เมนู

ในปัญหาแม้นั้น โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในก่อนนั่นแหละ. คำว่า รูปเป็น
ภาวะที่สำเร็จแล้ว คือเกิดขึ้นแล้ว
เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อเทียบเคียง
ความไม่เที่ยงแห่งธรรมมีรูปเป็นต้นเหล่านั้นกับความไม่เที่ยงเหล่านั้น.
ในข้อนั้น ปรวาทีเมื่อสำคัญว่า ความไม่เที่ยง ความชรา และมรณะแห่ง
ธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้นที่สำเร็จแล้วมีอยู่ ฉันใด ธรรมเหล่านั้น ไม่มี
อยู่แก่ธรรมทั้งหลายมีความไม่เที่ยงเป็นต้นที่สำเร็จแล้ว ฉันนั้น จึงตอบ
ปฏิเสธโดยส่วนเดียว ดังนี้.
อรรกกถาอนิจจตากถา จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ



1. ติสโสปิอนุสยกถา 2. ญาณกถา 3. ญาณังจิตตวิปปยุตตันติกถา
4. อิทังทุกขันติกถา 5. อิทธิพลกถา 6. สมาธิกถา 7. ธัมมัฏฐตตากถา
8. อนิจจตากถา.
วรรคที่ 11 จบ

วรรคที่ 12



สังวโรกัมมันติกถา



[1476] สกวาที ความสำรวมเป็นกรรม หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. ความสำรวมในจักขุนทรีย์ เป็นจักขุกรรม หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความสำรวมในโสตินทรีย์ ฯลฯ ความสำรวมใน
ฆานินทรีย์ ฯลฯ ความสำรวมในชิวหินทรีย์ ฯลฯ ความสำรวมในกายินทรีย์
เป็นกายกรรม หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความสำรวมในกายินทรีย์ เป็นกายกรรม หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความสำรวมในจักขุนทรีย์ เป็นจักขุกรรม หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความสำรวมในกายินทรีย์ เป็นกายกรรม หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความสำรวมในโสตินทรีย์ ฯลฯ ความสำรวมใน
ฆานินทรีย์ ฯลฯ ความสำรวมในชิวหินทรีย์ เป็นชิวหากรรม หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความสำรวมในมนินทรีย์ เป็นมโนกรรม หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความสำรวมในมนินทรีย์ เป็นมโนกรรม หรือ ?