เมนู

วรรคที่ 10



นิโรธกถา



[1375] สกวาที เมื่อขันธ์ 5 ที่แสวงหาอุบัติยังไม่ทันดับ ขันธ์ 5
ที่เป็นกิริยาก็เกิดขึ้นได้ หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. เป็นความประชุมแห่งขันธ์ 10 ขันธ์ 10 มาพบกันได้
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เป็นความประชุมแห่งขันธ์ 10 ขันธ์ 10 มาพบกันได้
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นความประชุมแห่งผัสสะ 2 ฯลฯ แห่งจิต 2 หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1376] ส. เมื่อขันธ์ 5 ที่แสวงหาอุปบัติยังไม่ทันดับ ขันธ์ 5 ที่
เป็นกิริยาก็เกิดขึ้นได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นความประชุมแห่งขันธ์ 9 ขันธ์ 9 มาพบกันได้
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เป็นความประชุมแห่งขันธ์ 9 ขันธ์ 9 มาพบกันได้
หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นความประชุมแห่งผัสสะ 2 ฯลฯ แห่งจิต 2 หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1377] ส. เมื่อขันธ์ 5 ที่แสวงหาอุบัติยังไม่ทันดับ ญาณอัน
เป็นกิริยาก็เกิด ขึ้นได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นความประชุมแห่งขันธ์ 6 ขันธ์ 6 มาพบกันได้
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เป็นความประชุมแห่งขันธ์ 6 ขันธ์ 6 มาพบกันได้
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นความประชุมแห่งผัสสะ 2 ฯลฯ แห่งจิต 2 หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1378] ส. เมื่อขันธ์ 5 ที่แสวงหาอุบัติ ดับไปแล้ว มรรคก็
เกิดขึ้นได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ตายแล้ว ยังมรรคให้เกิดได้ บุคคลผู้ทำกาละ
แล้ว ยังมรรคให้เกิดได้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
นิโรธกถา จบ

อรรถกถานิโรธกถา


ว่าด้วย ความดับ


บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องความดับ. ในเรื่องนั้น ลัทธิแห่งชนเหล่าใด ดุจ
ลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า ขันธ์ 5 คือ นามขันธ์ 4 อันถึงซึ่งการ
นับว่าเป็นกิริยา หรือเป็นกุศล หรือเป็นอกุศล และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
ย่อมเกิดขึ้นพร้อมกับภังคขณะ คือ ขณะแห่งการดับ ของภวังคจิตอันถึง
ซึ่งการนับว่า ขันธ์ที่แสวงหาการเกิด เพราะว่า เมื่อขันธ์เหล่านั้นยังไม่เกิด
ครั้นเมื่อภวังคจิตดับแล้ว ความขาดตอนของสันตติพึงมี ดังนี้ คำถาม
ของสกวาทีว่าเมื่อขันธ์ 5 ที่แสวงหาอุบัติ เป็นต้น โดยหมายถึงชนเหล่านั้น
คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ในบททั้งหลายแม้ทั้ง 4 ว่า อุปปตฺเตสิเย
แปลว่า เมื่อขันธ์ 5 ที่แสวงหาอุปบัติ นั้น เป็นสัตตมีเอกพจน์ลงในอรรถ
แห่งสัตตมีพหูพจน์ ก็ในคำนี้ ท่านอธิบายว่า เมื่อขันธ์ 5 อันแสวงหาซึ่ง
การเกิดยังไม่ทันดับ. คำว่า ขันธ์ 10 ท่านสกวาทีกล่าวด้วยสามารถ
แห่งขันธ์ 5 ที่แสวงหาการเกิด และขันธ์ 5 ที่เป็นกิริยา หมายถึงขันธ์
ของพระอรหันต์ที่ไม่ต้องแสวงหาการเกิด.
ในปัญหาแรกนั้น ปรวาทีตอบปฏิเสธด้วยหมายเอาว่า ขันธ์
เหล่านั้น ชื่อว่ามี 5 เท่านั้น ด้วยสามารถแห่งลักษณะของขันธ์ และด้วย
สามารถแห่งกิริยา. ในปัญหาที่ 2 ปรวาทีตอบรับรอง หมายเอาความ
ต่างกันแห่งขันธ์ 5 ด้วยสามารถแห่งขันธ์ที่เกิดก่อนและเกิดทีหลัง และ
ด้วยสามารถแห่งขันธ์ที่แสวงหาการเกิดและขันธ์ที่เป็นกิริยา คือขันธ์
ที่ไม่แสวงหาการเกิด. ถูกสกวาทีถามว่า เป็นความประชุมแห่งผัสสะ