เมนู

[1307] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ผู้เห็นอานิสงส์ ในนิพพาน และ
สัญโญชน์ได้ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้พิจารณาเห็นว่าเป็นสุข หมายรู้ว่าเป็นสุข มี
ความรู้สึกว่าเป็นสุข น้อมใจไปเนืองนิตย์สม่ำเสมอ ไม่สับสน หยั่ง
ปัญญาลงในพระนิพพานอยู่
ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ถ้าอย่างนั้น ผู้เห็นอานิสงส์ ในนิพพาน ก็ละสัญโญชน์
ได้ น่ะสิ.
อานิสังสกถา จบ

อรรถกถาอานิสังสกถา



ว่าด้วย อานิสงส์



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอานิสงส์. ในเรื่องนั้น การแก้ปัญหา คือการ
ชี้ขาด ในลัทธิของสกวาทีว่า การละสังโยชน์ย่อมมีแก่ผู้เห็นสังขาร
ทั้งหลายโดยความเป็นโทษ และเห็นพระนิพพานโดยความเป็นอานิสงส์
ดังนี้ ก็ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า
การละสังโยชน์ย่อมมีแก่ผู้เห็นพระนิพพาน โดยความเป็นอานิสงส์
เท่านั้น เพราะถือเอาวาทะของสกวาทีเพียงข้อเดียวในวาทะ 2 ข้อนั้น
คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.

ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า บุคคลมนสิการอยู่ซึ่งสังขารทั้งหลาย
เป็นต้น แก่ปรวาทีนั้นเพื่อแสดงการจำแนกว่า วาทะของสกวาทีนั้น
ท่านถือเอาแล้ว แม้ความเป็นโทษในสังขารทั้งหลาย ท่านก็พึงเห็นด้วย
ทีเดียว.
ในปัญหาว่า บุคคลมนสิการซึ่งสังขารทั้งหลาย โดยความเป็น
ของไม่เที่ยงด้วย เป็นผู้เห็นอานิสงส์ในพระนิพพานด้วย
พึงทราบ
อธิบายดังต่อไปนี้ว่า ลัทธิของปรวาทีเหล่านั้นว่า การละสังโยชน์ย่อม
มีแก่ผู้เห็นอานิสงส์ในพระนิพพาน ดังนี้ จึงถูกสกวาทีถามว่า บุคคล
มนสิการอยู่ซึ่งสังขารทั้งหลายโดยความเป็นของไม่เที่ยง ละสัญโญชน์
ได้มิใช่หรือ
ปรวาทีตอบรับรองว่าใช่ ด้วยคำนั้น สกวาทีจึงกล่าวว่า
บุคคลมนสิการอยู่ซึ่งสังขารทั้งหลาย โดยความเป็นของไม่เที่ยงด้วย
เป็นผู้เห็นอานิสงส์ในนิพพานด้วย
ดังนี้ คำนี้ท่านรับรองหรือ ลำดับนั้น
ปรวาทีจึงตอบปฏิเสธ เพราะหมายเอาเพียงขณะจิตเดียว ถูกถามครั้งที่
2 ท่านก็ตอบรับรองด้วยสามารถแห่งจิตต่าง ๆ. ก็สกวาทีย่ำยีความ
ประสงค์ของปรวาทีนั้นแล้ว จึงถามว่า เป็นการประชุมแห่งผัสสะ 2
อย่าง แห่งจิต 2 อย่างหรือ
เพราะความที่บุคคลผู้มนสิการสังขาร
โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นผู้มีปกติเห็นอานิสงส์พระนิพพานด้วย
เพราะความที่ปรวาทีตอบรับรองโดยความรวมเป็นอันเดียวกันด้วย ดังนี้
ปรวาทีเมื่อไม่เห็นการประชุมกันแห่งผัสสะ 2 อย่างเป็นต้น จึงตอบ
ปฏิเสธ. แม้ในปัญหามีคำว่า โดยความเป็นทุกข์ เป็นต้น ก็นัยนี้นั่นแหละ.
ก็ในข้อนี้มีการสันนิษฐานอย่างไร ? คือย่อมละสังโยชน์ทั้งหลาย
เพราะมนสิการสังขารทั้งหลายโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น หรือ

