เมนู

ดังนี้1 เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ถ้าอย่างนั้น สัญโญชน์ก็มีอมตะเป็นอารมณ์ น่ะสิ
อมตารัมมณกถา จบ

อรรถกถาอมตารัมมณกถา



ว่าด้วย สังโยชน์มีอมตะเป็นอารมณ์



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องสังโยชน์มีอมตะเป็นอารมณ์ ได้แก่ อมตะคือพระ-
นิพพาน. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายปุพพเสลิยะ
ทั้งหลายว่า สังโยชน์มีอมตะเป็นอารมณ์ เพราะถือเอาอรรถโดยไม่ใคร่ครวญ
แห่งบททั้งหลายว่า ปุถุชนรู้พระนิพพาน เป็นต้น คำถามของสกวาที
หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึง
กล่าวกะปรวาทีว่า อมตะเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นต้น เพื่อท้วงว่า
ถ้าว่าสังโยชน์มีอมตะเป็นอารมณ์ได้ไซร้ อมตะก็ต้องปรากฏว่าเป็น
อารมณ์ของสังโยชน์ได้ ปรวาทีปฏิเสธคำทั้งปวงเพราะกลัวผิดจาก
พระสูตร บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในวาระทั้งปวงโดยอุบายนี้. ก็พระสูตร
ที่ปรวาทียกมาว่า ปุถุชน... หมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระ
นิพพาน
นี้ ท่านกล่าวหมายเอานิพพานในทิฏฐธรรม คือในภพนี้
เพราะฉะนั้น ข้อนี้จึงไม่สำเร็จประโยชน์ ดังนี้แล.
อรรถกถาอมตารัมมณากถา จบ

1. ม.มู. 13/2.

รูปังสารัมมณันติกถา



[1321] สกวาที รูปเป็นธรรมมีอารมณ์หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. ความนึก ความผูกใจ ความสนใจ ความทำไว้ในใจ.
ความจงใจ ความปรารถนา ความตั้งใจ ของรูปนั้น มีอยู่หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความนึก ความผูกใจ ฯลฯ ความตั้งใจ ของรูปนั้น
ไม่มี มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ความนึก ความผูกใจ ฯลฯ ความตั้งใจ ของ
รูปนั้น ไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า รูปเป็นธรรมมีอารมณ์.
[1322] ส. ผัสสะเป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ความผูกใจ ฯลฯ
ความตั้งใจ ของผัสสะนั้น มีอยู่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. รูปเป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ความผูกใจ ฯลฯ
ความตั้งใจ ของรูปนั้น มีอยู่หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1323] ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา เจตนา จิต ศรัทธา วิริยะ สติ
สมาธิ ปัญญา ราคะ โทสะ โมหะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ
ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ความผูกใจ ฯลฯ ความ
ตั้งใจ ของอโนตตัปปะนั้น มีอยู่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.