เมนู

รูปังมัคโคติกถา



[1379] สกวาที รูปของบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค
เป็นมรรค หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. รูปนั้น เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ความผูกใจ
ความสนใจ ความทำไว้ในใจ ความจงใจ ความปรารถนา ความตั้งใจ
ของรูปนั้นมีอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. รูปนั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความ
ตั้งใจของรูปนั้นไม่มี มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า รูปนั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ
ความตั้งใจของรูปนั้นไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า รูปของบุคคลผู้มีความ
พร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นมรรค.
[1380] ส. สัมมาวาจา เป็นมรรคหรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สัมมาวาจานั้น เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ
ความตั้งใจของสัมมาวาจานั้น มีอยู่หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สัมมาวาจานั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ
ความตั้งใจของสัมมาวาจานั้นไม่มี มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า สัมมาวาจานั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความ
นึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาวาจานั้นไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า สัมมาวาจา
เป็นมรรค.
[1381] ส. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ เป็นมรรคหรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สัมมาอาชีวะนั้น เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ
ความตั้งใจของสัมมาอาชีวะนั้น มีอยู่หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สัมมาอาชีวะนั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก
ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาอาชีวะนั้น ไม่มี มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า สัมมาอาชีวะนั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์
ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาอาชีวะนั้นไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า
สัมมาอาชีวะเป็นมรรค.
[1382] ส. สัมมาทิฏฐิ เป็นมรรค และสัมมาทิฏฐินั้น เป็นธรรม
มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาทิฏฐินั้นมีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สัมมาวาจาเป็นมรรค และสัมมาวาจานั้น เป็นธรรม
มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาวาจานั้น มีอยู่หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สัมมาทิฏฐิ เป็นมรรค และสัมมาทิฏฐินั้น เป็นธรรม
มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาทิฏฐินั้น มีอยู่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.
ส. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ เป็นมรรค และ
สัมมาอาชีวะนั้น เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของ
สัมมาอาชีวะนั้นมีอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ
[1383] ส. สัมมาสมาธิ เป็นมรรค และสัมมาสมาธินั้น เป็น
ธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาสมาธินั้น มีอยู่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สัมมาวาจา เป็นมรรค และสัมมาวาจานั้น เป็นธรรม
มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาวาจานั้น มีอยู่หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สัมมาสมาธิ เป็นมรรค และสัมมาสมาธินั้น เป็น
ธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาสมาธินั้น มีอยู่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ เป็นมรรค และ
สัมมาอาชีวะนั้น เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของ
สัมมาอาชีวะนั้น มีอยู่หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1384] ส. สัมมาวาจา เป็นมรรค และสัมมาวาจานั้น เป็นธรรม
ไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาวาจานั้นไม่มี หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาทิฏฐิ เป็นมรรค และสัมมาทิฏฐินั้น เป็นธรรม
ไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาทิฏฐินั้นไม่มี หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สัมมาวาจา เป็นมรรค และสัมมาวาจานั้น เป็นธรรม
ไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาวาจานั้นไม่มี หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวาจา ฯลฯ สัมมาสติ
ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นมรรค และสัมมาสมาธินั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์
ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาสมาธินั้นไม่มี หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1385] ส. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ เป็นมรรค และ
สัมมาอาชีวะนั้นเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของ
สัมมาอาชีวะนั้นไม่มี หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นมรรค และสัมมาสมาธินั้น เป็นธรรมไม่มี
อารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาสมาธินั้นไม่มี หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1386] ป. ไม่พึงกล่าวว่า รูปของบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียง
ด้วยมรรค เป็นมรรค หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เป็นมรรค

มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
เป็นมรรค ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า รูปของบุคคลผู้มีความพร้อม
เพรียงด้วยมรรค เป็นมรรค.
รูปังมัคโคติกถา จบ

อรรถกถารูปังมัคโคติกถา



ว่าด้วย รูปเป็นมรรค



บัดนี้ ชื่อว่า เรื่อง รูปเป็นมรรค. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มีลัทธิ
ดุจลัทธิของนิกายมหิสาสกะ นิกายสมิติยะ และนิกายมหาสังฆิกะทั้งหลาย
ว่า สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะเป็นรูป ดังนี้ คำถามของ
สกวาที รูปของบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค โดยหมายถึง
ชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าว
คำว่า รูปนั้นเป็นธรรมมีอารมณ์ เป็นต้น เพื่อจะท้วงปรวาทีนั้นด้วย
คำว่า ถ้าว่า สัมมาวาจา เป็นต้น เป็นรูป ไม่เป็นวิรตีตามลัทธิของท่าน
ไซร้ มรรคมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น เป็นสภาพที่มีอารมณ์เป็นต้น ฉันใด รูป
แม้นั้นก็พึงเป็นฉันนั้น ดังนี้. ในปัญหานั้น พึงทราบคำปฏิเสธ และคำ
ตอบรับรองโดยสมควรด้วยสามารถแห่งลัทธิของปรวาที. คำที่เหลือใน
ที่นี้ มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.
อรรถกถารูปังมัคโคติกถา จบ