เมนู

อรรถกถาผลญาณกถา


ว่าด้วยผลญาณ


บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องผลญาณ คือความรู้ในผล. ในเรื่องนั้น ชน
เหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า ผลญาณอัน
สัตว์นั้น ๆ พึงบรรลุแม้ของพระสาวกทั้งหลาย ดุจของพระพุทธเจ้าทั้ง
หลายโดยสามัญนี้ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ดี พระสาวกทั้งหลายก็ดี ย่อม
แสดงธรรมเพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยผลของสัตว์ทั้งหลาย ดังนี้ พระ-
สกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น จึงถามว่า พระสาวกมีความรู้ในผล
เป็นต้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อท้วง
ปรวาทีนั้นด้วยคำว่า ผิว่า ผลญาณของพระสาวกมีอยู่เหมือนพระพุทธเจ้า
ไซร้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงบัญญัติการทำผลในโสดาปัตติผล
แม้มีอยู่ว่า พระโสดาบันรูปนี้เป็นเอกพีชี รูปนี้เป็นโกลังโกละ รูปนี้
เป็นสัตตักขัตตุปรมะได้ด้วยญาณพละของพระองค์ ฉันใด แม้พระสาวก
ตามลัทธิของท่านก็บัญญัติการทำผลเช่นนั้นหรือ ดังนี้ จึงกล่าวว่า
พระสาวกประกาศคุณสมบัติแห่งผลได้หรือ ปรวาทีย่อมตอบ
ปฏิเสธ. คำว่า การรู้ความยิ่งความหย่อนแห่งผลของพระสาวกมี
อยู่หรือ
เป็นต้น สกวาทีกล่าว เพื่อถามถึงปัจจัยเพราะผลญาณมีปัจจัย
ของผลก็ต้องมี ดังนี้.
ในปัญหานั้นอธิบายว่า ผลทั้งหลายอันบัณฑิตนับพร้อมแล้วว่า
การรู้ความสูงและต่ำแห่งผลทั้งหลายของพระพุทธเจ้าทั้งหลายอย่างนี้ว่า

สภาวะนี้เป็นผลอันนี้ สภาวะนี้เป็นผลอันอื่น สภาวะนี้เป็นผลที่
ปราศจากไปแล้ว ดังนี้ ชื่อว่า ปโรปริยัตติ หรือผลปโรปริยัตติ การ
รู้ความยิ่งความหย่อนแห่งผล อินทริยปโรปริยัตติและปุคคลปโรปริ-
ยัตติ ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็มีอยู่โดยทำนองนั้น พระพุทธเจ้าทั้ง
หลายย่อมรู้ซึ่งผลนั้น ๆ ด้วยความสามารถแห่งการรู้บุคคลนั้น ๆ หรือว่า
ด้วยความสามารถแห่งการรู้อินทรีย์เหล่านั้น เพราะความที่ญาณเหล่า
นั้นมีอยู่ ปโรปริยัตติญาณทั้งหลายเหล่านี้ แม้ของพระสาวกมีอยู่หรือ.
คำทั้งหลาย แม้มีคำว่า การบัญญัติขันธ์ของพระสาวกมีหรือ
เป็นต้น สกวาทีกล่าวแล้วก็เพื่อท้วงว่า ผิว่า ผลญาณของพระสาวกมีอยู่
เหมือนของพระพุทธเจ้าไซร้ พระสาวกก็พึงบัญญัติธรรมเหล่านี้ได้
บัญญัติเหล่านี้ของพระสาวกย่อมมี พระสาวกย่อมอาจเพื่อรู้ หรือเพื่อ
บัญญัติซึ่งบัญญัติเหล่านี้ด้วยกำลังของตนหรือ ดังนี้. คำว่า พระสาวก
เป็นพระชินะ
เป็นต้น สกวาทีกล่าว เพื่อท้วงว่า ผิว่า ผลญาณ
ของพระสาวกมีเหมือนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ไซร้ เมื่อความเป็น
เช่นนั้นมีอยู่ พระสาวกนั้นนั่นแหละก็เป็นพระชินพุทธเจ้า. แม้ใน
ปัญหาว่า พระสาวกเป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เป็นต้น
ก็นัยนี้เหมือนกัน. ในปัญหาว่า พระสาวกเป็นผู้ไม่มีความรู้หรือ
สกวาทีตอบปฏิเสธ เพราะว่าความไม่รู้คืออวิชชาอันพระสาวกขจัดได้
แล้ว แต่ว่าผลญาณของพระสาวกมีอยู่เหมือนพระพุทธเจ้าก็หาไม่ เพราะ
ฉะนั้น วาทะ คือลัทธิ ของปรวาที จึงเป็นการตั้งอยู่ไม่ได้เลยดังนี้แล.
อรรถกถาผลญาณกถา จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ


1. วิมุตตกถา 2. อเสกขญาณกถา 3. วิปรีตกถา 4. นิยามกถา
5. ปฏิสัมภิทากถา 6. สัมมติญาณกถา 7. จิตตาสัมมณกถา
8. อนาคตญาณกถา 9. ปัจจุปันนญาณกถา 10. ผลญาณกถา.
วรรคที่ 5 จบ

รวมวรรคที่มีในปัณณาสก์นี้


1. วรรคที่ 1 2. วรรคที่ 2 3. วรรคที่ 3. 4. วรรคที่ 4
5. วรรคที่ 5
มหาปัณณาสก์ จบ
กถาวัตถุภาคที่ 1 จบ