เมนู

จตุกกนยสังสันทนา


[50] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. รูปเป็นบุคคลหรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนี้.
ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่าท่านหยั่งเห็นบุคคล
โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า รูปเป็นบุคคล,
ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดย
สัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นบุคคล ดังนี้ ผิด, แต่ถ้า
ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นบุคคล ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล
โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้า
หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นบุคคล
ดังนี้ ผิด ฯ ล ฯ
[51] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลในรูปหรือ ฯ ล ฯ บุคคลอื่นจากรูปหรือ ? ฯ ล ฯ
รูปในบุคคลหรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.
ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่าท่านหยั่งเห็นบุคคล
โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า รูปในบุคคล,
ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดย

สัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปในบุคคล ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่
พึงกล่าวว่า รูปในบุคคล ก็ต้องไม่กล่าวว่าข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดย
สัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่าข้าพเจ้า
หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปในบุคคล
ดังนี้ ผิด ฯ ล ฯ
[52] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เวทนาเป็นบุคคลหรือ ฯ ล ฯ บุคคลในเวทนาหรือ ?
ฯ ล ฯ บุคคลอื่นจากเวทนาหรือ ฯ ล ฯ เวทนาในบุคคลหรือ ฯ ล ฯ สัญญา
เป็นบุคคลหรือ ฯ ล ฯ บุคคลในสัญญาหรือ ฯ ล ฯ บุคคลอื่นจากสัญญา
หรือ ฯ ล ฯ สัญญาในบุคคลหรือ ฯ ล ฯ สังขารเป็นบุคคลหรือ ฯ ล ฯ บุคคล
ในสังขารหรือ ฯ ล ฯ บุคคลอื่นจากสังขารหรือ ฯ ล ฯ สังขารในบุคคล
หรือ ฯ ล ฯ วิญญาณเป็นบุคคลหรือ ฯ ล ฯ บุคคลในวิญญาณหรือ ฯ ล ฯ
บุคคลอื่นจากวิญญาณหรือ ฯ ล ฯ วิญญาณในบุคคลหรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.
ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่าท่านหยั่งเห็นบุคคล
โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า วิญญาณใน
บุคคล, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็น
บุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะแต่ไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณในบุคคล ดังนี้
ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณในบุคคล ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้า
หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึง

กล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึง
กล่าวว่า วิญญาณในบุคคล ดังนี้ ผิด ฯ ล ฯ
[53] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. จักขายตนะเป็นบุคคลหรือ ฯ ล ฯ บุคคลในจักขาย-
ตนะหรือ ฯ ล ฯ บุคคลอื่นจากจักขายตนะหรือ ฯ ล ฯ จักขายตนะใน
บุคคลหรือ ฯ ล ฯ ธัมมายตนะเป็นบุคคลหรือ ฯ ล ฯ บุคคลในธัมมายตนะ
หรือ ฯ ล ฯ ธัมมายตนะในบุคคลหรือ ? ฯ ล ฯ
[54] . . .จักขุธาตุเป็นบุคคลหรือ ฯ ล ฯ บุคคลในจักขุธาตุ
หรือ ฯ ล ฯ บุคคลอื่นจากจักขุธาตุหรือ ฯ ล ฯ จักขุธาตุในบุคคลหรือ
ฯ ล ฯ ธาตุเป็นบุคคลหรือ ฯ ล ฯ บุคคลในธัมธาตุหรือ ฯ ล ฯ
บุคคลอื่นจากธัมธาตุหรือ ฯ ล ฯ ธัมธาตุในบุคคลหรือ ? ฯ ล ฯ
[55] . . .จักขุนทรีย์เป็นบุคคลหรือ ฯ ล ฯ บุคคลในจัก-
ขุนทรีย์หรือ ฯ ล ฯ บุคคลอื่นจากจักขุนทรีย์หรือ ฯ ล ฯ จักขุนทรีย์ใน
บุคคลหรือ ฯ ล ฯ อัญญาตาวินทรีย์เป็นบุคคลหรือ ฯ ล ฯ บุคคลใน
อัญญาตาวินทรีย์หรือ ฯ ล ฯ บุคคคลอื่นจากอัญญาตาวินทรีย์หรือ ฯ ล ฯ
อัญญาตาวินทรีย์ในบุคคลหรือ ? ฯ ล ฯ
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.
ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากท่านหยั่งเห็นบุคคล โดย
สัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์.

