เมนู

อรรถกถาชีวิตาโวโรปนกถา



ว่าด้วย การแกล้งปลงชีวิต



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่อง การแกล้งปลงชีวิต คือเจตนาให้ตาย. ในเรื่องนั้น
ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายปุพพเสลิยะทั้งหลายว่า ปาณาติบาต
ย่อมมีด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยโทสะ ก็พระอริยบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ
คือพระโสดาบัน ละโทสะยังไม่ได้ เหตุใด เพราะเหตุนั้น พระอริยบุคคล
ผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐินั้นพึงแกล้งปลงชีวิตสัตว์ ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า
บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ เป็นต้น หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็น
ของปรวาที.
ในปัญหาทั้งหลายมีคำว่า บุคคลสมบูรณ์ด้วยทิฏฐิพึงแกล้งปลง
ชีวิตมารดา เป็นต้น ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะกลัวผิดจากพระสูตรที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ก็คำว่าพระอริยบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ
แกล้งปลงชีวิตมารดานี้เป็นอฐานะ คือเป็นไปไม่ได้. คำว่า บุคคลผู้มี
ทิฏฐิสมบัติเป็นผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา
เป็นต้น ที่สกวาทีกล่าว
เพื่อแสดงความไม่ก้าวล่วงสิกขาบทของผู้มีความเคารพในพระศาสดา
เป็นต้น. ปรวาทีตอบปฏิเสธด้วยคำว่า ชื่อว่า ความไม่เคารพของพระอริยะ
ผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐินั้นย่อมไม่มีด้วยอำนาจแห่งอกุศลจิต และตอบรับรอง
ซึ่งความที่ท่านเป็นผู้มีความเคารพ. ถูกถามอีกว่า เป็นผู้ไม่มีความเคารพ
เป็นต้น ปรวาทีตอบรับรองโดยหมายเอาความไม่มีการทำอภิวาทและ
การปทักษิณพระเจดีย์ โดยไม่ได้มนสิการด้วยสติของผู้มีจิตฟุ้งซ่านเพราะ
มัวแต่ขวนขวาย ในกิจทั้งหลายเหล่านั้น ๆ. ถูกถามโดยนัยว่า

ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิก็พึงถ่ายอุจจาระ เป็นต้นอีก ปรวาที
ตอบปฏิเสธเพราะไม่กระทำการแกล้งด้วยกิริยาเช่นนั้น. คำที่เหลือมี
อรรถตื้นทั้งนั้นแล.
อรรถกถาชีวิตาโวโรปนกถา จบ

ทุคคติกถา



[1507] สกวาที บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ ละทุคคติได้หรือ ?1
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ พึงยินดีในรูปของสัตว์ที่เกิด
ในอบาย หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ พึงยินดีในรูปของสัตว์
ที่เกิดในอบาย ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ ละทุคคติได้.
[1508] ส. บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ พึงยินดีในเสียง ฯลฯ ในกลิ่น
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ พึงยินดีในเสียง ฯลฯ ในกลิ่น
ฯลฯ ในรส ฯลฯ ในโผฏฐัพพะ ของสัตว์ที่เกิดในอบาย ฯลฯ พึงเสพ
เมถุนธรรมกับนางอมนุษย์ กับนางดิรัจฉาน กับนางนาค พึงรับแพะ
พึงรับไก่ และสุกร พึงรับช้าง โค ม้า และลา ฯลฯ พึงรับนกกระทา
นกกระจาบ และนกยูง หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ พึงรับนกกระทา นก-
กระจาบ และนกยูง ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ละทุคคติ
ได้.

1. คำว่า ทุคคติในที่นี้หมายถึง (1) ทุคคติ (2) ตัณหาอันมีรูปเป็นต้นของสัตว์ที่เกิดในทุคคติเป็นอารมณ์
คำถามนี้ เท่าตั้งหมาย คนบางพวก เช่น พวกอุตตราปถก ที่อ้างว่า พระโสดาบันละทุคคติทั้งสองอย่าง
นั้นได้.