เมนู

อรรถกถากัปปัฏฐกถา



ว่าด้วย ผู้ตั้งอยู่ตลอดกัลป์



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องผู้กัปปัฏฐะ คือผู้ตั้งอยู่ตลอดกัลป์. ในเรื่องนั้น
ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายราชคิริกะทั้งหลายว่า ผู้
ทำสังฆเภทย่อมตั้งอยู่ในนรกตลอดกัลป์ทั้งสิ้น ดังนี้ เพราะถือเอา
พระสูตรว่า ผู้ทำสังฆเภทนั้นย่อมไหม้อยู่ในนรกตลอดกัลป์เพราะทำลาย
สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน คำถามของสกวาทีว่า ผู้ตั้งอยู่ตลอดกัลป์ ดังนี้
โดยหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
คำนี้ว่า กัลป์ดำรงอยู่ได้ด้วย พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกด้วย
สกวาทีกล่าวแล้วเพื่อแสดงความไม่มีสังฆเภท โดยเว้นจากการอุบัติขึ้น
ของพระพุทธเจ้า. คำว่า กัลป์ดำรงอยู่ได้ด้วย สงฆ์แตกกันได้ด้วย เป็นต้น
สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงว่า ถ้าว่า บุคคลผู้ตั้งอยู่ตลอดกัลป์นั้นย่อมตั้งอยู่
ตลอดกัลป์ทั้งสิ้นไซร้ เขาก็ต้องทำกรรมนั้นตั้งแต่กัลป์ที่กำลังสร้างขึ้น
มาแล้วก็เกิดในนรกนั้น. คำว่า พึงดำรงอยู่ตลอดกัลป์ส่วนที่เป็นอดีต
เป็นต้น มีอธิบายดุจคำที่กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแหละ.
ในปัญหาว่า บุคคลผู้ตั้งอยู่ตลอดกัลป์เป็นผู้มีฤทธิ์หรือ ปรวาที
ตอบปฏิเสธ เพราะหมายเอาฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยการเจริญภาวนา. แต่ยอม
ตอบรับรองในลัทธิของปรวาที หมายเอาฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยการเกิดของ
ผู้ตั้งอยู่ตลอดกัลป์นั้น. คำว่า บุคคลผู้ตั้งอยู่ตลอดกัลป์ได้เจริญฉันทิทธิบาท
เป็นต้น คำนี้สักว่าเป็นลัทธิว่า ชื่อว่าผู้มีฤทธิ์เพราะฤทธิ์อันสำเร็จด้วย
การเกิด ดังนี้ สกวาทีกล่าวเพื่อท้วงว่า ถ้าว่า ฤทธิ์ของผู้มีฤทธิ์อันสำเร็จ
ด้วยการเกิดมีไซร้ บุคคลเหล่านี้ก็พึงเจริญอิทธิบาทได้ ดังนี้. พระสูตร

ว่า ผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกจากกัน จะต้องไปอบาย จะต้องไปนรก ท่าน
กล่าวหมายเอาอายุกัลป์ คือว่า ท่านแบ่งกัลป์หนึ่งออกเป็น 80 ส่วน
สัตว์นรกนั้น พึงตั้งอยู่สิ้นกาลประมาณส่วนหนึ่งจาก 80 ส่วนนั้น เพราะ
ฉะนั้น พระสูตรนี้จึงไม่สำเร็จประโยชน์ในเรื่องนี้ ดังนี้แล.
อรรถกถากัปปัฏฐกถา จบ

กุสลจิตตปฏิลาภกถา



[1515] สกวาที บุคคลผู้กัปปัฏฐะไม่พึงกลับได้กุศลจิต หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงให้ทาน หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงให้ทาน ก็ต้องไม่กล่าวว่า
บุคคลผู้กัปปัฏฐะไม่พึงกลับได้กุศลจิต.
[1516] ส. บุคคลผู้กัปปัฏฐะไม่พึงกลับได้กุศลจิต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงให้จีวร ฯลฯ พึงให้บิณฑบาต ฯลฯ
พึงให้เสนาสนะ ฯลฯ พึงให้คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร พึงให้ของขบเคี้ยว
พึงให้ของกิน พึงให้น้ำดื่ม พึงไหว้พระเจดีย์ พึงยกขึ้นซึ่งดอกไม้ ของหอม
เครื่องลูบไล้ที่พระเจดีย์ ฯลฯ พึงทำการประทักษิณพระเจดีย์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงทำการประทักษิณพระ-
เจดีย์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้กัปปัฏฐะไม่พึงกลับได้กุศลจิต ดังนี้ ฯลฯ
[1517] ป. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงกลับได้กุศลจิต หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงกลับได้กุศลจิต อันเป็นการออก
จากอกุศลจิต เป็นเหตุตั้งอยู่ตลอดกัลป์นั้น หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พึงกลับได้กุศลจิตที่เป็นรูปาวจร ฯลฯ ที่เป็นอรูปาวจร