เมนู

นิโรธสมาปัตติกถา



[1100] สกวาที นิโรธสมาบัติ เป็นอสังขตะ หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว
ส. เป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง เป็น
ที่หมาย เป็นฐานะอันไม่จุติ เป็นอมตะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. นิโรธสมาบัติเป็นอสังขตะ นิพพานก็เป็นอสังขตะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อสังขตะ เป็น 2 อย่าง หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อสังขตะเป็น 2 อย่าง หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ที่ต้านทาน เป็น 2 อย่างและมีระหว่างขั้นแห่งนิพพาน
2 อย่างนั้น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. นิโรธสมาบัติเป็นอสังขตะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. มีคนบางพวก เข้านิโรธ ได้นิโรธ ยังนิโรธให้เกิดขึ้น
ให้เกิดขึ้นพร้อม ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นพร้อม ให้บังเกิด ให้บังเกิดขึ้นอย่างยิ่ง
ให้เกิด ให้เกิดพร้อมได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.

ส. มีคนบางพวก เข้าอสังขตะ ได้อสังขตะ ยังอสังขตะ
ให้เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้นพร้อม ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นพร้อม ให้บังเกิด ให้บังเกิด
ขึ้นอย่างยิ่ง ให้เกิด ให้เกิดพร้อมได้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความผ่องแผ้ว ความออกจากนิโรธ ปรากฏได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความผ่องแผ้ว ความออกจากอสังขตะ ปรากฏได้หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ผู้เข้านิโรธ มีวจีสังขารดับไปก่อน แต่นั้นกายสังขาร
ดับ แต่นั้นจิตตสังขารดับ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ผู้เข้าอสังขตะก็มีวจีสังขารดับไปก่อน แต่นั้นกาย
สังขารดับ แต่นั้นจิตตสังขารดับ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ผู้ออกจากนิโรธมีจิตตสังขารเกิดขึ้นก่อน แต่นั้นกาย
สังขารเกิดขึ้น แต่นั้นวจีสังขารเกิดขึ้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ผู้ออกจากอสังขตะ ก็มีจิตตสังขารเกิดขึ้นก่อน แต่นั้น
กายสังขารเกิดขึ้น แต่นั้นวจีสังขารเกิดขึ้น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1101] ส. ผัสสะ 3 คือ สุญญตผัสสะ อนิมิตตผัสสะ อัปปณิหิต
ผัสสะ ย่อมถูกต้องผู้ออกจากนิโรธแล้ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.
ส. ผัสสะ 3 คือ สุญญตผัสสะ อนิมิตตผัสสะ อัปปณิหิต
ผัสสะ ย่อมถูกต้อง ผู้ที่ออกจากอสังขตะแล้ว หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1102] ส. จิตของผู้ที่ออกจากนิโรธแล้ว เป็นธรรมชาติโน้มไป
สู่วิเวก เอียงไปสู่วิเวก น้อมไปสู่วิเวก หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. จิตของผู้ที่ออกจากอสังขตะแล้ว ก็เป็นธรรมชาติโน้ม
ไปสู่วิเวก เอียงไปสู่วิเวก น้อมไปสู่วิเวก หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1103] ป. ไม่พึงกล่าวว่า นิโรธสมาบัติเป็นอสังขตะ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. นิโรธสมาบัติเป็นสังขตะหรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. ถ้าอย่างนั้น นิโรธสมาบัติก็เป็นอสังขตะ น่ะสิ.
นิโรธสมาปัตติกถา จบ

อรรถกถานิโรธสมาปัตติกถา


ว่าด้วย นิโรธสมาบัติ


บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องนิโรธสมาบัติ. ในเรื่องนั้น ความไม่เป็นไปแห่ง
นามขันธ์ 4 ชื่อว่านิโรธสมาบัติ. ก็นิโรธสมาบัตินั้นอันบุคคลเมื่อจะทำ
ชื่อว่าย่อมทำได้ คือ เมื่อเข้านิโรธสมาบัติ เขาย่อมเข้าได้ เหตุใด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงเรียกนามขันธ์ 4 นั้นว่า เป็นสมาบัติที่ดับไปแล้ว. แต่ใคร ๆ
ไม่พึงกล่าวว่าเป็นสังขตธรรม หรือเป็นอสังขตธรรม เพราะไม่มีลักษณะ
แห่งสังขตธรรมและอสังขตธรรม.
ในปัญหานั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะ
และอุตตราปถกะทั้งหลายว่า นิโรธสมาบัติไม่เป็นสังขตะ เพราะเป็น
อสังขตะ ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า นิโรธสมาบัติ เป็นต้น โดยหมายถึง
ชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำเป็นต้นว่า ยังนิโรธให้
เกิดขึ้น
สกวาทีกล่าวแล้วด้วยสามารถแห่งการได้เฉพาะซึ่งการเข้าสมาบัติ
เท่านั้น. อธิบายว่า เหมือนอย่างว่าชนทั้งหลายย่อมยังสังขตธรรมทั้งหลาย
มีรูปเป็นต้นให้เกิดขึ้นได้โดยวิธีใด แต่ใคร ๆ ชื่อว่ายังอสังขตะให้เกิดขึ้น
ได้โดยวิธีนั้นหาได้ไม่. คำว่า ความผ่องแผ้ว ความออกจากนิโรธ บัณฑิต
พึงทราบว่าเป็นผลสมาบัติ. แต่ความผ่องแผ้ว ความออกจากอสังขตะนั้น
ไม่ปรากฏเลย เพราะฉะนั้น ปรวาทีจึงตอบปฏิเสธ.
คำว่า ถ้าอย่างนั้น ความว่า ลัทธิว่า นิโรธสมาบัติ เมื่อไม่เป็น
สังขตะก็ต้องเป็นอสังขตะ ดังนี้ แต่คำนี้ไม่เป็นเหตุในความเป็นอสังขตะ
เพราะฉะนั้น แม้ปรวาทีกล่าวแล้ว คำนั้นก็หาเป็นเช่นกับคำที่กล่าวนั้นไม่
ดังนี้แล.
อรรถกถานิโรธสมาปัตติกถา จบ