เมนู

มารก็ตาม พรหมก็ตาม ใคร ๆ ในโลกก็ตาม จะเป็นผู้รับรองได้ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 4 อย่างนี้แล ไม่มีใคร ๆ สมณะก็ตาม พราหมณ์
ก็ตาม เทวดาก็ตาม มารก็ตาม พรหมก็ตาม ใคร ๆ ในโลกก็ตาม จะเป็น
ผู้รับรองได้ ดังนี้
1 เป็นสูตรมีอยู่จริงมิใช่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ผู้ประกอบด้วยกำลัง
แห่งฤทธิ์ พึงตั้งอยู่ได้ตลอดกัลป์ น่ะสิ.
อิทธิพลกถา จบ

อรรถกถาอิทธิพลกถา



ว่าด้วย กำลังแห่งฤทธิ์



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องกำลังแห่งฤทธิ์. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความ
เห็นผิดดุจลัทธิของนิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายว่า ผู้ประกอบด้วยกำลัง
แห่งฤทธิ์พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัลป์ เพราะถือเอาเนื้อความแห่งอานิสงส์
ของอิทธิบาทภาวนาโดยไม่พิจารณา คำถามของสกวาทีว่า ผู้ประกอบ
ด้วยกำลังแห่งฤทธิ์พึงตั้งอยู่ได้ตลอดกัลป์หรือ
โดยหมายถึงชนเหล่านั้น.
ในปัญหานั้น ชื่อว่ากัลป์มี 3 อย่าง คือ มหากัลป์ กัลปเอกเทส
อายุกัลป์. จริงอยู่ มหากัลป์เท่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่ากัลป์
ซึ่งมาในพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสงไขยแห่งกัลป์ 4 เหล่านี้
ดังนี้. ในพระบาลีว่า กัลป์อันเป็นการประมาณอายุเทพชั้นพรหมทั้งหลาย

1. องฺ. จตุกฺก 21/182.

นี้ ท่านเรียกว่ากัลปเอกเทส. พระบาลีว่า ย่อมไหม้ในนรกตลอดกัลป์
ย่อมบันเทิงในสวรรค์ตลอดกัลป์ นี้ ท่านเรียกว่า อายุกัลป์ อธิบายว่า
การดำรงอยู่แห่งอายุอันสมควรแก่อายุ ชื่อว่า การกำหนดอายุด้วยอำนาจ
ผลแห่งกรรม หรือด้วยการนับปี. ในปัญหาเหล่านั้น สกวาทีย่อมถาม
หมายเอามหากัลป์ ปรวาทีก็ตอบรับรอง. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวกะ
ปรวาทีว่า อายุนั้นสำเร็จด้วยฤทธิ์ เป็นต้น เพื่อท้วงด้วยคำว่า ถ้าว่า
ผู้ประกอบด้วยกำลังแห่งฤทธิ์พึงเป็นอยู่ตลอดมหากัลป์หนึ่ง หรือตลอด
ส่วนหนึ่งแห่งมหากัลป์ซึ่งเกินกว่าอายุกัลป์ที่ท่านกำหนดไว้อย่างนี้ว่า
ผู้ใดย่อมเป็นอยู่นาน ผู้นั้นก็พึงเป็นผู้มีอายุอยู่ตลอดร้อยปี หรือเกินกว่า
เล็กน้อย ดังนี้ ก็อายุของผู้นั้น พึงสำเร็จด้วยฤทธิ์หรือ ? ดังนี้. ปรวาที
ตอบปฏิเสธ เพราะความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ชื่อว่าอินทรีย์
คือชีวิตที่สำเร็จด้วยฤทธิ์ย่อมไม่มี มีแต่การเกิดขึ้นด้วยกรรมเท่านั้น
มีคำถามว่า ก็ในข้อนี้มีอะไรแปลกจากผู้มีฤทธิ์ เพราะแม้ผู้ไม่มีฤทธิ์ก็
พึงดำรงอยู่ตลอดอายุกัลป์ มิใช่หรือ? ตอบว่า พึงทราบข้อแปลกกันแห่ง
ชนเหล่านั้นดังนี้ ผู้มีฤทธิ์นั้นสามารถห้ามอันตรายิกธรรมทั้งหลายมิให้
เกิดเป็นไปแก่ชีวิตตลอดชีวิต ด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ และย่อมอาจเพื่อจะห้าม
อกาลมรณะ คือการตายในเวลาอันไม่สมควรที่จะมี ในระหว่าง แต่กำลัง
เช่นนี้ไม่มีแก่ผู้ไม่มีฤทธิ์ ข้อนี้ เป็นการแตกต่างกันระหว่างผู้มีฤทธิ์กับ
ผู้ไม่มีฤทธิ์เหล่านั้น. คำว่า พึงตั้งอยู่ตลอดกัลป์ที่เป็นอดีต... อนาคต นี้
ความว่า สกวาทีย่อมท้วงเพราะการตอบรับรองของปรวาที หมายเอาว่า
พึงตั้งอยู่ตลอดกัลป์โดยไม่แปลกกัน. คำว่า พึงตั้งอยู่ตลอด 2 กัลป์
เป็นต้น ท่านสกวาทีกล่าวเพื่อจะท้วงด้วยคำว่า ผิว่าผู้มีฤทธิ์ย่อมสามารถ

ก้าวล่วงการกำหนดชีวิตได้ไซร้ ก็ไม่อาจก้าวล่วงการกำหนดชีวิตเพียง
กัลป์เดียวเท่านั้น เขาพึงก้าวล่วงแล้วดำรงอยู่ตลอดกัลป์แม้มิใช่น้อยเลย.
คำว่า บุคคลพึงได้เพื่อประคองไว้ด้วยฤทธิ์ว่า ผัสสะเกิดขึ้นแล้ว
อย่าดับไป ดังนี้หรือ
ท่านสกวาทีกล่าว เพื่อแสดงว่า สิ่งทั้งปวงไม่พึง
ได้ด้วยฤทธิ์ แม้สิ่งที่เหนืออำนาจฤทธิ์ก็ยังมีอยู่
ดังนี้. คำที่เหลือในที่นี้
มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.
อรรถกถาอิทธิพลกถา จบ

สมาธกถา



[1466] สกวาที จิตตสันตติ (ความสืบต่อแห่งจิต) เป็นสมาธิ หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. จิตตสันตติที่เป็นอดีต เป็นสมาธิ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. จิตตสันตติ เป็นสมาธิ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. จิตตสันตติที่เป็นอนาคต เป็นสมาธิ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. จิตตสันตติ เป็นสมาธิ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อดีตก็ดับไปแล้ว อนาคตก็ยังไม่เกิด มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า อดีตก็ดับไปแล้ว อนาคตก็ยังไม่เกิด ก็ต้อง
ไม่กล่าวว่า จิตตสันตติเป็นสมาธิ
[1467] ป. สมาธิเป็นไปในจิตตขณะอันหนึ่ง หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจักขุวิญญาณ ชื่อว่าผู้เข้า
สมาบัติหรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยโสตวิญญาณ ฯลฯ ผู้พร้อม
เพรียงด้วยฆานวิญญาณ ฯลฯ ผู้พร้อมเพรียงด้วยชิวหาวิญญาณ ฯลฯ