เมนู

สมาธกถา



[1466] สกวาที จิตตสันตติ (ความสืบต่อแห่งจิต) เป็นสมาธิ หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. จิตตสันตติที่เป็นอดีต เป็นสมาธิ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. จิตตสันตติ เป็นสมาธิ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. จิตตสันตติที่เป็นอนาคต เป็นสมาธิ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. จิตตสันตติ เป็นสมาธิ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อดีตก็ดับไปแล้ว อนาคตก็ยังไม่เกิด มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า อดีตก็ดับไปแล้ว อนาคตก็ยังไม่เกิด ก็ต้อง
ไม่กล่าวว่า จิตตสันตติเป็นสมาธิ
[1467] ป. สมาธิเป็นไปในจิตตขณะอันหนึ่ง หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจักขุวิญญาณ ชื่อว่าผู้เข้า
สมาบัติหรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยโสตวิญญาณ ฯลฯ ผู้พร้อม
เพรียงด้วยฆานวิญญาณ ฯลฯ ผู้พร้อมเพรียงด้วยชิวหาวิญญาณ ฯลฯ

ผู้พร้อมเพรียงด้วยกายวิญญาณ ฯลฯ ผู้พร้อมเพรียงด้วยอกุศลจิต ฯลฯ
ผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่สหรคตด้วยราคะ ฯลฯ ผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่สหรคต
ด้วยโทสะ ฯลฯ พร้อมเพรียงด้วยจิตที่สหรคตด้วยโมหะ ฯลฯ ผู้พร้อมเพรียง
ด้วยจิตที่สหรคตด้วยอโนตตัปปะ ชื่อว่า ผู้เข้าสมาบัติ หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1468] ส. จิตตสันตติเป็นสมาธิ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความสืบต่อแห่งอกุศลจิต เป็นสมาธิ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. จิตตสันตติที่สหรคตด้วยราคะ ฯลฯ ที่สหรคตด้วย
โทสะ ฯลฯ ที่สหรคตด้วยโมหะ ฯลฯ ที่สหรคตด้วยอโนตตัปปะเป็นสมาธิ
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1469] ป. ไม่พึงกล่าวว่า จิตตสันตติเป็นสมาธิ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอาวุโส นิครณฐ์
ทั้งหลาย เรานี่แหละพอที่จะไม่หวั่นไหวด้วยกาย ไม่กล่าววาจา เป็นผู้
เสวยสุขโดยส่วนเดียว อยู่ตลอด 7 คืน 7 วัน
ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง
มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ถ้าอย่างนั้น จิตตสันตติ ก็เป็นสมาธิ น่ะสิ.
สมาธิกถา จบ

อรรถกถาสมาธิกถา



ว่าด้วยสมาธิ



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องสมาธิ. ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของ
นิกายสัพพัตถิกวาทะและอุตตราปถกะทั้งหลายว่า ความสืบต่อแห่งจิต
เป็นสมาธิ เพราะอาศัยพุทธพจน์ว่า พระตถาคตย่อมอาจเพื่ออยู่เป็นสุข
ในคำว่า เราเป็นผู้เสวยพร้อมเฉพาะซึ่งความสุขโดยส่วนเดียวตลอด 7 คืน
7 วัน
ดังนี้เป็นต้น โดยไม่ถือเอาคำว่า เอกัคคตาเจตสิกแม้เกิดขึ้นแล้วใน
ขณะแห่งจิตดวงหนึ่ง ชื่อว่าสมาธิ เพราะอรรถว่าการตั้งใจ ดังนี้ คำถาม
ของสกวาทีว่า ความสืบต่อแห่งจิต เป็นต้น หมายชนเหล่านั้น คำตอบ
รับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวกะปรวาทีนั้นว่า
ความสืบต่อแห่งจิตที่เป็นอดีต เป็นต้น เพื่อท้วงด้วยคำว่า ถ้าว่า การ
สืบต่อแห่งจิตเป็นสมาธิไซร้ ชื่อว่าความสืบต่อแห่งจิตเป็นอดีตบ้าง ที่
เป็นอนาคตบ้างมีอยู่ ส่วนการสืบต่อแห่งจิตที่เป็นปัจจุบันนั่นแหละไม่มี
ธรรมดาว่าการสืบต่อแห่งจิตนั้นย่อมเป็นของมีอยู่ ความสืบต่อแห่งจิต
เหล่านั้นแม้ทั้งหมด ย่อมเป็นสมาธิตามลัทธิของท่านหรือ ? ปรวาทีนั้น
เมื่อไม่ปรารถนาเช่นนั้น จึงตอบปฏิเสธ. คำว่า อดีตก็ดับไปแล้ว เป็นต้น
สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงว่า จิตที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้านั้นแหละทำอยู่ซึ่งกิจ
ในการสืบต่อแห่งจิต จิตที่เป็นอดีตและอนาคตชื่อว่าย่อมไม่มี เพราะเป็น
จิตที่ดับไปแล้ว และเพราะเป็นจิตที่ยังมิได้เกิดขึ้น ฉะนั้นจิตนั้นจะชื่อว่า
เป็นสมาธิได้อย่างไร ? คำถามว่า สมาธิเป็นไปขณะแห่งจิตดวงหนึ่ง
เป็นของปรวาที. ต่อจากนั้นก็เป็นคำตอบรับรองของสกวาทีในลัทธิของตน
โดยหมายเอาคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า สมาธิคือเอกัคคตา ที่