เมนู

สัมมติญาณกถา


[1062] ปรวาที ไม่พึงกล่าวว่า ญาณให้สมมติ มีสัจจะ
เป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่มีธรรมอื่นเป็น
อารมณ์ หรือ ?
สกวาที ถูกแล้ว.
ป. บุคคลผู้เข้าสมาบัติปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ มี
ญาณ และปฐวีกสิณเป็นสมมติสัจจะ มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า บุคคลผู้เข้าสมาบัติมีปฐวีกสิณเป็น
อารมณ์ มีญาณ และปฐวีกสิณเป็นสมมติสัจจะ ด้วยเหตุนั้นนะท่าน
จึงต้องกล่าวว่า ญาณในสมมติมีสัจจะเป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่มีธรรมอื่น
เป็นอารมณ์.
[1063] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ญาณในสมมติ มีสัจจะเป็นอา-
รมณ์เท่านั้น ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. บุคคลผู้เข้าสมาบัติมีอาโปกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ บุคคลผู้ให้อยู่ซึ่งคิลานปัจจยเภสัชชบริ-
ขาร มีญาณและคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารเป็นสมมติสัจจะ มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า บุคคลผู้ให้อยู่ซึ่งคิลานปัจจยเภสัชชบริ-
ขาร มีญาณและคิลานปัจจยเภสัชชบริขารเป็นสมมติสัจจะ ด้วยเหตุนั้น
นะท่านจึงต้องกล่าวว่า ญาณในสมมติมีสัจจะเป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่มี
ธรรมอื่นเป็นอารมณ์.
[1064] ส. ญาณในสมมติ มีสัจจะเป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่
มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กำหนดรู้ทุกข์ได้ ละสมุทัยได้ กระทำนิโรธ
ให้แจ้งได้ ยังมรรคให้เกิดได้ด้วยญาณนั้น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
สัมมติญาณกถา จบ

อรรถกถาสัมมติญาณกถา


ว่าด้วยสมมติญาณ


บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องสมมติญาณ คือญาณในสมมติ. ในเรื่องนั้น
สัจจะมี 2 คือสมมติสัจจะ และปรมัตถสัจจะ. ก็บุคคลเหล่าใดไม่ทำการ
แยกสัจจะอย่างนี้ ย่อมกล่าวแม้ซึ่งสมมติญาณว่ามีสัจจะเป็นอารมณ์นั่น
เทียว ด้วยการกล่าวอ้างคำว่า สัจจะ ดุจลัทธิของนิกายอันธกะ
ทั้งหลาย สกวาทีจึงเริ่มคำนี้ เพื่อชำระล้างวาทะของชนเหล่านั้นว่า