เมนู

สัมมุขีภูตกถา



[1526] สกวาที บุคคลเป็นผู้มีจิตพร้อมพรั่งด้วยสัญโญชน์ ละ
สัญโญชน์ได้หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. บุคคลเป็นผู้มีจิตอันราคะย้อมแล้ว ละราคะ เป็นผู้
มีจิตอันโทสะประทุษร้ายแล้ว ละโทสะ เป็นผู้มีจิตหลงแล้ว ละโมหะ เป็น
ผู้มีจิตเศร้าหมองแล้ว ละกิเลส หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลละราคะด้วยราคะ ละโทสะด้วยโทสะ ละโมหะ
ด้วยโมหะ ละกิเลสด้วยกิเลส หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ราคะก็สัมปยุตด้วยจิต มรรคก็สัมปยุตด้วยจิต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นความประชุมแห่งผัสสะ 2 ฯลฯ แห่งจิต 2 หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ราคะเป็นอกุศล มรรคเป็นกุศล หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ธรรมที่เป็นกุศลและธรรมที่เป็นอกุศล ธรรมที่มี
โทษและธรรมที่ไม่มีโทษ ธรรมเลวและธรรมประณีต ธรรมดำและ
ธรรมขาวอันเป็นข้าศึกกัน มาพบกันหรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ธรรมที่เป็นกุศลและธรรมที่เป็นอกุศล ธรรมที่มีโทษ

และธรรมที่ไม่มีโทษ ธรรมเลวและธรรมประณีต ธรรมดำและธรรมขาว
อันเป็นข้าศึกกัน มาพบกันหรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
4 ประการนี้ ไกลกัน ไกลกันนัก 4 ประการ เป็นไฉน ฟ้าและแผ่นดิน
นี้ประการแรก ที่ไกลกัน ไกลกันนัก ฯลฯ เพราะฉะนั้น ธรรมของสัตบุรุษ
จึงไกลกันจากอสัตบุรุษ
ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ธรรมที่เป็นกุศล และ
ธรรมที่เป็นอกุศล ฯลฯ มาพบกัน
[1527] ส. บุคคลเป็นผู้มีจิตพร้อมพรั่งด้วยสัญโญชน์ ละสัญโญชน์
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ภิกษุนั้น ครั้นเมื่อ
จิตตั้งมั่นแล้ว ฯลฯ อย่างนี้ ย่อมน้อมจิตไปเพื่อญาณเป็นเครื่องสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลาย
ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลมีจิตพร้อมพรั่ง
ด้วยสัญโญชน์ ละสัญโญชน์.
[1528] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ผู้มีจิตพร้อมพรั่งด้วยสัญโญชน์ ละ
สัญโญชน์ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า เมื่อภิกษุนั้น รู้อยู่
อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ ฯลฯ จิตย่อม
หลุดพ้น แม้จากอวิชชาสวะ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ถ้าอย่างนั้น บุคคลก็เป็นผู้มีจิตพร้อมพรั่งด้วยสัญโญชน์
ละสัญโญชน์ น่ะสิ.
สัมมุขีภูตกถา จบ

อรรถกถาสัมมุขีภูตกถา



ว่าด้วย ผู้มีจิตพร้อมพรั่งด้วยสัญโญชน์



บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องผู้มีจิตพร้อมพรั่งด้วยสัญโญชน์. ในเรื่องนั้น
บุคคลผู้มีสัญโญชน์ย่อมเป็นเข้าถึงซึ่งความเป็นผู้มีจิตพรั่งพร้อมต่อ
สัญโญชน์ทั้งหลาย คือเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสัญโญชน์เหล่านั้น. คำที่เหลือ
ในที่นี้เช่นกันเรื่องผู้ถูกนิวรณ์ครอบงำแล้วนั่นแหละ ดังนี้แล.
อรรถกถาสัมมุขีภูตกถา จบ