เมนู

ยถากัมมูปคตญาณกถา


[820] สกวาที ยถากัมมูปคตญาณ คือ ญาณเป็นเครื่องรู้
ความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นไปตามกรรม เป็นทิพยจักษุ หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. ทำไว้ในใจซึ่งความที่สัตว์เป็นไปตามกรรมด้วย
เห็นรูปได้ด้วยทิพยจักษุด้วย หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[821] ส. ทำไว้ในใจซึ่งความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นไปตาม
กรรมด้วย เห็นรูปด้วยทิพยจักษุด้วย หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นการประชุมแห่งผัสสะ 2 อย่าง แห่งจิต
2 ดวง หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่างอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[822] ส. ยถากัมมูปคตญาน เป็นทิพยจักษุ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า สัตว์เหล่านี้หนอ ท่าน
ทั้งหลาย ดังนี้ด้วย ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า เป็นผู้ประกอบด้วยกาย
ทุจริต ดังนี้ด้วย ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า เป็นผู้ประกอบด้วยวจีทุจริต
ดังนี้ด้วย ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า เป็นผู้ประโยคกอบด้วยมโนทุจริต ดังนี้
ด้วย ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า เป็นผู้ติเตียนพระอริยะทั้งหลาย ดังนี้ด้วย

ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ดังนี้ด้วย ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า
สมาทานกรรมคือมิจฉาทิฏฐิ ดังนี้ด้วย ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า สัตว์
เหล่านั้นเข้าถึงแล้วซึ่งอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เบื้องหน้า แต่มรณะ
เพราะกายแตก ดังนี้ด้วย ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า ก็หรือสัตว์เหล่านี้
นะท่านทั้งหลาย ดังนี้ด้วย ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า เป็นผู้ประกอบด้วย
กายสุจริต ดังนี้ด้วย ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า เป็นผู้ประกอบด้วยวจีสุจริต
ดังนี้ด้วย ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า เป็นผู้ประกอบด้วยมโนสุจริต ดังนี้
ด้วย ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า เป็นผู้ไม่ติเตียนพระอริยะทั้งหลาย ดังนี้
ด้วย ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า เป็นสัมมาทิฏฐิ ดังนี้ด้วย ทำไว้ในใจ
ซึ่งบทว่า สมาทานกรรมคือสัมมาทิฏฐิ ดังนี้ด้วย ทำไว้ในใจซึ่ง
บทว่า สัตว์เหล่านั้นเข้า แล้วซึ่งสุคติ โลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่มรณะ
เพราะกายแตก ดังนี้ด้วย เห็นรูปด้วยทิพยจักษุด้วย หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[823] ส. ยถากัมมูปคตญาณเป็นทิพยจักษุ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า สัตว์เหล่านี้หนอ ท่าน
ทั้งหลาย" ดังนี้ด้วย ฯ ล ฯ ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า สัตว์เหล่านั้นได้
เข้าถึงแล้วซึ่งสุคติ โลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่มรณะ เพราะกายแตก
ดังนี้ด้วย เห็นรูปโดยทิพยจักษุด้วย หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นการประชุมแห่งผัสสะ 2 อย่าง แห่งจิต 2
ดวง หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[824] ส. ยถากัมมูปคตญาณเป็นทิพยจักษุ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลบางคน เป็นผู้ไม่มีทิพยจักษุ เป็นผู้ไม่ได้
เฉพาะแล้ว ไม่บรรลุแล้ว ไม่การทำให้แจ้งแล้วซึ่งทิพยจักษุ แต่รู้ความ
ที่สัตว์ทั้งหลายเป็นไปตามกรรมได้ มีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า บุคคลบางคน เป็นผู้ไม่มีทิพยจักษุ
เป็นผู้ไม่ได้เฉพาะแล้ว ไม่บรรลุแล้ว ไม่กระทำให้แจ้งแล้วซึ่งทิพยจักษุ
แต่รู้ความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นไปตามกรรมได้มีอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ยถา-
กัมมูปคตญาณเป็นทิพยจักษุ.
[825] ส. ยถากัมมูปคตญาณเป็นทิพยจักษุ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ท่านพระสารีบุตรรู้ความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นไป
ตามกรรม หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ท่านพระสารีบุตร รู้ความที่สัตว์ทั้งหลาย
เป็นไปตามกรรม ก็ต้องไม่กล่าวว่า ยถากัมมูปคตญาณเป็นทิพยจักษุ.

[826] ส. ท่านพระสารีบุตร รู้ความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นไป
ตามกรรม หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ท่านพระสารีบุตรมีทิพยจักษุ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[827] ส. ท่านพระสารีบุตรมีทิพยจักษุ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวคำนี้ไว้ว่า การตั้ง
ความปรารถนา เพื่อปุพเพนิวาสญาณ ทิพพจักขุญาณ เจโต
ปริยญาณ อิทธิวิธิ ความหมดจดแห่งโสตธาตุ และจุตูปปาตญาณ
ของเราไม่มี
ดังนี้1 เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ยถากัมมูปคตญาณ
เป็นทิพยจักษุ ดังนี้.
ยถากัมมูปคตญาณกถา จบ

อรรถกถายถากัมมูปคตญาณกถา


ว่าด้วยยถากัมมูปคตญาณ


บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องยถากัมมูปคตญาณ ได้แก่ ญาณเป็นเครื่อง
รู้ความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นไปตามกรรม. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มี
1. ขุ.เถร. 26/396