ย่อมละสังโยชน์ของผู้เห็นพระนิพพาน หรือย่อมละสังโยชน์ของผู้ทำ
แม้ทั้ง 2 รวมกัน. ผิว่า การละสังโยชน์เพราะมนสิการสังขารโดยความ
เป็นของไม่เที่ยงเป็นต้นก่อนไซร้ การละนี้ก็พึงมีด้วยวิปัสสนาจิตเท่านั้น
ถ้าการละสังโยชน์ด้วยสามารถแห่งการตามระลึกของผู้มีปกติเห็น
อานิสงส์ไซร้ การละนั้นก็พึงมีด้วยวิปัสสนาจิตของผู้เห็นอยู่ซึ่งอานิสงส์
ในพระนิพพานนั่นแหละ ก็ถ้าว่าการละสังโยชน์พึงมีแก่ผู้ทำแม้ทั้ง 2
รวมกันไซร้ การประชุมแห่งผัสสะ 2 ดวงเป็นต้น ก็พึงมี ถึงอย่างไรก็ดี
กิจของผู้มนสิการสังขารโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ย่อมถึง
ความสำเร็จในขณะแห่งมรรค เพราะสกวาทีย่อมต้องการเห็นอานิสงส์
ในพระนิพพานโดยสภาพแห่งธรรมที่เกิดขึ้นของผู้ยึดถือสังขารทั้งหลาย
โดยความเป็นของเที่ยงเป็นต้นโดยประจักษ์นั่นแหละอีก เหตุใด เพราะ
เหตุนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า การละสังโยชน์ทั้งหลายของผู้เห็นอานิสงส์
ในพระนิพพานด้วยสามารถแห่งการให้สำเร็จกิจในอริยมรรคด้วย ด้วย
สามารถแห่งความเป็นไปเพราะทำให้เป็นอารมณ์โดยมนสิการสังขาร
ทั้งหลายโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้นด้วย. พระสูตรว่า เป็นผู้
พิจารณาจึงว่าเป็นสุข...ในพระนิพพานอยู่
่ ดังนี้ เป็นต้น ย่อมให้สำเร็จ
ในสภาพแห่งธรรมมีการตามเห็นซึ่งความสุขในพระนิพพานมิใช่ให้
สำเร็จกิจในการละสังโยชน์ทั้งหลายโดยสักว่า การเห็นอานิสงส์ใน
พระนิพพานเท่านั้น เพราะฉะนั้น พระสูตรนี้ แม้ปรวาทีนำมาอ้างแล้ว
ก็หาเป็นเช่นนั้นไม่ ดังนี้แล.
อรรถกถาอานิสังสกถา จบ

อมตารัมมณกถา



[1308] สกวาที สัญโญชน์มีอมตะเป็นอารมณ์ หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. อมตะเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ เป็นอารมณ์ของ
คันถะ เป็นอารมณ์ของโอฆะ เป็นอารมณ์ของโยคะ เป็นอารมณ์ของ
นิวรณ์ เป็นอารมณ์ของปรามาสะ เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นอารมณ์
ของสังกิเลส หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อมตะไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ ไม่เป็นอารมณ์
ของคันถะ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า อมตะไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ ฯลฯ ไม่
เป็นอารมณ์ของสังกิเลส ก็ต้องไม่กล่าวว่า สัญโญชน์มีอมตะเป็นอารมณ์.
[1309] ส. ราคะปรารภอมตะเกิดขึ้นได้หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อมตะเป็นที่ตั้งแห่งราคะ อันจิตพึงยินดี พึงใคร่ พึง
มัวเมา พึงผูกพัน พึงสยบอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งราคะ อันจิตไม่พึงยินดี ไม่พึง
ใคร่ ไม่พึงมัวเมา ไม่พึงผูกพัน ไม่พึงสยบอยู่ มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า อมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งราคะ อันจิตไม่พึง