือ ?
ป. ไม่มี.
ส. คำว่า อาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น ดังนี้
เป็นสูตรมีอยู่จริงหรือ ?
ป. ไม่มี.
ส. คำว่า อาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น ดังนี้