เมนู

อิทธิพลกถา



[1460] สกวาที ผู้ประกอบด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ พึงตั้งอยู่ได้ตลอด
กัลป์ หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. อายุนั้น สำเร็จด้วยฤทธิ์ คตินั้น สำเร็จด้วยฤทธิ์ การ
ได้อัตภาพนั้น สำเร็จด้วยฤทธิ์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ผู้ประกอบด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ พึงตั้งอยู่ได้ตลอดกัลป์
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พึงตั้งอยู่ตลอดกัลป์ที่เป็นอดีต พึงตั้งอยู่ตลอดกัลป์ที่
เป็นอนาคต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ผู้ที่ประกอบด้วยฤทธิ์ พึงตั้งอยู่ตลอดกัลป์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พึงตั้งอยู่ตลอด 2 กัลป์ พึงตั้งอยู่ตลอด 3 กัลป์ พึง
ตั้งอยู่ตลอด 4 กัลป์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ผู้ประกอบด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ พึงตั้งอยู่ตลอดกัลป์
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พึงตั้งอยู่ในเมื่อชีวิต คือชีวิตส่วนที่เหลือ ยังมีอยู่ หรือ

ว่าตั้งอยู่ในเมื่อชีวิตคือชีวิตส่วนที่เหลือ ไม่มีอยู่.
ป. พึงตั้งอยู่ในเมื่อชีวิต คือชีวิตส่วนที่เหลือ ยังมีอยู่.
ส. หากว่า พึงตั้งอยู่ในเมื่อชีวิต คือชีวิตส่วนที่เหลือ ยังมี
อยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ผู้ประกอบด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ พึงตั้งอยู่ตลอดกัลป์
ดังนี้ ฯลฯ
ป. พึงตั้งอยู่ในเมื่อชีวิต คือชีวิตส่วนที่เหลือ ไม่มีอยู่.
ส. ผู้ที่ตายแล้ว พึงตั้งอยู่ ผู้ที่กระทำกาละแล้ว พึงตั้งอยู่
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1461] ส. ผู้ประกอบด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ พึงตั้งอยู่ตลอดกัลป์
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลพึงได้เพื่อประคองไว้ด้วยฤทธิ์ว่า ผัสสะ เกิด
ขึ้นแล้ว อย่าดับไป ดังนี้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลพึงได้เพื่อประคองไว้ด้วยฤทธิ์ว่า เวทนาเกิดขึ้น
แล้ว ฯลฯ สัญญาเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เจตนาเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ จึงเกิดขึ้นแล้ว
ศรัทธาเกิดขึ้นแล้ว วิริยะเกิดขึ้นแล้ว สติเกิดขึ้นแล้ว สมาธิเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ
ปัญญาเกิดขึ้นแล้วอย่าดับไป ดังนี้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1462] ส. ผู้ประกอบด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ พึงตั้งอยู่ตลอดกัลป์
หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลพึงได้เพื่อประคองไว้ด้วยฤทธิ์ว่า รูปจงเป็นของ
เที่ยง ดังนี้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลพึงได้เพื่อประคองไว้ด้วยฤทธิ์ว่า เวทนา ฯลฯ
สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ จงเป็นของไม่เที่ยง ดังนี้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1463] ส. ผู้ประกอบด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ พึงตั้งอยู่ตลอดกัลป์
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลพึงได้เพื่อประคองไว้ด้วยฤทธิ์ว่า สัตว์ทั้งหลาย
ที่มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่าได้เกิดเลย ดังนี้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลพึงได้เพื่อประคองไว้ด้วยฤทธิ์ว่า สัตว์ทั้งหลาย
ที่มีความแก่เป็นธรรมดา อย่าได้แก่เลย ฯลฯ สัตว์ทั้งหลายที่มีความเจ็บ
เป็นธรรมดา อย่าได้เจ็บเลย ฯลฯ สัตว์ทั้งหลายที่มีความตายเป็นธรรมดา
อย่าได้ตายเลย ดังนี้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1464] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้ประกอบด้วยฤทธิ์ พึงตั้งอยู่
ตลอดกัลป์ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานนท์

อิทธิบาท 4 อันผู้หนึ่งผู้ใดอบรม ทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็น
ที่พึ่งแน่วแน่ ช่ำชอง คล่องแคล่วดีแล้ว ผู้นั้นเมื่อหวังอยู่ พึงตั้งอยู่ได้
ตลอดกัลป์หรือตลอดกัลป์ส่วนที่เหลือ
ดังนี้1 เป็นสูตรมีอยู่จริงมิใช่ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ถ้าอย่างนั้น ผู้ประกอบด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ ก็พึงตั้งอยู่
ตลอดกัลป์ น่ะสิ.
[1465] ส. ผู้ประกอบด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ พึงตั้งอยู่ตลอดกัลป์
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ธรรม 4 อย่าง ไม่มีใคร ๆ สมณะก็ตาม พราหมณ์ก็ตาม เทวดาก็ตาม
มารก็ตาม พรหมก็ตาม ใคร ๆ ในโลกก็ตาม จะเป็นผู้รับรองได้ ธรรม
4 อย่าง เป็นไฉน ? คือ (1) ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา อย่าแก่เลย ดังนี้
ไม่มีใคร ๆ สมณะก็ตาม พราหมณ์ก็ตาม เทวดาก็ตาม มารก็ตาม พรหม
ก็ตาม ใคร ๆ ในโลกก็ตาม จะเป็นผู้รับรองได้ (2) ผู้มีความเจ็บเป็น
ธรรมดา อย่าเจ็บเลย ฯลฯ (3) ผู้มีความตายเป็นธรรมดา อย่าตายเลย
ฯลฯ (4) กรรมทั้งหลายนั้นใด เป็นบาปข้องอยู่ในสังกิเลส เป็นเหตุให้
เกิดในภพใหม่ มีทุกข์เป็นกำไร มีวิบากเป็นทุกข์ เป็นไปเพื่อชาติ ชรา
มรณะ ต่อไป อันบุคคลทำแม้ในกาลก่อน วิบากแห่งกรรมทั้งหลายนี้ อย่า
ได้เกิดเลย ดังนี้ ไม่มีใคร ๆ สมณะก็ตาม พราหมณ์ก็ตาม เทวดาก็ตาม


1. ขุ. อุ. 25/127.

มารก็ตาม พรหมก็ตาม ใคร ๆ ในโลกก็ตาม จะเป็นผู้รับรองได้ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 4 อย่างนี้แล ไม่มีใคร ๆ สมณะก็ตาม พราหมณ์
ก็ตาม เทวดาก็ตาม มารก็ตาม พรหมก็ตาม ใคร ๆ ในโลกก็ตาม จะเป็น
ผู้รับรองได้ ดังนี้
1 เป็นสูตรมีอยู่จริงมิใช่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ผู้ประกอบด้วยกำลัง
แห่งฤทธิ์ พึงตั้งอยู่ได้ตลอดกัลป์ น่ะสิ.
อิทธิพลกถา จบ

อรรถกถาอิทธิพลกถา



ว่าด้วย กำลังแห่งฤทธิ์



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องกำลังแห่งฤทธิ์. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความ
เห็นผิดดุจลัทธิของนิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายว่า ผู้ประกอบด้วยกำลัง
แห่งฤทธิ์พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัลป์ เพราะถือเอาเนื้อความแห่งอานิสงส์
ของอิทธิบาทภาวนาโดยไม่พิจารณา คำถามของสกวาทีว่า ผู้ประกอบ
ด้วยกำลังแห่งฤทธิ์พึงตั้งอยู่ได้ตลอดกัลป์หรือ
โดยหมายถึงชนเหล่านั้น.
ในปัญหานั้น ชื่อว่ากัลป์มี 3 อย่าง คือ มหากัลป์ กัลปเอกเทส
อายุกัลป์. จริงอยู่ มหากัลป์เท่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่ากัลป์
ซึ่งมาในพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสงไขยแห่งกัลป์ 4 เหล่านี้
ดังนี้. ในพระบาลีว่า กัลป์อันเป็นการประมาณอายุเทพชั้นพรหมทั้งหลาย

1. องฺ. จตุกฺก 21/182.