เมนู

นิยาโมกกันติกถา


[969] สกวาที พระโพธิสัตว์ได้หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน
คืออริยมรรค มีพรหมจรรย์อันประพฤติ
แล้ว ในศาสนาของ พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่ากัสสปะ หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. พระโพธิสัตว์เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่า กัสสปะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[970] ส. พระโพธิสัตว์เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่า กัสสปะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นสาวกแล้ว จึงเป็นพระพุทธเจ้า หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[971] ส. เป็นสาวกแล้ว จึงเป็นพระพุทธเจ้า หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยการฟังตาม หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[972] ส. เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยการฟังตาม หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระสยัมภู หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระสยัมภู ก็ต้องไม่
กล่าวว่า เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยการฟังตาม.
[973] ส. พระโพธิสัตว์ ได้หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน มี
พรหมจรรย์อันประพฤติแล้วในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนาม
ว่า กัสสปะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสรู้สามัญญผลอีก 3
เท่านั้น ณ ควงไม้โพธิ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[974] ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสรู้สามัญญผลทั้ง 4 ณ
ควงไม้โพธิ มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสรู้สามัญญผล
ทั้ง 4 ณ ควงไม้โพธิ์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระโพธิสัตว์ได้หยั่งลงสู่ทาง
อันแน่นอน มีพรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนาของพระผู้มี
พระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสปะ.

[975] ส. พระโพธิสัตว์ ได้หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน มี
พรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนาม
ว่า กัสสปะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระโพธิสัตว์ได้กระทำทุกกรกิริยา หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ พึงกระทำทุกกร-
กิริยา หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[976] ส. พระโพธิสัตว์ ได้กระทำความเพียรอย่างอื่นได้
นับถือศาสดาอื่น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้เข้าถึงพร้อมด้วยทัสสนะ พึงนับถือ
ศาสดาอื่น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[977] ส. ท่านพระอานนท์ได้หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน มี
พรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่าน
พระอานนท์เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระโพธิสัตว์ ได้หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน มี

พรหมจรรย์อันประพฤติแล้วในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม
ว่า กัสสปะ พระโพธิสัตว์เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า
กัสสปะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[978] ส. ท่านจิตตคฤหบดี ท่านหัตถกะ ชาวเมืองอาฬวี
ได้หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน มีพรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนา
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านจิตตคฤหบดี ท่านหัตถกะ ชาวเมืองอาฬวี
เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระโพธิสัตว์ ได้หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน มี
พรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระ-
นามว่า กัสสปะ พระโพธิสัตว์เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระ-
นามว่า กัสสปะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[979] ส. พระโพธิสัตว์ ได้หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน มี
พรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระ-
นามว่า กัสสปะ แต่ไม่เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า
กัสสปะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ท่านพระอานนท์ ได้หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน
มีพรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่

ไม่เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[980] ส. พระโพธิสัตว์ ได้หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน มี
พรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระ-
นามว่า กัสสปะ แต่ไม่เจตนสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า
กัสสปะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ท่านจิตตคฤหบดี ท่านหัตถกะ ชาวเมืองอาฬวี
ได้หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน มีพรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนา
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ไม่เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[981] ส. พระโพธิสัตว์ ได้หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน มี
พรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระ-
นามว่า กัสสปะ แต่ไม่เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า
กัสสปะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นสาวก ครั้นล่วงชาติ 1 ไปแล้ว กลับเป็น
ผู้มีใช่สาวก หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[982] ป. ไม่พึงกล่าวว่า พระโพธิสัตว์ได้หยั่งลงสู่ทางอัน

แน่นอน มีพรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนาของพระผู้มีพระภาค-
เจ้า พระนามว่า กัสสปะ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อน
อานนท์ เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่า กัสสปะ เพื่อความตรัสรู้ต่อไป
ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่
จริง มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ถ้าอย่างนั้น พระโพธิสัตว์ ก็ได้หยั่งลงสู่ทาง
อันแน่นอน มีพรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนาของพระผู้มี
พระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสปะ น่ะสิ.
[983] ส. พระโพธิสัตว์ ได้หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน มี
พรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระ-
นามว่า กัสสปะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า:-
เราเป็นผู้ครอบงำเสียซึ่งธรรมทั้งปวง เป็นผู้รู้แจ้งธรรม
ทั้งปวง ไม่ติดแล้วในธรรมทั้งปวง ละเสียซึ่งโลกิยธรรมทั้งปวง
หลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นไปแห่งตัณหาเรารู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว
จะพึงอ้างศาสดาไรเล่า อาจารย์ของเราไม่มี ผู้ที่จะเสมอด้วยเรา

