เมนู

ส. หากว่า เจตนาที่เป็นวิบากอัพยากฤต ฝ่ายโลกุตตระ
ไม่มีวิบาก ก็ต้องไม่กล่าวว่า เจตนาทั้งปวงมีวิบาก
[1483] ส. เจตนาที่เป็นกิริยาอัพยากฤต ฝ่ายกามาวจร ฝ่าย
รูปาวจร ฝ่ายอรูปาวจร ไม่มีวิบาก หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า เจตนาที่เป็นกิริยาอัพยากฤต ฝ่ายอรูปาวจร
ไม่มีวิบาก ก็ต้องไม่กล่าวว่า เจตนาทั้งปวงมีวิบาก
[1484] ป. ไม่พึงกล่าวว่า กรรมทั้งปวงมีวิบาก หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราไม่กล่าวว่า กรรมทั้งหลายที่ทำด้วยความจงใจ อันบุคคลกระทำแล้ว
สั่งสมแล้ว หรือในอัตภาพถัดไป หรือในอัตภาพสืบ ๆ ไป
ดังนี้1 เป็น
สูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ถ้าอย่างนั้น กรรมทั้งปวงก็มีวิบาก น่ะสิ.
กัมมกถา จบ

อรรถกถากัมมกถา



ว่าด้วย กรรม



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องกรรม. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิด
ดุจลัทธิของนิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายว่า กรรมทั้งปวงเป็นสวิบาก คือ

1. อง. ทสก. 24/194.

มีวิบาก เพราะอาศัยบทพระสูตรว่า ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าว
ความสิ้นไปแห่งวิบากเพราะไม่เสวยกรรมอันประกอบด้วยสัญเจตนา
คือความจงใจ อันตนทำแล้วสั่งสมแล้ว
เป็นต้น คำถามของสกวาทีว่า
กรรมทั้งปวง เป็นต้น เพื่อแสดงวิภาคนี้แก่ชนเหล่านั้นว่า เจตนา
พระศาสดาทรงตรัสเรียกว่า กรรม โดยไม่แปลกกันในคำว่า ภิกษุ
ทั้งหลายเราเรียกเจตนาว่าเป็นกรรม
ดังนี้ เจตนาแม้นั้นเป็นกุศลก็ดี เป็น
อกุศลก็ดีมีวิบาก ส่วนเจตนาที่เป็นอัพยากตะไม่มีวิบาก ดังนี้ คำตอบ
รับรองเป็นของปรวาที. ในปัญหาทั้งหลายว่า เจตนาทั้งปวง อีก ปรวาที
ตอบปฏิเสธ หมายเอาเจตนาที่เป็นอัพยากตะ และพึงทราบการตอบ
รับรองโดยหมายเอาเจตนาที่เป็นกุศลและเป็นอกุศล. คำว่า เจตนาที่
เป็นวิบากอัพยากตะ
เป็นต้น ท่านสกวาทีกล่าวเพื่อแสดงเจตนาที่มีวิบาก
และไม่มีวิบากโดยย่อ. คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถตื้นทั้งนั้น.
พระสูตรว่า ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวความสิ้นไปแห่งวิบาก
เป็นต้น ที่ปรวาทีนำมากล่าวนั้นหมายถึงการเสวยวิบากในภพทั้งหลาย
มีภพอันสัตว์พึงเห็นได้เป็นต้น ได้แก่ ภพปัจจุบัน ในเมื่อปัจจุบันยังมีอยู่ เพราะ
ฉะนั้น พระสูตรนั้น จึงไม่ใช่ข้อพิสูจน์ในเรื่องนี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
อรรถกถากัมมกถา จบ

สัทโทวิปาโกติกถา



[1485] สกวาที เสียงเป็นวิบาก หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. เสียงเป็นผลที่บุคคลเสวยเป็นสุข เป็นผลที่บุคคลเสวย
เป็นทุกข์ เป็นผลที่บุคคลเสวยไม่ทุกข์ไม่สุข สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัมปยุตด้วยอทุกขมุขเวทนา สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัมปยุตด้วยเวทนา สัมปยุตด้วยสัญญา สัมปยุตด้วยเจตนา สัมปยุตด้วย
จิต มีอารมณ์ มีความนึก ความผูกใจ ความสนใจ ความทำไว้ในใจ
ความจงใจ ความปรารถนา ความตั้งใจ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เสียง ไม่เป็นผลที่บุคคลเสวยเป็นสุข ไม่เป็นผลที่
บุคคลเสวยเป็นทุกข์ ฯลฯ ไม่มีอารมณ์ ไม่มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ
มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า เสียงไม่เป็นผลที่บุคคลเสวยเป็นสุข ฯลฯ
ไม่มีอารมณ์ ไม่มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ก็ต้องไม่กล่าวว่า เสียงเป็น
วิบาก
[1486] ส. ผัสสะเป็นวิบาก ผัสสะเป็นผลที่บุคคลเสวยเป็นสุข
ฯลฯ มีอารมณ์ มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เสียงเป็นวิบาก เสียงเป็นผลที่บุคคลเสวยเป็นสุข ฯลฯ
มีอารมณ์ มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ หรือ ?