เมนู

อรรถกถาอนาสวกถา


ว่าด้วยอนาสวะ


บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องอนาสวะ คือ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ 1.
ในเรื่องนั้นชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะ
ทั้งหลาย ในขณะนี้ว่า ธรรมเหล่าใด ของพระอรหันต์ผู้ไม่มีอาสวะ
ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ดังนี้ สกวาทีหมายถึงชน
เหล่านั้น จึงถามว่า ธรรมทั้งปวงของพระอรหันต์ เป็นต้น คำตอบ
รับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาที เพื่อท้วงว่า ธรรมทั้งหลาย
มีมรรคเป็นต้น ชื่อว่าไม่มีอาสวะ มีอยู่ ธรรมเหล่านั้นเท่านั้น ย่อม
เกิดแก่พระอรหันต์หรือ ? จึงเริ่มคำว่า ธรรมทั้งปวงเป็นมรรค เป็น
ผล เป็นต้น. ถูกสกวาทีถามว่า จักขุของพระอรหันต์ไม่เป็น
อารมณ์ของอาสวะหรือ
ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะความที่จักษุนั้น
เป็นอารมณ์ของอาสวะ. ถูกถามครั้งที่ 2 ปรวาทีตอบรับรองว่า จักขุ
ของพระอรหันต์ไม่เป็นอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ.
ในปัญหาว่าด้วย การให้จีวร ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะกลัวผิด
จากลักษณะแห่งปัญหานี้ว่า ธรรมอย่างหนึ่งเที่ยวไม่เป็นอาสวะ แต่
1. คำว่า "อาสวะ" คือ กิเลสเป็นเครื่องมักดองอยู่ในสันดานของสัตว์
มี 4 คือ 1. กามาสวะ 2. ภวาสวะ 3. ทิฏฐาสวะ 4. อวิชชาสวะ.
คำว่า "ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ" ได้แก่ โลกุตตรจิต 8 เจตสิก 36
นิพพาน.

เป็นอารมณ์ของอาสวะ. ถูกถามครั้งที่ 2 ปรวาทีตอบรับรองว่า จีวร
ของพระอรหันต์ไม่เป็นอาสวะ แต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ แม้ใน 2
ปัญหาว่า ของที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะอันนั้น ก็นัยนี้นั่น
แหละ. แต่สกวาทีย่อมท้วงเพราะการรับรองของปรวาทีในคำว่า ของ
ที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะอันนั้น ด้วยคำเป็นต้นว่า มรรคไม่
เป็นอารมณ์ของอาสวะ แล้วเป็นอารมณ์ของอาสวะหรือ.
พึง
ทราบเนื้อความในที่ทั้งปวงโดยอุบายนี้แล.
อรรถกถาอนาสวะกถา จบ

สมันนาคตกถา


[903] สกวาที พระอรหันต์ประกอบด้วยผล 4 หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ประกอบด้วยผัสสะ 4 ด้วยเวทนา 4
ด้วยปัญญา 4 ด้วยเจตนา 4 ด้วยจิต 4 ด้วยศรัทธา 4 ด้วยวิริยะ 4
ด้วยสติ 4 ด้วยสมาธิ 4 ด้วยปัญญา 4 หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[904] ส. พระอนาคามีประกอบด้วยผล 3 หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอนาคามีประกอบด้วยผัสสะ 3 ฯ ล ฯ ด้วย
ปัญญา 3 หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[905] ส. พระสกทาคามีประกอบด้วยผล 2 หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระสกทาคามีประกอบด้วยผัสสะ 2 ฯลฯ ด้วย
ปัญญา 2 หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[906] ส. พระอรหันต์ประกอบด้วยโสดาปัตติผล หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.