เมนู

อากาสกถา



[1104] สกาวาที อากาศเป็นอสังขตะหรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. เป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง เป็น
ที่หมาย เป็นฐานะอันไม่เคลื่อน เป็นอมตะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1105] ส. อากาศเป็นสังขตะ นิพพานเป็นอสังขตะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อสังขตะ เป็น 2 อย่าง หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อสังขตะ เป็น 2 อย่าง หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ที่ต้านทาน เป็น 2 อย่าง ฯลฯ มีระหว่างขั้นแห่ง
นิพพาน 2 อย่างนั้น หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1106] ส. อากาศเป็นอสังขตะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. มีชนบางพวกทำอนากาศให้เป็นอากาศได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. มีชนบางพวกทำสังขตะให้เป็นอสังขตะได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[1107] ส. มีชนบางพวก ทำอากาศให้เป็นอนากาศได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. มีชนบางพวกทำอสังขตะให้เป็นสังขตะได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1108] ส. ในอากาศ นกทั้งหลายบินไปได้ พระจันทร์และพระ
อาทิตย์โคจรไปได้ ดวงดาวทั้งหลายโคจรไปได้ ผู้มีฤทธิ์แสดงฤทธิ์ได้
ชนทั้งหลายไกวแขนได้ โบกมือได้ ขว้างก้อนดินไปได้ ขว้างลูกขลุบไปได้
แผลงฤทธิ์ไปได้ แผลงศรไปได้หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. ในอสังขตะ นกทั้งหลายก็บินไปได้ พระจันทร์และ
พระอาทิตย์ก็โคจรไปได้ ดวงดาวทั้งหลายก็โคจรไปได้ ผู้มีฤทธิ์ก็แสดง
ฤทธิ์ได้ ชนทั้งหลายก็ไกวแขนได้ โบกมือได้ ขว้างก้อนดินไปได้ ขว้าง
ลูกขลุบได้ แผลงฤทธิ์ไปได้ แผลงศรไปได้หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1109] ส. ชนทั้งหลายล้อมอากาศ ทำให้เป็นเรือน ทำให้เป็น
ฉางได้หรือ ?
ป. ถูกแล้ว
ส. ชนทั้งหลายล้อมอสังขตะ ทำให้เป็นเรือน ทำให้เป็น
ฉางได้หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1110] ส. เมื่อขุดบ่ออยู่ อนากาศ คือที่มิใช่อากาศ กลายเป็น
อากาศได้หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.
ส. สังขตะ ก็กลายเป็นอสังขตะได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1111] ส. เมื่อถมบ่อเปล่าอยู่ ยังฉางเปล่าให้เต็มอยู่ ยังหม้อเปล่า
ให้เต็มอยู่ อากาศอันตรธานไปได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อสังขตะ ก็อันตรธานไปได้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1112] ป. ไม่พึงกล่าวว่า อากาศเป็นอสังขตะ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. อากาศเป็นสังขตะ หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. ถ้าอย่างนั้น อากาศก็เป็นอสังขตะ น่ะสิ.
อากาสกถา จบ

อรรถกถาอากาสกถา


ว่าด้วย อากาศ


บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอากาศ. ในเรื่องนั้น อากาศมี 3 อย่าง คือ ปริจเฉ-
ทากาส คือช่องว่างอันเป็นที่กำหนด กสิณุคฆาฏิมากาส คือช่องว่างที่
เพิกขึ้นของกสิณ และอชฏากาส คือช่องว่างของท้องฟ้า แม้คำว่า ดุจฉากาส
คือช่องว่างอันว่างเปล่า ก็เป็นชื่อของอชฏากาสนั้นนั่นแหละ. บรรดา
อากาศเหล่านั้น ปริจเฉทากาส คือของว่างที่คั่นอยู่ระหว่างรูปกับรูป เป็น
สังขตะ ส่วนอากาศที่เหลือแม้ทั้ง 2 นี้สักว่าเป็นบัญญัติ.
ก็ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะ และ
มหิสาสกะทั้งหลายว่า อากาศแม้ทั้ง 2 คือกสิณุคฆาฏิมากาส และอชฎากาส
ไม่ใช่สังขตะ เหตุใด เพราะเหตุนั้น จึงเป็นอสังขตะ ดังนี้ คำถามของ
สกวาทีว่า อากาศ เป็นต้น หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของ
ปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
อรรถกถาอากาสกถา จบ