เมนู

อรรถกถาจตุกกนย*สังสันทนา


ว่าด้วยการเทียบเคียงโดยนัยแห่งจตุกกะ


บัดนี้ คำใดที่ปรวาทีหยั่งเห็นโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะในบรรดา
สัจฉิกัตถปรมัตถะ 57 อย่าง มีรูปเป็นต้น โดยอาศัยแล้วซึ่งรูปเป็นต้น
หรือเว้นจากรูปเป็นต้น หรือกำลังอาศัยรูปเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น
พึงมีเหตุใด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเริ่มการเทียบเคียงสัจฉิภัตถะโดย
จตุกกนัย คือโดยนัยแห่งหมวด 4 นี้.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า " รูปเป็นบุคคลหรือ" เป็นคำซักถาม
ของสกวาที ฯ คำปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น เป็นของปรวาที
เพราะกลัวจะถูกกล่าวหาว่าเป็นอุจเฉททิฏฐิ. การยกนิคคหะขึ้นเป็นของ
สกวาที แม้ท่านกล่าวว่า ก็ข้อนั้นถูกต้องแล้วหรือ นั่นเป็นรูปเป็น
เวทนามิใช่หรือ ดังนี้ ท่านปฏิเสธทั้งสิ้น. อนึ่งคำนั้น ท่านพึงปฏิเสธ
โดยรับว่าบุคคลเป็นอย่างหนึ่ง ไม่ใช่รูปไม่ใช่เวทนา แต่ไม่นอกจากรูป
และเวทนาก็ปรวาทีนี้ ไม่ปรารถนาความเป็นอย่างอื่นของบุคคลแม้แต่
* คำว่า จตุกกนยะ ได้แก่โดยนัยแห่งหมวด 4 เช่น.- 1. รูปเป็น
บุคคลหรือ 2. บุคคลในรูปหรือ 3. บุคคลนอกจากรูปหรือ 4. รูปในบุคคล
หรือ. ปัญหาเช่นนี้ท่านเรียกว่า สักกายทิฏฐิปัญหา เพื่อให้เห็นสภาพตามความ
เป็นจริงว่า การยึดว่าเป็นบุคคล เป็นอัตตาเป็นสัตว์มีมากมาย เมื่อท่านซักถาม
เนื้อความนี้แต่ละข้อก็จะปรากฏทีเดียวว่าไม่มีบุคคลหรืออัตตาอย่างที่ยึดถือ
นั้นเลย เป็นแต่สภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น.

ธรรมอย่างหนึ่งในบรรดาธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้น เพราะฉะนั้น ท่าน
จึงตอบรับรองว่า ใช่. ก็คำซักถามนี้ว่า รูปเป็นบุคคล ฯ ล ฯ
อัญญาตาวินทรีย์เป็นบุคคล ดังนี้ ท่านปรารภหมายเอาปรมัตถสัจจะทั้ง
สิ้น แต่ว่าใคร ๆ ไม่อาจกล่าวว่าปรมัตถธรรมทั้งสิ้นเป็นอย่างเดียวกันด้วย
สามารถแห่งปัจจัตตลักขณะ คือลักษณะที่มีเฉพาะตัวเรียกว่าปัจจัตต-
ลักขณะ เพราะฉะนั้น คำนี้ท่านตั้งไว้แล้วสักว่าเป็นลักษณะแห่งการ
ซักถามด้วยสามารถแห่งแบบแผน ด้วยเหตุนั้น วิญญูชนทั้งหลายควรยัง
ธรรมนี้ให้แจ่มแจ้ง. ฝ่ายสกวาทีผู้ใคร่เพื่อจะกล่าวถือเอาลักษณะนี้แล้ว
ไม่ให้โอกาสแก่ปรวาทีโดยประการใด ๆ พึงกล่าวโดยประการนั้น ๆ. คำนี้
เป็นอันถูกต้องแล้วนั่นเทียว เพราะความที่ลักษณะแห่งการซักถามท่าน
ตั้งไว้แล้วด้วยสามารถแห่งแบบแผน ด้วยประการฉะนี้. พึงทราบเนื้อ
ความซักถามทั้งปวงโดยนัยนี้. ก็แต่เนื้อความที่แปลกกันในคำทั้งหลาย
ว่า บุคคลในรูปหรือ เป็นต้นนี้ พึงทราบว่า การกล่าวว่ามหาภูต
รูป 3 อาศัยมหาภูตรูป 1 วิญญาณในรูปอาศัยวัตถุรูปดังนี้ ย่อมควร
ฉันใด บุคคลในรูปตามลัทธิของท่านฉันนั้นหรือ การกล่าวว่า ก็อรูป
ธรรมทั้งปวงมีเวทนาเป็นต้น หรือนามขันธ์ 4 หรือพระนิพพานนั่น
แหละ โดยการแยกสภาวะเป็นธรรมเว้นจากรูป ดังนี้ ย่อมควรฉันใด
บุคคลตามลัทธิของท่านฉันนั้นหรือ การกล่าวว่า เหมือนอย่างว่า รูปใน
เวทนา รูปในวิญญาณ ด้วยสามารถแห่งธรรมอันเป็นที่อาศัยแห่งรูป
ทั้งหลายที่มีจิตเป็นสมุฏฐานย่อมควรฉันใด บุคคลตามลัทธิของท่าน
ฉันนั้นหรือ ดังนี้. ก็ในคำซักถามทั้งปวงปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะกลัว

