เมนู

นิยตัสสนิยามกถา



[1521] สกวาที บุคคลผู้แน่นอนแล้ว ย่อมก้าวลงสู่ทางแน่นอน
(นิยาม) หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้แน่นอนแล้วในมิจฉัตตะ ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม
ได้ บุคคลผู้แน่นอนแล้วในสัมมัตตะ ก็ก้าวลงสู่มิจฉัตตนิยามได้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลแน่นอนแล้ว ย่อมก้าวลงสู่ทางแน่นอน หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ยังมรรคให้เกิดก่อนแล้ว จึงก้าวลงสู่ทางแน่นอน (นิยาม)
ในภายหลัง หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ยังโสดาปัตติมรรคให้เกิดก่อนแล้ว จึงก้าวลงสู่โสดา-
ปัตตินิยามในภายหลัง หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ยังสกทาคามิมรรค ฯลฯ ยังอนาคามิมรรค ฯลฯ ยัง
อรหัตมรรคให้เกิดก่อนแล้ว จึงก้าวลงสู่อรหัตตนิยาม ในภายหลัง หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลยังสติปัฏฐาน ฯลฯ ยังสัมมัปปธาน ฯลฯ ยัง
อิทธิบาท ฯลฯ ยังอินทรีย์ ฯลฯ ยังพละ ฯลฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดก่อนแล้ว
จึงก้าวลงสู่ทางแน่นอนในภายหลัง หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[1522] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้แน่นอนแล้ว ย่อมก้าวลงสู่ทาง
แน่นอน หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระโพธิสัตว์ ไม่เป็นควรเพื่อจะตรัสรู้ธรรมใน
ชาตินั้นหรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้แน่นอนแล้ว ก็ย่อมก้าวลงสู่ทาง
แน่นอน น่ะสิ.
นิยตัสสนิยามกถา จบ

อรรถกถานิยตัสส นิยามกถา



ว่าด้วย นิยามของบุคคลผู้แน่นอนแล้ว



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องนิยามของบุคคลผู้แน่นอนแล้ว. ในเรื่องนั้น นิยาม
คือความแน่นอน มี 2 คือ อนันตริยกรรม ชื่อว่า มิจฉัตตนิยาม และอริย-
มรรค ชื่อว่า สัมมัตตนิยาม เว้นนิยาม 2 นี้แล้ว ธรรมอื่นชื่อว่านิยาม
ย่อมไม่มี. จริงอยู่ เตภูมิกธรรม คือธรรมอันเป็นไปในภูมิ 3 ที่เหลือแม้
ทั้งปวงชื่อว่า อนิยตธรรม คือธรรมอันไม่แน่นอน แม้แต่ธรรมที่ประกอบ
ด้วยเตภูมิกธรรมเหล่านั้น ก็ชื่อว่าเป็นอนิยตธรรมทั้งสิ้น. อนึ่ง พระพุทธเจ้า
ทั้งหลายไม่พยากรณ์การก้าวลงสู่นิยามธรรมด้วยคำว่า สัตว์นี้จักบรรลุ
โพธิญาณในอนาคตกาล
ด้วยกำลังแห่งพระองค์ แต่พระโพธิสัตว์ท่าน
เรียกว่า นิยตบุคคล เพราะความเป็นผู้มีบุญมาก. ชนเหล่าใด มีความ
เห็นผิดดุจลัทธินิกายปุพพเสลิยะและอปรเสลิยะทั้งหลายว่า พระโพธิสัตว์