ก็ไม่มี เราไม่มีบุคคลเปรียบในโลกนี้ กับทั้งเทวโลก เพราะเรา
เป็นพระอรหันต์ในโลก เราเป็นศาสดาที่ไม่มีศาสดาอื่นยิ่งกว่า
เราผู้เดียวเป็นสัมมาสัมพุทธะ เป็นผู้เย็นแล้ว เป็นผู้ดับแล้ว
เราจะไปยังเนื่องแห่งชาวกาสี เพื่อยังธรรมจักรให้เป็นไป เราจัก
ได้ตีอมตเภรี ให้บรรลือขึ้นในโลกอันมืดนี้ อุปกาชีวกกล่าวว่า
อาวุโสตามที่ท่านปฏิญาณนั้นแล ท่านที่ควรเป็นอนันตชิน พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า คนเช่นเรานี่แล ที่ถึงแล้วซึ่งความสิ้น
อาสวะ เป็นผู้ชื่อว่า ชินะ ดูก่อนอุปกะ เราชนะบาปธรรมทั้ง
หลายแล้ว เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่า ชินะ
ดังนี้1 เป็นสูตรมี
อยู่จริง มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า พระโพธิสัตว์ได้
หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน มีพรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสปะ น่ะสิ
[984] ส. พระโพธิสัตว์ ได้หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน มี
พรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระ-
นามว่า กัสสปะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
1. ม.ม. 13/513.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย จักษุญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้ว
แก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่มีได้สดับมาแล้วในกาลก่อนว่า นี้ทุกข-
อริยสัจ ดังนี้ อนึ่งเล่า จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้ว
แก่เรา ในธรรมทั้งหลาย ที่มิได้สดับมาแล้วในกาลก่อนว่า ทุกข-
อริยสัจนี้นั้น อันเราพึงกำหนดรู้ ดังนี้ ฯลฯ ว่าทุกขอริยสัจนี้นั้น
อันเราได้กำหนดรู้แล้ว ดังนั้น ฯ ล ฯ ว่านี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ
ดังนี้ ฯ ล ฯ ว่าทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้น อันเราพึงละเสีย ดังนี้
ฯ ล ฯ ว่าทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้น อันเราละได้แล้ว ดังนี้ ฯ ล ฯ
ว่านี้ทุกขนิโรธอริยสัจ ดังนี้ ฯ ล ฯ ว่าทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้น
อันเราพึงทำให้แจ้ง ดังนี้ ฯ ล ฯ ว่าทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้น อัน
เราได้ทำให้แจ้งแล้ว ดังนี้ ฯ ล ฯ ว่านี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
อริยสัจดังนี้ ฯ ล ฯ ว่าทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้น อัน
เราพึงให้เกิด ดังนี้ อนึ่งเล่า จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา
แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้
สดับมาแล้วมนกาลก่อน ว่าทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้น
อันเราให้เกิดแล้ว
ดังนี้1 เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
1. วิ.มหา. 4/15., สํ. มหา. 19/1666.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า พระโพธิสัตว์
ได้หยั่งละทางอันแน่นอน มีพรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนา
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสปะ.
นิยาโมกกันติกถา จบ

อรรถกถานิยาโมกกันติกถา1


ว่าด้วยการหยั่งลงสู่นิยาม


บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องการหยั่งลงสู่นิยาม การหยั่งลงสู่ทางอันแน่-
นอนคืออริยมรรค. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิ
ของนิกายอันธกะทั้งหลายในขณะนี้ว่า พระโพธิสัตว์มีนิยามอันหยั่ง
ลงแล้ว มีพรหมจรรย์อันประพฤติแล้วในพระธรรมวินัยของพระผู้มี
พระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะหมายเอาการ
บรรพชาของโชติปาละในฆฏิการสูตรสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้นจึงถาม
ด้วยคำว่า พระโพธิสัตว์ เป็นต้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที
เพราะตั้งอยู่ในลัทธิ. เนื้อความจากนั้น คำว่า นิยาม คือทางอัน
แน่นอนก็ดี พรหมจรรย์ก็ดี เป็นชื่อของอริยมรรค.
อนึ่ง
ยกเว้นการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์เสียแล้ว ชื่อว่าการหยั่งลงสู่
นิยามอย่างหนึ่งย่อมไม่มี ถ้าพระโพธิสัตว์พึงเป็นพระโสดาบัน พึงเป็น
1. คำว่า "นิยาโมกฺกนฺติ" แยกเป็น นิยามํ ได้แก่ อริยมรรค โอกฺกนฺติ ได้แก่
การหยั่งลง.