เมนู

บุคคลชื่อโน้น เราจักขโมยภัณฑะโน้น เป็นต้น. ถูกสกวาทีถามว่า
บุญและบาปทั้ง 2 อย่างเจริญหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะหมายเอา
ความไม่เกิดขึ้นแห่งบาปในขณะให้ทาน. ถูกถามครั้งที่ 2 ก็ตอบรับรอง
หมายเอาการสั่งสมบาปที่ไม่ประกอบกับจิต. คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบ
โดยนัยที่กล่าวไว้ในเรื่องบุญสำเร็จแต่การบริโภคนั่นแหละ. แม้การตั้ง
ลัทธิของปรวาทีนั้น ย่อมสำเร็จในส่วนเบื้องต้น คือ ในการสมาทานบาป
แต่ไม่ใช่ความเป็นผู้ทุศีลเพราะอวิญญัตติ ดังนี้แล.
อรรถกถา อวิญญัตติทุสสีลยันติกถา จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ



1. นิโรธกถา 2. รูปัง มัคโคติกถา 3. ปัญจวิญญาณสมังคิส-
สมัคคภาวนากถา 4. ปัญจวิญญาณากุสลาปีติกถา 5. ปัญจวิญญา-
ณาสาโภคาติกถา 6. ทวีหิสีเลหิสมันนาคิตติกถา 7. สีลัง อเจตสิกกันติกถา
8. สีลัง นจิตตานุปริวัตติกถา 9. สมาทานเหตุกถา 10. วิญญัตติสีลันติ-
กถา 11. อวิญญัตติทุสสีลยันติกถา.
วรรคที่ 10 จบ
ทุติยปัณณาสก์ จบ

วรรคที่ 11



ติสโสปิ อนุสยกถา



[1432] สกวาที อนุสัย เป็นอัพยากฤต หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. เป็นอัพยากฤตคือวิบาก เป็นอัพยากฤตคือกิริยา เป็น
รูป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1433] ส. กามราคานุสัย เป็นอัพยากฤต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสัญโญชน์
กาโมฆะ กามโยคะ กามฉันทนิวรณ์ เป็นอัพยากฤต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน ฯลฯ กามฉันทนิวรณ์
เป็นอกุศล หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กามราคานุสัย เป็นอกุศล หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1434] ส. ปฏิฆานุสัย เป็นอัพยากฤต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ปฏิฆะ ปฏิฆปริยุฏฐาน ปฏิฆสัญโญชน์ เป็นอัพยากฤต
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