เมนู

ธัมมัฏฐิตตากถา



[1470] สกวาที ธรรมฐิติ คือความตั้งอยู่แห่งธรรม เป็นภาวะที่
สำเร็จแล้ว หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. ความตั้งอยู่แห่งธรรมฐิตินั้น ก็เป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความตั้งอยู่แห่งธรรมฐิตินั้น ก็เป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความตั้งอยู่นั้น ๆ แล ไม่มีการทำที่สุดแห่งทุกข์ ไม่มี
ความขาดตอนแห่งวัฏฏะ ไม่มีอนุปาทาปรินิพพาน หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1471] ส. ความตั้งอยู่ของรูป เป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความตั้งอยู่แห่งความตั้งอยู่ของรูปนั้น ก็เป็นภาวะที่
สำเร็จแล้ว หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความตั้งอยู่แห่งความตั้งอยู่ของรูปนั้น ก็เป็นภาวะที่
สำเร็จแล้ว หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความตั้งอยู่นั้น ๆ แล ไม่มีการทำที่สุดแห่งทุกข์ ไม่มี

ความขาดตอนแห่งวัฏฏะ ไม่มีอนุปาทาปรินิพพาน หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความตั้งอยู่ของเวทนา ฯลฯ ความตั้งอยู่ของสัญญา
ฯลฯ ความตั้งอยู่ของสังขารทั้งหลาย ฯลฯ ความตั้งอยู่ของวิญญาณ เป็น
ภาวะที่สำเร็จแล้ว หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความตั้งอยู่แห่งความตั้งอยู่ของวิญญาณนั้น ก็เป็น
ภาวะที่สำเร็จแล้ว หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความตั้งอยู่แห่งความตั้งอยู่ของวิญญาณนั้น เป็นภาวะ
ที่สำเร็จแล้ว หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความตั้งอยู่นั้น ๆ แล ไม่มีการทำที่สุดแห่งทุกข์ ไม่มี
ความขาดตอนแห่งวัฏฏะ ไม่มีอนุปาทาปรินิพพาน หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ธัมมัฏฐิตตากถา จบ

อรรถกถาธัมมัฏฐิตตากถา



ว่าด้วย ความตั้งอยู่แห่งธรรม



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องความตั้งอยู่แห่งธรรม. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด
มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า ชื่อว่าความตั้งอยู่
แห่งธรรมกล่าวคือปฏิจจสมุปบาทหนึ่ง มีอยู่ ธรรมนั้นเป็นของสำเร็จแล้ว
เพราะอาศัยบาลีว่า ธาตุนั้นดำรงอยู่แล้วเทียว ดังนี้ คำถามของสกวาที
หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาที
จึงกล่าวกะปรวาทีนั้นว่า ความตั้งอยู่แห่งธรรมฐิตินั้น ก็เป็นภาวะสำเร็จ
แล้วหรือ เพื่อท้วงด้วยคำว่า ผิว่า ชื่อว่าความตั้งอยู่อันอื่นสำเร็จแล้วแก่
ธรรมทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นต้นที่สำเร็จแล้วมีอยู่ไซร้ ความตั้งอยู่อันอื่น
สำเร็จแล้ว ก็ความตั้งอยู่แม้นั้น ย่อมปรากฏตามลัทธิของท่านหรือ ดังนี้
ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะความไม่มีลัทธิอย่างนั้น. ถูกถามครั้งที่ 2 ก็ตอบ
รับรอง หมายเอาความเป็นอนันตรปัจจัย และความเป็นอัญญมัญญปัจจัย.
คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้น เพราะมีนัยดังที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในหนหลัง
นั่นแล.
อรรถกถาธัมมัฏฐิตตากถา จบ