เมนู

[826] ส. ท่านพระสารีบุตร รู้ความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นไป
ตามกรรม หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ท่านพระสารีบุตรมีทิพยจักษุ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[827] ส. ท่านพระสารีบุตรมีทิพยจักษุ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวคำนี้ไว้ว่า การตั้ง
ความปรารถนา เพื่อปุพเพนิวาสญาณ ทิพพจักขุญาณ เจโต
ปริยญาณ อิทธิวิธิ ความหมดจดแห่งโสตธาตุ และจุตูปปาตญาณ
ของเราไม่มี
ดังนี้1 เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ยถากัมมูปคตญาณ
เป็นทิพยจักษุ ดังนี้.
ยถากัมมูปคตญาณกถา จบ

อรรถกถายถากัมมูปคตญาณกถา


ว่าด้วยยถากัมมูปคตญาณ


บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องยถากัมมูปคตญาณ ได้แก่ ญาณเป็นเครื่อง
รู้ความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นไปตามกรรม. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มี
1. ขุ.เถร. 26/396

ความเห็นว่า ยถากัมมูปคตญาณนั่นแหละเป็นทิพยจักขุ ดังนี้ เพราะ
ไม่พิจารณาถือเอาพระสูตรว่า ตถาคต ย่อมทรงรู้แจ้งซึ่งความที่สัตว์
ทั้งหลายผู้เป็นไปตามกรรม ฯ ล ฯ ด้วยทิพยจักขุอันบริสุทธิ์ด้วยประการ
ฉะนี้ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็น
ของปรวาที. ถูกสกวาทีถามอีกว่า ทำไว้ในใจซึ่งความที่สัตว์เป็น
ไปตามกรรมด้วย
ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะอารมณ์ 2 อย่างของจิต
ดวงเดียวกันไม่มี. ถูกถามครั้งที่ 2 ตอบรับรองด้วยสามารถแห่งจิตต่าง ๆ
สกวาทีไม่ให้โอกาสอันพลั้งพลาดของปรวาทีนั้น จึงถามอีกว่า เป็น
การประชุมแห่งผัสสะ 2 อย่าง
ปรวาทีตอบปฏิเสธ. พึงทราบ
เนื้อความในการประกอบบทยถากัมมูปคตนี้ฉันใด ก็พึงประกอบแม้ด้วย
บทว่า อิเม วต โภนฺโต สตฺตา แปลว่า สัตว์เหล่านี้หนอ ท่าน
ทั้งหลาย เป็นต้น ฉันนั้นนั่นแหละ. คำว่า ท่านพระสารีบุตรรู้
ความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นไปตามกรรมหรือ
ดังนี้ อธิบายว่า
พระสารีบุตรเถระย่อมไม่ใช้อภิญญาญาณทั้งหลาย เพราะความเป็นผู้
ปรารถนาน้อย แต่ชนบางพวกไม่รู้จิตสำคัญว่า อภิญญาญาณเหล่านั้น
ไม่มีแก่พระเถระเลย ดังนี้เหตุใด เพราะฉะนั้น ท่านสกวาทีจึงถาม
ปรวาทีผู้สำคัญว่า พระเถระไม่ได้ทิพพจักขุ ดังนี้. ด้วยเหตุนั้น
นั่นแหละ จึงถูกสกวาทีถามเนื้อความต่อไปว่า ท่านพระสารีบุตร
มีทิพพจักษุหรือ
ปรวาทีก็ตองปฏิเสธ. ถูกถามครั้งที่ 2 ก็ตอบ
รับรองว่า อภิญญาญาณอย่างไดอย่างหนึ่งที่พระสาวกพึงบรรลุแล้ว

ญาณนั้นทั้งหมด ท่านพระเถระบรรลุแล้วโดยลำดับ. บัดนี้ สกวาทีเมื่อ
จะให้ปรวาทีสับสน จึงกล่าวคำว่า ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้
ไว้ว่า การตั้งความปรารถนาเพื่อปุพเพนิวาสญาณ ทิพพจักขุญาณ
เจโตปริยญาณ อิทธิวิธ ความหมดจดแห่งโสตธาตุ และจุตูป-
ปาตญาณของเราไม่มี
ดังนี้ จริงอยู่ท่านกล่าวคาถานี้ก็เพราะไม่มี
ความปรารถนาจะใช้ ท่านมิได้กล่าวเพราะไม่มีอภิญญาญาณทั้งหลาย
มิใช่หรือ แต่ปรวาทีกำหนดเนื้อความพระสูตรว่า ความปรารถนาเพื่อ
ฯ ล ฯ ของเราไม่มีเท่านั้น
เพราะฉะนั้น จึงตอบรับรองตามลัทธิ
นั้นว่า พระเถระมีเพียงยถากัมมูปคตญาณ ไม่มีทิพพจักขุญาณ ด้วยเหตุ
นั้นนั่นแหละ สกวาทีจึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านก็ไม่พึงกล่าวว่า
ยถากัมมูปคตญาณเป็นทิพพจักขุ
ดังนี้แล.
อรรถกถายถากัมมูปคตญาณกถา จบ

สังวรกถา


[828] สกวาที ความสำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดา หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. ความไม่สำรวมก็มีอยู่ในหมู่เทวดา หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[829] ส. ความไม่สำรวมไม่มีในหมู่เทวดา หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความสำรวมก็ไม่มีในหมู่เทวดา หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[830] ส. ศีล คือความสำรวมจากความไม่สำรวม มิใช่
หรือ ความสำรวมมีอยู่ในหมู่ เทวดา หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ศีล คือความสำรวมจากความไม่สำรวมใด ความ
ไม่สำรวมนั้น ก็มีอยู่ในหมู่เทวดา หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่า ศีล คือความสำรวม
จากความไม่สำรวม ความสำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดา ด้วยเหตุนั้นนะ
ท่านจึงต้องกล่าวว่าศีล คือความสำรวมจากความไม่สำรวมใด ความไม่
สำรวมนั้นก็มีอยู่ในหมู่เทวดา, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้น พึงกล่าวได้
ว่า ศีล ความสำรวมจากความไม่สำรวม ความสำรวมมีอยู่ในหมู่-