เมนู

[1525] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลเป็นผู้มีจิตอันนิวรณ์ครอบงำ
แล้วละนิวรณ์ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า เมื่อภิกษุนั้น รู้อยู่
อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากกามาสวะ ฯลฯ จิตย่อม
หลุดพ้นแม้จากอวิชชาสวะ
ดังนี้1 เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ถ้าอย่างนั้น บุคคลก็เป็นผู้มีจิตอันนิวรณ์ครอบงำแล้ว
ละนิวรณ์ น่ะสิ.
นีวุตกถา จบ

อรรถกถานีวุตกถา



ว่าด้วย ผู้มีจิตอันนิวรณ์ครอบงำแล้ว



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องของผู้มีจิตอันนิวรณ์ครอบงำแล้ว. ในเรื่องนั้น
ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอุตตราปถกะทั้งหลายว่า บุคคล
ผู้ถูกนิวรณ์ทั้งหลายครอบงำแล้ว ปกปิดแล้ว หุ้มห่อแล้วย่อมละนิวรณ์
เพราะความที่บุคคลบริสุทธิ์แล้วไม่มีสิ่งที่ควรทำให้บริสุทธิ์ ดังนี้ คำถาม
ของสกวาทีว่า บุคคลผู้มีจิตอันนิวรณ์ครอบงำแล้ว เป็นต้น หมายถึง
ชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำว่า บุคคลเป็นผู้มีจิต
อันราคะย้อมแล้ว
เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงโทษในการละนิวรณ์

1. อภิ. ก. 37/ 760.

ของผู้มีจิตอันนิวรณ์ครอบงำแล้ว. คำว่า บุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว
เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงสมุจเฉทวิสุทธิแห่งผู้บริสุทธิ์แล้วนอกจาก
วิขัมภนวิสุทธิ. คำว่า เมื่อภิกษุนั้นรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ เป็นต้น
ท่านย่อมแสดงความสิ้นไปแห่งอาสวะของผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้ มิใช่แสดง
ถึงการละนิวรณ์ของผู้มีจิตอันนิวรณ์กำลังครอบงำ เพราะฉะนั้น ข้อนี้
จึงไม่สำเร็จประโยชน์ด้วยประการฉะนี้แล.
อรรถกถานีวุตกถา จบ

สัมมุขีภูตกถา



[1526] สกวาที บุคคลเป็นผู้มีจิตพร้อมพรั่งด้วยสัญโญชน์ ละ
สัญโญชน์ได้หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. บุคคลเป็นผู้มีจิตอันราคะย้อมแล้ว ละราคะ เป็นผู้
มีจิตอันโทสะประทุษร้ายแล้ว ละโทสะ เป็นผู้มีจิตหลงแล้ว ละโมหะ เป็น
ผู้มีจิตเศร้าหมองแล้ว ละกิเลส หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลละราคะด้วยราคะ ละโทสะด้วยโทสะ ละโมหะ
ด้วยโมหะ ละกิเลสด้วยกิเลส หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ราคะก็สัมปยุตด้วยจิต มรรคก็สัมปยุตด้วยจิต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นความประชุมแห่งผัสสะ 2 ฯลฯ แห่งจิต 2 หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ราคะเป็นอกุศล มรรคเป็นกุศล หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ธรรมที่เป็นกุศลและธรรมที่เป็นอกุศล ธรรมที่มี
โทษและธรรมที่ไม่มีโทษ ธรรมเลวและธรรมประณีต ธรรมดำและ
ธรรมขาวอันเป็นข้าศึกกัน มาพบกันหรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ธรรมที่เป็นกุศลและธรรมที่เป็นอกุศล ธรรมที่มีโทษ