เมนู

นยถาจิตตัสสวาจาติกถา



[1358] สกวาที บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีวาจาได้ หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ไม่มีผัสสะ ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มี
เจตนา ไม่มีจิต ก็มีวาจาได้หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลมีผัสสะ มีเวทนา มีสัญญา มีเจตนา มีจิต จึง
มีวาจาได้ มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า บุคคลมีผัสสะ ฯลฯ มีจิต จึงมีวาจาได้ ก็ต้อง
ไม่กล่าวว่า บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีวาจาได้.
[1359] ส. บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีวาจาได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ไม่นึกอยู่ ไม่ผูกใจอยู่ ฯลฯ ไม่ตั้งใจอยู่ ก็มี
วาจาได้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลนึกอยู่ ผูกใจอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่ จึงมีวาจาได้
มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า บุคคลนึกอยู่ ผูกใจอยู่ จึงมีวาจาได้ ก็ต้อง
ไม่กล่าวว่า บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร มีวาจาได้.
[1360] ส. บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีวาจาได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.
ส. วาจามีจิตเป็นสมุฏฐาน เกิดร่วมกับจิต เกิดขณะเดียว
กับจิต มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า วาจามีจิตเป็นสมุฏฐาน เกิดร่วมกับจิต เกิด
ขณะเดียวกับจิต ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไรก็มีวาจาได้.
[1361] ส. บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีวาจาได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลไม่ปรารถนาจะกล่าวก็กล่าวได้ ไม่ปรารถนา
จะแสดงก็แสดงได้ ไม่ปรารถนาจะร้องเรียกก็ร้องเรียกได้ ไม่ปรารถนา
จะพูดก็พูดได้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลปรารถนาจะกล่าวจึงกล่าวได้ ปรารถนาจะ
แสดงจึงแสดงได้ ปรารถนาจะร้องเรียกจึงร้องเรียกได้ ปรารถนาจะ
พูดจึงพูดได้ มิใช่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า บุคคลปรารถนาจะกล่าวจึงกล่าวได้ ปรารถนา
จะแสดงจึงแสดงได้ ปรารถนาจะร้องเรียกจึงร้องเรียกได้ ปรารถนา
จะพูดจึงพูดได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีวาจาได้.
[1362] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มี
วาจาได้ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.

ป. บางคนที่คิดว่าจะกล่าวอย่างหนึ่ง ก็กล่าวเสียอีก
อย่างหนึ่ง คิดว่าจะแสดงอย่างหนึ่ง ก็แสดงเสียอีกอย่างหนึ่ง คิดว่าจะ
ร้องเรียกอย่างหนึ่ง ก็ร้องเรียกเสียอีกอย่างหนึ่ง คิดว่าจะพูดอย่างหนึ่ง
ก็พูดเสียอีกอย่างหนึ่ง มีอยู่มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า บางคนที่คิดว่าจะกล่าวอย่างหนึ่ง ก็กล่าว
เสียอีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คิดว่าจะพูดอย่างหนึ่ง ก็พูดเสียอีกอย่างหนึ่ง มีอยู่
ด้วยเหตุนั้นนะ ท่านจึงต้องกล่าวว่า บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มี
วาจาได้.
นยถาจิตตัสสวาจาติกถา จบ

อรรถกถานยถาจิตตัสส1 วาจาติกถา



ว่าด้วย ผู้ไม่มีความคิดอย่างไรก็มีวาจาได้



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องผู้ไม่มีความคิดอย่างไรก็มีวาจาได้ คือหมายความ
ว่า วาจาไม่เป็นไปตามจิต. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีลัทธิดุจลัทธิของ
นิกายปุพพเสลิยะทั้งหลายว่า บุคคลบางคนคิดว่า เราจักกล่าวอย่างหนึ่ง
แต่ย่อมกล่าวอย่างหนึ่ง เหตุใด เพราะเหตุนั้น วาจา จึงชื่อว่าไม่เป็นไป
ตามจิต ไม่คล้อยไปตามจิต แม้เว้นจิตเสียแล้ว วาจาก็ย่อมเป็นไปได้ดังนี้
คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า บุคคลผู้ไม่มีผัสสะ เป็นต้น เพื่อท้วง

1. อีกอย่างหนึ่งแปลว่า เรื่องวาจาไม่เป็นไปตามจิต.