เมนู

อมตารัมมณกถา



[1308] สกวาที สัญโญชน์มีอมตะเป็นอารมณ์ หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. อมตะเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ เป็นอารมณ์ของ
คันถะ เป็นอารมณ์ของโอฆะ เป็นอารมณ์ของโยคะ เป็นอารมณ์ของ
นิวรณ์ เป็นอารมณ์ของปรามาสะ เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นอารมณ์
ของสังกิเลส หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อมตะไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ ไม่เป็นอารมณ์
ของคันถะ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า อมตะไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ ฯลฯ ไม่
เป็นอารมณ์ของสังกิเลส ก็ต้องไม่กล่าวว่า สัญโญชน์มีอมตะเป็นอารมณ์.
[1309] ส. ราคะปรารภอมตะเกิดขึ้นได้หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อมตะเป็นที่ตั้งแห่งราคะ อันจิตพึงยินดี พึงใคร่ พึง
มัวเมา พึงผูกพัน พึงสยบอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งราคะ อันจิตไม่พึงยินดี ไม่พึง
ใคร่ ไม่พึงมัวเมา ไม่พึงผูกพัน ไม่พึงสยบอยู่ มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า อมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งราคะ อันจิตไม่พึง

ยินดี ไม่พึงใคร่ ไม่พึงมัวเมา ไม่พึงผูกพัน ไม่พึงสยบอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า
ราคะปรารภอมตะเกิดขึ้นได้.
[1310] ส. โทสะปรารภอมตะ เกิดขึ้นได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อมตะเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ
เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระเทือน หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความ
โกรธ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระเทือน มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า อมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่ง
ความโกรธ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระเทือน ก็ต้องไม่กล่าวว่า
โทสะปรารภอมตะเกิดขึ้นได้.
[1311] ส. โมหะ ปรารภอมตะเกิดขึ้นได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อมตะเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ทำความไม่รู้ ทำความไม่
เห็น เกื้อกูลแก่ความดับสูญแห่งปัญญา เป็นไปในฝ่ายทำลายปัญญา
ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ไม่กระทำความไม่รู้
เกื้อกูลแก่ความเจริญแห่งปัญญา ไม่เป็นไปในฝ่ายทำลายปัญญา เป็น
ไปเพื่อนิพพาน มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า อมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ไม่กระทำความ
ไม่รู้ ฯลฯ เป็นไปเพื่อนิพพาน ก็ต้องไม่กล่าวว่า โมหะปรารภอมตะ เกิด
ขึ้นได้.
[1312] ส. สัญโญชน์ ปรารภรูปเกิดขึ้นได้ และรูปเป็นอารมณ์
ของสัญโญชน์ เป็นอารมณ์ของคันถะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลส หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สัญโญชน์ปรารภอมตะเกิดขึ้นได้ และอมตะเป็น
อารมณ์ของสัญโญชน์ เป็นอารมณ์ของคันถะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของ
กิเลส หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1313] ส. ราคะปรารภรูปเกิดขึ้นได้ รูปเป็นที่ตั้งแห่งราคะ
อันจิตพึงยินดี พึงใคร่ พึงมัวเมา พึงผูกพัน พึงสยบอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ราคะปรารภอมตะเกิดขึ้นได้ และอมตะเป็นที่ตั้ง
แห่งราคะ อันจิตพึงยินดี ฯลฯ พึงสยบอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1314] ส. โทสะปรารภรูปเกิดขึ้นได้ และรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ
เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระเทือน หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. โทสะปรารภอมตะเกิดขึ้นได้ และอมตะเป็นที่ตั้งแห่ง
โทสะ เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระเทือน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1315] ส. โมหะปรารภรูปเกิดขึ้นได้ และรูปเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ
กระทำความไม่รู้ ฯลฯ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. โมหะปรารภอมตะเกิดขึ้นได้ และอมตะเป็นที่ตั้งแห่ง
โมหะ กระทำความไม่รู้ ฯลฯ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1316] ส. สัญโญชน์ปรารภอมตะเกิดขึ้นได้ แต่อมตะไม่เป็น
อารมณ์ของสัญโญชน์ ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ ไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะ
ไม่เป็นอารมณ์ของโยคะ ไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ ไม่เป็นอารมณ์ของ
ปรามาสะ ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเสส หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สัญโญชน์ปรารภรูปเกิดขึ้นได้ แต่รูปไม่เป็นอารมณ์
ของสัญโญชน์ ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1317] ส. ราคะปรารภอมตะเกิดขึ้นได้ แต่อมตะไม่เป็นที่ตั้ง
แห่งราคะ อันจิตไม่พึงยินดี ไม่พึงใคร่ ไม่พึงมัวเมา ไม่พึงผูกพัน ไม่พึง
สยบอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ราคะปรารภรูปเกิดขึ้นได้ แต่รูปไม่เป็นที่ตั้งแห่ง
ราคะ อันจิตไม่พึงยินดี ฯลฯ ไม่พึงสยบอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1318] ส. โทสะปรารภอมตะเกิดขึ้นได้ และอมตะไม่เป็นที่ตั้ง
แห่งโทสะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระเทือน
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. โทสะ ปรารภรูปเกิดขึ้นได้ แต่รูปไม่เป็นที่ตั้งแห่ง
โทสะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระเทือน
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1319] ส. โมหะปรารภอมตะเกิดขึ้นได้ แต่อมตะไม่เป็นที่ตั้ง
แห่งโมหะ ไม่ทำความไม่รู้ ฯลฯ เป็นไปเพื่อนิพพาน หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. โมหะปรารภรูปเกิดขึ้น แต่รูปไม่เป็นที่ตั้งแห่งโมหะ
ไม่กระทำความไม่รู้ ฯลฯ เป็นไปเพื่อนิพพาน หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1320] ป. ไม่พึงกล่าวว่า สัญโญชน์มีอมตะเป็นอารมณ์ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ปุถุชน... หมายรู้
นิพพานโดยความเป็นนิพพาน ครั้นหมายรู้นิพพานโดยความเป็น
นิพพานแล้ว ย่อมสำคัญนิพพาน ย่อมสำคัญในนิพพาน ย่อมสำคัญโดย
ความเป็นนิพพาน ย่อมสำคัญนิพพานว่าของเรา ย่อมชื่นชมนิพพาน

