เมนู

ป. หากว่า บุคคลผู้ให้อยู่ซึ่งคิลานปัจจยเภสัชชบริ-
ขาร มีญาณและคิลานปัจจยเภสัชชบริขารเป็นสมมติสัจจะ ด้วยเหตุนั้น
นะท่านจึงต้องกล่าวว่า ญาณในสมมติมีสัจจะเป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่มี
ธรรมอื่นเป็นอารมณ์.
[1064] ส. ญาณในสมมติ มีสัจจะเป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่
มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กำหนดรู้ทุกข์ได้ ละสมุทัยได้ กระทำนิโรธ
ให้แจ้งได้ ยังมรรคให้เกิดได้ด้วยญาณนั้น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
สัมมติญาณกถา จบ

อรรถกถาสัมมติญาณกถา


ว่าด้วยสมมติญาณ


บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องสมมติญาณ คือญาณในสมมติ. ในเรื่องนั้น
สัจจะมี 2 คือสมมติสัจจะ และปรมัตถสัจจะ. ก็บุคคลเหล่าใดไม่ทำการ
แยกสัจจะอย่างนี้ ย่อมกล่าวแม้ซึ่งสมมติญาณว่ามีสัจจะเป็นอารมณ์นั่น
เทียว ด้วยการกล่าวอ้างคำว่า สัจจะ ดุจลัทธิของนิกายอันธกะ
ทั้งหลาย สกวาทีจึงเริ่มคำนี้ เพื่อชำระล้างวาทะของชนเหล่านั้นว่า

พวกเขาเหล่านั้นมีวาทะไม่ถูกต้อง. ในคำเหล่านั้น คำถามว่า ไม่
พึงกล่าว
เป็นของปรวาที. คำตอบรับรองเป็นของสกวาที หมาย
เอาปรมัตถสัจจะ. คำว่า ญาณในสมมติสัจจะ ได้แก่ ญาณใน
สัจจะที่เข้าไปอาศัยคำสมมติ อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ญาณในสมมติ-
สัจจะ
เป็นสัตตมีวิภัตติใช้ในอรรถแห่งปฐมาวิภัตติ อธิบายว่า ได้แก่
สมมติสัจจะ. คำถามของสกวาทีว่า ญาณในสมมติมีสัจจะเป็น
อารมณ์เท่านั้น ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์
คำตอบรับรองเป็นของ
ปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อจะท้วงด้วยคำวำ ถ้าญาณในสมมติ
นั้นมีสัจจะเป็นอารมณ์โดยไม่แปลกกัน บุคคลก็พึงทำกิจทั้งหลายมีการ
กำหนดรู้ทุกข์ เป็นต้นด้วยญาณนั้นได้ ดังนี้ จึงกล่าวคำว่า กำ-
หนดรู้ทุกข์ได้ ฯลฯ ด้วยญาณนั้นหรือ
ดังนี้.
อรรถกถาสมมติญาณกถา จบ

จิตตารัมมณกถา


[1065] สกวาที ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น มีจิตเป็น
อารมณ์เท่านั้น ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์
หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. มีบางคน เมื่อจิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีราคะ
มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า มีบางคนเมื่อจิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตมี
ราคะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น มีจิตเป็น
อารมณ์เท่านั้น ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์.
ส. มีบางคน เมื่อจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิต
ปราศจากราคะ ฯ ล ฯ เมื่อจิตมีโทสะ ฯ ล ฯ เมื่อจิตปราศจากโทสะ เมื่อ
จิตมีโมหะ เมื่อจิตปราศจากโมหะ เมื่อจิตหดหู่ เมื่อจิตกวัดแกว่ง เมื่อ
จิตใหญ่ เมื่อจิตไม่ใหญ่ เมื่อจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า เมื่อจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
เมื่อจิตเป็นสมาธิ เมื่อจิตไม่เป็นสมาธิ เมื่อจิตหลุด ฯ ล ฯ เมื่อจิตยังไม่
หลุด ก็รู้ชัดว่าจิตยังไม่หลุด มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า มีบางคนเมื่อจิตยังไม่หลุด ก็รู้ชัดว่า