เมนู

จิตตารัมมณกถา


[1065] สกวาที ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น มีจิตเป็น
อารมณ์เท่านั้น ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์
หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. มีบางคน เมื่อจิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีราคะ
มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า มีบางคนเมื่อจิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตมี
ราคะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น มีจิตเป็น
อารมณ์เท่านั้น ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์.
ส. มีบางคน เมื่อจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิต
ปราศจากราคะ ฯ ล ฯ เมื่อจิตมีโทสะ ฯ ล ฯ เมื่อจิตปราศจากโทสะ เมื่อ
จิตมีโมหะ เมื่อจิตปราศจากโมหะ เมื่อจิตหดหู่ เมื่อจิตกวัดแกว่ง เมื่อ
จิตใหญ่ เมื่อจิตไม่ใหญ่ เมื่อจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า เมื่อจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
เมื่อจิตเป็นสมาธิ เมื่อจิตไม่เป็นสมาธิ เมื่อจิตหลุด ฯ ล ฯ เมื่อจิตยังไม่
หลุด ก็รู้ชัดว่าจิตยังไม่หลุด มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า มีบางคนเมื่อจิตยังไม่หลุด ก็รู้ชัดว่า

จิตยังไม่หลุด ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น มีจิต
เป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์.
[1066] ส. ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น พึงกล่าวว่า
ความรู้ในอารมณ์ คือ ผัสสะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น พึง
กล่าวว่า ความรู้ในอารมณ์ คือ ผัสสะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความรู้ในการ
กำหนดรู้ใจผู้อื่น มีจิตเป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์.
ส. ความรู้ในการกำหนดใจผู้อื่น พึงกล่าวว่า ความ
รู้ในอารมณ์คือเวทนา ฯ ล ฯ ว่าความรู้ในอารมณ์คือสัญญา ว่าความ
รู้ในอารมณ์คือเจตนา ว่าความรู้ในอารมณ์คือจิต ว่าความรู้ในอารมณ์
คือศรัทธา ว่าความรู้ในอารมณ์คือวิริยะ ว่าความรู้ในอารมณ์คือสติ
ว่าความรู้ในอารมณ์คือสมาธิ ว่าความรู้ในอารมณ์คือปัญญา ฯลฯ ว่า
ความรู้ในอารมณ์คือราคะ ฯลฯ ว่าความรู้ในอารมณ์คือโทสะ ฯ ล ฯ ว่า
ความรู้ในอารมณ์คืออโนตตัปปะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น พึง
กล่าวว่า ความรู้ในอารมณ์คืออโนตตัปปะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความรู้
ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น มีจิตเป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่มีธรรมอื่นเป็น
อารมณ์.

[1067] ส. ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น ไม่พึงกล่าวว่า
ความรู้ในอารมณ์ คือ ผัสสะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นความรู้ในการกำหนดรู้ผัสสะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น ไม่พึงกล่าวว่า
ความรู้ในอารมณ์คือเวทนา ฯ ล ฯ ว่าความรู้ในอารมณ์คือสัญญา ฯลฯ
ว่าความรู้ในอารมณ์คืออโนตตัปปะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นความรู้ในการกำหนดรู้อโนตตัปปะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[1068] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น
มีจิตเป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่มีธรรมอื่นเป็น
อารมณ์ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. เป็นความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า เป็นความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น ด้วย
เหตุนั้นนะท่าน จึงต้องกล่าวว่าความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น มีจิต
เป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์.
จิตตารัมมณกถา จบ

อรรถกถาจิตตารัมมณกถา


ว่าด้วยญาณมีจิตเป็นอารมณ์


บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องญาณมีจิตเป็นอารมณ์. ในเรื่องนั้น ชน
เหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า ญาณนั้น
มีจิตเป็นอารมณ์อย่างเดียวเท่านั้น เพราะถือเอาเหตุสักแต่คำว่า เจโต-
ปริยญาณ ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น. ดังนี้ คำถามของสกวาที
หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาที
เพื่อท้วงด้วยคำว่า บุคคลใดย่อมรู้จิตของผู้อื่นด้วยสามารถแห่งจิตมี
ราคะเป็นต้น แม้ราคะเป็นต้นก็ย่อมเป็นอารมณ์ของผู้นั้น เพราะฉะนั้น
ท่านไม่พึงกล่าวว่า ญาณนั้นมีจิตเป็นอารมณ์เพียงอย่างเดียวไม่มีอย่าง
อื่นเป็นอารมณ์ ดังนี้ จึงเริ่มคำว่า มีบางคนเมื่อจิตมีราคะก็รู้ชัด
ว่าจิตมีราคะมิใช่หรือ.
คำว่า ในอารมณ์คือผัสสะ ได้แก่
ในอารมณ์กล่าวคือผัสสะ แม้ในคำทั้งหลายมีคำว่า ในอารมณ์คือ
เวทนา
เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ.
ถูกสกวาทีถามอีกว่า ไม่พึงกล่าวว่า ความรู้ในอารมณ์ คือ
ผัสสะหรือ
อีก ปรวาทีตอบรับรองด้วยคำว่า เมื่อมนสิการซึ่งผุสน-
ลักขณะของผัสสะ ย่อมเป็นอารมณ์ของผัสสะ ดังนี้. ถูกสกวาทีถาม
ว่า เป็นความรู้ในภารกำหนดรู้ผัสสะหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธ
เพราะความไม่มีบทพระสูตรเช่นนั้น. แม้ในเวทนาเป็นต้นก็นัยนี้.