ในบุคคล, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็น
บุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะแต่ไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์ในบุคคล
ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์ในบุคคล ก็ต้องไม่กล่าว
ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ที่ท่านกล่าวในปัญหา
นั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่
ไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์ในบุคคล ดังนี้ ผิด ฯ ล ฯ
[56] ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมิตถะหรือ ?
ฯ ล ฯ
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ
เพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ ดังนี้ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. รูปเป็นบุคคลหรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.
ป. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม, หากว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่าน
จึงต้องกล่าวว่า รูปเป็นบุคคล ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่
แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นบุคคล ดังนี้ ผิด, แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นบุคคล
ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อ

เกื้อกูลตน มีอยู่ ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ แต่
ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นบุคคล ดังนี้ ผิด ฯ ล ฯ
[57] ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ
เพื่อเกื้อกูลตน
มีอยู่ ดังนี้ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. บุคคลในรูปหรือ ฯ ล ฯ บุคคลอื่นจากรูปหรือ ฯ ล ฯ
รูปในบุคคลหรือ ฯ ล ฯ เวทนาเป็นบุคคลหรือ ฯ ล ฯ บุคคลในเวทนาหรือ
ฯ ล ฯ บุคคลอื่นจากเวทนาหรือ ฯ ล ฯ เวทนาในบุคคลหรือ ฯ ล ฯ สัญญา
เป็นบุคคลหรือ ฯ ล ฯ บุคคลในสัญญาหรือ ฯ ล ฯ บุคคลอื่นจากสัญญา
หรือ ฯ ล ฯ สัญญาในบุคคลหรือ ฯ ล ฯ สังขารเป็นบุคคลหรือ ฯ ล ฯ
บุคคลในสังขารหรือ ฯ ล ฯ บุคคลอื่นจากสังขารหรือ ฯ ล ฯ สังขาร
ในบุคคลหรือ ฯ ล ฯ วิญญาณเป็นบุคคลหรือ ฯ ล ฯ วิญญาณในบุคคล
หรือ ฯ ล ฯ บุคคลในวิญญาณหรือ ฯ ล ฯ หรือ ฯ ล ฯ บุคคลอื่นจาก
วิญญาณหรือ ฯ ล ฯ บุคคลอื่นจากวิญญาณหรือ ฯ ล ฯ วิญญาณใน
บุคคลหรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.
ป. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะ

ท่านจึงต้องกล่าวว่า วิญญาณในบุคคล ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึง
กล่าวได้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อ
กูลตน มีอยู่
แต่ไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณในบุคคล ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่
พึงกล่าวว่า วิญญาณในบุคคล ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระผู้มีภาคเจ้าได้ตรัส
ไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า
พึงกล่าวได้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อ
กูลตน มีอยู่
แต่ไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณในบุคคล ดังนี้ ผิด ฯ ล ฯ
[58] ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ
เพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ ดังนี้ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. จักขายตนะเป็นบุคคลหรือ ฯ ล ฯ บุคคลในจักขาย-
ตนะหรือ ฯ ล ฯ บุคคลอื่นจากจักขายตนะหรือ ฯ ล ฯ จักขายตนะใน
บุคคลหรือ ฯ ล ฯ ธัมมายตนะเป็นบุคคลหรือ ฯ ล ฯ บุคคลในธัมมา-
ยตนะหรือ ฯ ล ฯ บุคคลอื่นจากธัมมายตนะหรือ ฯ ล ฯ ธัมมายตนะใน
บุคคลหรือ ฯ ล ฯ จักขุธาตุเป็นบุคคลหรือ ฯ ล ฯ บุคคลในจักขุธาตุ
หรือ ฯ ล ฯ บุคคลอื่นจากจักขุธาตุหรือ ฯ ล ฯ จักขุธาตุในบุคคลหรือ ฯ ล ฯ
ธัมมธาตุเป็นบุคคลหรือ ฯ ล ฯ บุคคลในธัมมธาตุหรือ ฯ ล ฯ บุคคลอื่นจาก
ธัมมธาตุหรือ ฯ ล ฯ ธัมมธาตุในบุคคลหรือ ? ฯ ล ฯ

[59] ...จักขุนทรีย์เป็นบุคคลหรือ ฯ ล ฯ บุคคลในจักขุน-
ทรีย์หรือ ฯ ล ฯ บุคคลอื่นจากจักขุนทรีย์หรือ ฯ ล ฯ จักขุนทรีย์ใน
บุคคลหรือ ฯ ล ฯ อัญญาตาวินทรีย์เป็นบุคคลหรือ ฯ ล ฯ บุคคลในอัญญา-
ตาวินทรีย์หรือ ฯ ล ฯ บุคคลอื่นจากอัญญาตาวินทรีย์หรือ ฯ ล ฯ อัญญา-
ตาวินทรีย์ในบุคคลหรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.
ป. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม, หากว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะ
ท่านจึงต้องกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์ในบุคคล, ที่ท่านกล่าวในปัญหา
นั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ
เพื่อเกื้อกูลตน
มีอยู่ แต่ไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์ในบุคคล
ดังนี้ ผิด, แต่ไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์ในบุคคล ก็ต้องไม่กล่าวว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่
ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส
ไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ แต่ไม่พึงกล่าวว่า อัญญา-
ตาวินทรีย์ในบุคคล ดังนี้ ผิด ฯ ล ฯ
จตุกกนยสังสันทนา จบ
และ
สังสันทนากถา จบ
1. สังสันทนากถา คือ เรื่องเปรียบเทียบในเรื่องบุคคลมี 3 คือ ก.
สุทธิกสังสันทนา ข. โอปัมมสังสันทนา ค. จตุกกนยสังสันทนา.

อรรถกถาจตุกกนย*สังสันทนา


ว่าด้วยการเทียบเคียงโดยนัยแห่งจตุกกะ


บัดนี้ คำใดที่ปรวาทีหยั่งเห็นโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะในบรรดา
สัจฉิกัตถปรมัตถะ 57 อย่าง มีรูปเป็นต้น โดยอาศัยแล้วซึ่งรูปเป็นต้น
หรือเว้นจากรูปเป็นต้น หรือกำลังอาศัยรูปเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น
พึงมีเหตุใด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเริ่มการเทียบเคียงสัจฉิภัตถะโดย
จตุกกนัย คือโดยนัยแห่งหมวด 4 นี้.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า " รูปเป็นบุคคลหรือ" เป็นคำซักถาม
ของสกวาที ฯ คำปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น เป็นของปรวาที
เพราะกลัวจะถูกกล่าวหาว่าเป็นอุจเฉททิฏฐิ. การยกนิคคหะขึ้นเป็นของ
สกวาที แม้ท่านกล่าวว่า ก็ข้อนั้นถูกต้องแล้วหรือ นั่นเป็นรูปเป็น
เวทนามิใช่หรือ ดังนี้ ท่านปฏิเสธทั้งสิ้น. อนึ่งคำนั้น ท่านพึงปฏิเสธ
โดยรับว่าบุคคลเป็นอย่างหนึ่ง ไม่ใช่รูปไม่ใช่เวทนา แต่ไม่นอกจากรูป
และเวทนาก็ปรวาทีนี้ ไม่ปรารถนาความเป็นอย่างอื่นของบุคคลแม้แต่
* คำว่า จตุกกนยะ ได้แก่โดยนัยแห่งหมวด 4 เช่น.- 1. รูปเป็น
บุคคลหรือ 2. บุคคลในรูปหรือ 3. บุคคลนอกจากรูปหรือ 4. รูปในบุคคล
หรือ. ปัญหาเช่นนี้ท่านเรียกว่า สักกายทิฏฐิปัญหา เพื่อให้เห็นสภาพตามความ
เป็นจริงว่า การยึดว่าเป็นบุคคล เป็นอัตตาเป็นสัตว์มีมากมาย เมื่อท่านซักถาม
เนื้อความนี้แต่ละข้อก็จะปรากฏทีเดียวว่าไม่มีบุคคลหรืออัตตาอย่างที่ยึดถือ
นั้นเลย เป็นแต่สภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น.