เมนู

โกลังโกลเอกพีชีกถา



[1500] ปรวาที ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้โกลังโกละเป็นผู้เที่ยงต่อ
ความเกิดอีก 2 - 3 ครั้ง หรือ ?
สกวาที ถูกแล้ว.
ป. บุคคลนั้น เป็นโกลังโกละ มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า บุคคลนั้น เป็นโกลังโกละ ด้วยเหตุนั้นนะ
ท่านจึงต้องกล่าวว่า บุคคลผู้โกลังโกละเป็นผู้เที่ยงต่อความเกิดอีก 2-3
ครั้ง.
[1501] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้เอกพีชี เป็นผู้เที่ยงต่อความ
เกิดอีกครั้งเดียว หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. บุคคลนั้น เป็นเอกพีชี มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า บุคคลนั้น เป็นเอกพีชี ด้วยเหตุนั้นนะท่าน
จึงต้องกล่าวว่า บุคคลผู้เอกพีชี เป็นผู้เที่ยงต่อความเกิดอีกครั้งเดียว
โกลังโกลเอกพีชีกถา จบ

อรรถกถาสัตตักขัตตุปรมกถา



ว่าด้วย บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องบุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ คือบุคคลผู้มีการเกิด
อีก 7 ชาติเป็นอย่างยิ่ง. ในเรื่องนั้นชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิ

นิกายอุตตราปถกะทั้งหลายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า สัตตัก-
ขัตตุปรมบุคคลมีอยู่
เหตุใด เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้นั้นเป็นสัตตักขัตตุปรมะ
จึงชื่อว่าเป็นผู้เที่ยงโดยความเป็นผู้มีการเกิดอีก 7 ชาติเป็นอย่างยิ่ง
ดังนี้ คำถามของสกวาทีเพื่อแสดงวิภาคนี้แก่ชนเหล่านั้นว่า ยกเว้น
อริยมรรคแล้วการกำหนดแน่นอนอย่างอื่นไม่มีแก่บุคคลนั้น บุคคลนั้น
พึงเป็นผู้เที่ยงเพราะความเป็นผู้มีการเกิดอีก 7 ชาติเป็นอย่างยิ่งด้วยเหตุ
อันใด ดังนี้. คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
ในคำทั้งหลาย คำว่า บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ ได้ปลงชีวิตมารดา
เป็นต้น พึงทราบคำอธิบายอย่างนี้ว่า นิยาม1 คือธรรมที่กำหนดแน่นอน
มี 2 อย่าง คือ สัมมัตตนิยาม คือธรรมที่กำหนดแน่นอนในทางที่ถูก 1
มิจฉัตตนิยาม คือธรรมที่กำหนดแน่นอนในทางที่ผิด 1 อริยมรรค ชื่อว่า
สัมมัตตนิยาม ก็อริยมรรคนั้นย่อมกำหนดซึ่งความเป็นอวิปากธรรมและ
ความเกิดขึ้นแห่งผลธรรม ส่วนมิจฉัตตนิยามย่อมกำหนดแน่นอนซึ่ง
อนันตริยกรรม คือความเกิดขึ้นในนรกอันไม่มีภพอื่นคั่นในระหว่าง ใน
ปัญหานั้น สัตตักขัตตุปรมบุคคลย่อมเป็นผู้อันโสดาปัตติมรรคกำหนด
แล้วโดยความเป็นสภาพธรรมที่ไม่ตกไปสู่อบาย และโดยความเกิดขึ้น
แห่งผลธรรม ส่วนนิยามแห่งมรรคที่เหลืออยู่ย่อมไม่มีแก่สัตตักขัตตุปรมบุคคล
นั้น เพราะมิใช่เป็นธรรมที่ท่านบรรลุแล้ว แม้สัตตักขัตตุปรมบุคคลนั้น
ก็ไม่อาจทำอนันตริยกรรม ก็แต่ว่าท่าน คือปรวาที ปรารถนานิยามแห่ง
สัตตักขัตตุปรมบุคคลนั้น เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงถามท่านว่า สัตตัก-

1. บาลีพระอภิธรรมใช้คำว่า นิยาโม แต่อรรถกถาใช้คำว่า นิยโม แปลว่า ความแน่นอน คือความกำหนด
แน่นอนเหมือนกัน หรือจะแปลทับศัพท์ว่า นิยาม, นิยาม ก็ได้.

