เมนู

อากาโสสนิทัสสโนติกถา



[1113] สกาวาที อากาศเป็นสนิทัสสนะ คือเห็นได้ด้วยจักษุ หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว
ส. เป็นรูป เป็นรูปายตนะ เป็นรูปธาตุ เป็นสีเขียว เป็น
สีเหลือง เป็นสีแดง เป็นสีขาว เป็นวิสัยแห่งจักขุวิญญาณ กระทบที่จักษุ
มาสู่คลองแห่งจักษุ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1114] ส. อากาศเป็นสนิทัสสนะหรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อาศัยจักษุและอากาศจึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1115] ส. อาศัยจักษุและอากาศจึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. คำว่า อาศัยจักษุและอากาศจึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น
ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง หรือ ?
ป. ไม่มี.
ส. คำว่า อาศัยจักษุและรูปจึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น ดังนี้1
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า คำว่า อาศัยจักษุและรูปจึงเกิดจักขุวิญญาณ

1. ม.อุ. 14/814.,สํ.นิ.16/164.

ขึ้น ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง ก็ต้องไม่กล่าวว่า อาศัยจักษุและอากาศ จึง
เกิดจักขุวิญญาณขึ้น.
[1116] ป. ไม่พึงกล่าวว่า อากาศเป็นสนิทัสสนะ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ท่านเห็นช่องในระหว่างต้นไม้ทั้ง 2 ช่องในระหว่าง
เสาทั้ง 2 ช่องดาล ช่องหน้าต่าง มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า ท่านเห็นช่องในระหว่างต้นไม้ทั้ง 2 ช่องใน
ระหว่างเสาทั้ง 2 ช่องดาล ช่องหน้าต่าง ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าว
ว่าอากาศเป็นสนิทัสสนะ.
อากาโสสนิทัสสโนติกถา จบ

อรรถกถาอากาโสสนิทัสสโนติกถา



ว่าด้วย อากาศเป็นของเห็นได้



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอากาศเป็นของเห็นได้ด้วยจักษุ. ในเรื่องนั้น ชน
เหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า อชฏากาส
ทั้งปวงเป็นของเห็นได้ เพราะอาศัยความเป็นไปแห่งความรู้ ในที่ทั้งหลาย
มีช่องลูกดาลเป็นต้น ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า อากาศเป็นสนิททัสสนะ
คือเห็นได้ด้วยจักษุ หรือ
โดยหมายชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของ
ปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวว่า เป็นรูป เป็นต้น เพื่อท้วงปรวาที
นั้นว่า ถ้าอากาศเป็นของเห็นได้ไซร้ อากาศก็พึงเป็นอย่างนี้ ๆ. ในปัญหา
ทั้งหลายว่า อาศัยจักษุและอากาศ เป็นต้น ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะ