เมนู

ญาณกถา



[1449] สกวาที ถึงความไม่รู้จะปราศไปแล้ว เมื่อจิตที่เป็นญาณ
วิปปยุตเป็นไปอยู่ ไม่พึงกล่าวว่า ผู้มีความรู้ หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. เมื่อราคะปราศไปแล้ว ไม่พึงกล่าวว่า ผู้ปราศจาก
ราคะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ถึงความไม่รู้จะปราศไปแล้ว เมื่อจิตที่เป็นญาณ
วิปปยุตเป็นไปอยู่ ไม่พึงกล่าวว่า ผู้มีความรู้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เมื่อโทสะปราศไปแล้ว ฯลฯ เมื่อโมหะปราศไปแล้ว
ฯลฯ เมื่อกิเลสปราศไปแล้ว ไม่พึงกล่าวว่า ผู้หมดกิเลส หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1450] ส. เมื่อราคะปราศไปแล้ว พึงกล่าวว่า ผู้ปราศจากราคะ
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เมื่อความไม่รู้ปราศไปแล้ว พึงจิตที่เป็นญาณวิปปยุต
จะเป็นไปอยู่ ก็พึงกล่าวว่า ผู้มีความรู้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เมื่อโทสะปราศไปแล้ว ฯลฯ เมื่อโมหะปราศไปแล้ว
ฯลฯ เมื่อกิเลสปราศไปแล้ว พึงกล่าวว่า ผู้หมดกิเลส หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อความไม่รู้ปราศไปด้วย ถึงจิตที่เป็นญาณวิปปยุต
จะเป็นไปอยู่ ก็พึงกล่าวว่า ผู้มีความรู้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เมื่อความไม่รู้ปราศไปแล้ว ถึงจิตที่เป็นญาณวิปปยุต
จะเป็นไปอยู่ ก็พึงกล่าวว่า ผู้มีความรู้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ชื่อว่า ผู้มีความรู้ ด้วยความรู้ที่เป็นอดีต ชื่อว่าผู้มี
ความรู้ ด้วยความรู้ที่ดับแล้ว ที่ปราศไปแล้ว ที่สงบระงับแล้ว หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ญาณกถา จบ

อรรถกถาญาณกถา



ว่าด้วย ญาณ


บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องญาณ. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มีความเห็นผิด
ดุจลัทธิของนิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายว่า เมื่ออัญญาณ คือ โมหะ แม้
ปราศจากไปแล้วด้วยมรรคญาณ ครั้นเมื่อจิตที่ไม่ประกอบด้วยญาณกำลัง
เป็นไป จักขุวิญญาณเป็นต้นเป็นไปอีก มรรคจิตนั้นก็มิใช่กำลังเป็นไป
เหตุใด เพราะเหตุนั้น ไม่ควรกล่าวว่า มีญาณ ดังนี้ คำถามของสกวาที
หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาที
จึงกล่าวคำว่า เมื่อราคะปราศไปแล้ว เป็นต้น เพื่อท้วงด้วยคำว่า ถ้าว่า
เมื่ออัญญาณ คือ โมหะ ปราศจากไปแล้ว บัญญัติว่า ผู้มีญาณ ดังนี้
ไม่พึงมีไซร้ ครั้นเมื่อราคะเป็นต้นปราศจากไปแล้ว แม้บัญญัติว่ามีราคะ