แต่อุจเฉททิฏฐิ และเพราะผิดจากลัทธิ. คำที่เหลือในที่นี้ชัดเจนแล้วโดย
อรรถทั้งนั้น. ว่าโดยธรรม คือโดยหัวข้อ แล้ว ท่านแสดงหมวด 5
คืออนุโลมปัญจกะ. ไว้ถึง 228 ข้อ (57 x 4 = 228) เพราะกระ
ทำอรรถอันหนึ่งๆ ในสัจฉิกัตถะ 57 ประเภทให้เป็นหมวดละ 4 ด้วย
สามารถแห่งนิคคหะที่เป็นฝ่ายของสกวาทีผู้กระทำ ฯ แม้ในฝ่ายปรวาที
ก็มีประมาณเท่านั้นนั่นแหละด้วยสามารถแห่งปฏิกรรม. อนึ่งในที่นี้
คำที่ปรวาทีกล่าวว่า บุคคลมีอยู่ คำนั้นสกวาทีรับรองด้วยความ
สามารถแห่งสมมติที่มาแล้วในพระสูตร ฯ ในคำทั้งหลายว่า รูปเป็น
บุคคลหรือ เป็นต้น ท่านปฏิเสธ เพราะความที่ปัญหาว่าด้วยสักกาย
ทิฏฐิเป็นปัญหาที่ไม่ควรตอบ. ปฏิกรรมของปรวาทีย่อมมีด้วยสามารถ
แห่งคำอันมีเลศนัยนั่นเทียว ดังนี้.
อรรถกถาจตุกกนยสังสันทนา และสังสันทนากถา จบ

ลักขณยุตติกตา


[60] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลมีปัจจัยหรือ ฯ ล ฯ บุคคลไม่มีปัจจัยหรือ ฯ ล ฯ
บุคคลเป็นสังขตะหรือ ฯ ล ฯ บุคคลเป็นอสังขตะหรือ ฯ ล ฯ บุคคลเที่ยง
หรือ ฯ ล ฯ บุคคลไม่เที่ยงหรือ ฯ ล ฯ บุคคลมีนิมิตหรือ ฯ ล ฯ บุคคลไม่
มีนิมิตหรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ คำเป็นต้นว่า ท่าน
จงรู้นิคคหะ ท่านย่อไว้.
[61] ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ ?
ส. ถูกแล้ว
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ
เพื่อเกื้อกูลตน
มีอยู่ ดังนี้ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. บุคคลมีปัจจัยหรือ ฯ ล ฯ บุคคลไม่มีปัจจัยหรือ ฯ ล ฯ
บุคคลเป็นสังขตะหรือ ฯ ล ฯ บุคคลเป็นอสังขตะหรือ ฯ ล ฯ บุคคลเที่ยง
หรือ ฯ ล ฯ บุคคลไม่เที่ยงหรือ ฯ ล ฯ บุคคลมีนิมิตหรือ ฯ ล ฯ บุคคล
ไม่มีนิมิต หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ คำทั้งปวงท่านย่อไว้.
ป. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม ฯ ล ฯ.
ลักขณยุตติกตา จบ