ดังนี้1 เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ถ้าอย่างนั้น สัญโญชน์ก็มีอมตะเป็นอารมณ์ น่ะสิ
อมตารัมมณกถา จบ

อรรถกถาอมตารัมมณกถา



ว่าด้วย สังโยชน์มีอมตะเป็นอารมณ์



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องสังโยชน์มีอมตะเป็นอารมณ์ ได้แก่ อมตะคือพระ-
นิพพาน. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายปุพพเสลิยะ
ทั้งหลายว่า สังโยชน์มีอมตะเป็นอารมณ์ เพราะถือเอาอรรถโดยไม่ใคร่ครวญ
แห่งบททั้งหลายว่า ปุถุชนรู้พระนิพพาน เป็นต้น คำถามของสกวาที
หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึง
กล่าวกะปรวาทีว่า อมตะเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นต้น เพื่อท้วงว่า
ถ้าว่าสังโยชน์มีอมตะเป็นอารมณ์ได้ไซร้ อมตะก็ต้องปรากฏว่าเป็น
อารมณ์ของสังโยชน์ได้ ปรวาทีปฏิเสธคำทั้งปวงเพราะกลัวผิดจาก
พระสูตร บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในวาระทั้งปวงโดยอุบายนี้. ก็พระสูตร
ที่ปรวาทียกมาว่า ปุถุชน... หมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระ
นิพพาน
นี้ ท่านกล่าวหมายเอานิพพานในทิฏฐธรรม คือในภพนี้
เพราะฉะนั้น ข้อนี้จึงไม่สำเร็จประโยชน์ ดังนี้แล.
อรรถกถาอมตารัมมณากถา จบ

1. ม.มู. 13/2.