ขัตตุปรมบุคคลนั้นเป็นผู้อันมิจฉัตตนิยามนี้กำหนดแล้วตามลัทธิของท่าน
หรือ. ในปัญหาทั้งหลายว่า บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ เป็นผู้ไม่ควร
เพื่อตรัสรู้ธรรมในระหว่างหรือ
ปรวาทีตอบปฏิเสธ หมายเอาความไม่มี
ธรรมอื่นคั่นในระหว่าง ย่อมตอบรับรองหมายเอาการเกิดอีก 7 ชาติ
เป็นอย่างยิ่ง.
ในปัญหาทั้งหลายว่า นิยามที่กำหนดบุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ
ไว้ด้วยความเกิด 7 ครั้งเป็นอย่างยิ่ง มีอยู่มิใช่หรือ
ปรวาทีเมื่อไม่เห็น
นิยามของความเป็นสัตตักขัตตุปรมบุคคล จึงตอบปฏิเสธ. คำว่า สติปัฏฐาน
ที่กำหนดบุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ
เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงซึ่ง
มรรคธรรมทั้งหลายที่ท่านเรียกว่านิยาม. อนึ่ง ธรรมมีสติปัฏฐานเป็นต้น
นั้นย่อมไม่มีเพราะความไม่เกิดขึ้นแห่งปฐมมรรคของสัตตักขัตตุปรมบุคคล
นั้นอีก. เพราะฉะนั้น ท่านจึงตอบปฏิเสธ. คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถตื้น
ทั้งนั้น.
ในคำว่า บุคคลนั้นเป็นสัตตักขัตตุปรมะมิใช่หรือ ที่ปรวาทีนำมา
นี้อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงพยากรณ์บุคคลเหล่านั้นด้วย
กำลังแห่งพระญาณของพระองค์ว่า บุคคลนี้ท่องเที่ยวไปสิ้นภพมี
ประมาณเท่านี้ ๆ แล้วจักปรินิพพาน
ดังนี้เป็นต้น ก็คำอะไร ๆ ที่
พระองค์ตรัสว่า สัตตักขัตตุปรมบุคคล โกลังโกละบุคคลและเอกพีชีบุคคล
ดังนี้ ชื่อว่าเป็นนิยามแห่งภพหามีไม่ เพราะฉะนั้น พระสูตรนี้จึงไม่สำเร็จ
ประโยชน์ ดังนี้แล.
อรรถกถาสัตตักขัตตุปรมกถา จบ
แม้การพรรณนากถาว่าด้วย บุคคลผู้โกลังโกละ และ บุคคลผู้
เอกพีชี
บัณฑิตพึงทราบเนื้อความโดยอุบายนี้แล.

ชีวิตาโวโรปนกถา



[1502] สกวาที บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ พึงแกล้งปลงชีวิตสัตว์ หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ พึงแกล้งปลงชีวิตมารดา ฯลฯ
พึงแกล้งปลงชีวิตบิดา ฯลฯ พึงแกล้งปลงชีวิตพระอรหันต์ ฯลฯ พึงมีจิต
คิดประทุษร้ายยังพระโลหิตของพระตถาคตให้ห้อ ฯลฯ พึงทำลายสงฆ์
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1503] ส. บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ พึงแกล้งปลงชีวิตสัตว์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ เป็นผู้ไม่มีความเคารพในพระ-
ศาสดา หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เป็นผู้ไม่มีความเคารพในพระธรรม ฯลฯ เป็นผู้ไม่มี
ความเคารพในพระสงฆ์ ฯลฯ เป็นผู้ไม่มีความเคารพในสิกขา หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1504] ส. บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ เป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา
มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่าบุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ เป็นผู้มีความเคารพใน
พระศาสดา ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ พึงแกล้งปลงชีวิตสัตว์
ส. บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ เป็นผู้มีความเคารพในพระธรรม