เมนู

ทิพยจักษุ ปัญญาจักษุ จักษุมี 3 อย่าง ฉะนี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นบุรุษผู้สูงสุดได้ตรัสจักษุ 3 อย่างนี้
คือ มังสจักษุ ทิพยจักษุ และปัญญาจักษุ อันยอดเยี่ยมไว้แล้ว
ความเกิดขึ้นแห่งมังสจักษุ เป็นทางแห่งทิพยจักษุ ก็เมื่อใด
ญาณ คือ ปัญญาจักษุ อันยอดเยี่ยมมาเกิดขึ้นแล้ว เมื่อนั้น ย่อม
พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ เพราะการได้จักษุนั้น
ดังนี้1 เป็นสูตร
มีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า จักษุมี 2 อย่าง
เท่านั้น.
ทิพยจักขุกถา จบ

อรรถกถาทิพยจักขุกถา


ว่าด้วยทิพพจักษุ


บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องทิพพจักขุ.2 ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความ
เห็นผิดดุจนิกายอันธกะและสมิติยะทั้งหลาย ในขณะนี้ว่า มังสจักขุ
1. ขุ. อิติ. 25/239.
2. จักษุ 3. คือ:- 1. มังสจักขุ ได้แก่ จักขุปสาท 2 ทิพพจักขุ ได้แก่
อภิญญาจิตตุปบาทที่เป็นทุติยวิชชาญาณ 3. ปัญญาจักขุ ได้แก่ อาสวักขยญาณ
(ในปกรณ์นี้หรือในขุททกนิกาย อิติวุตตกะ) จักขุ 5 คือ :- มังสจักขุ
ทิพพจักขุ ปัญญาจักขุ พุทธจักขุ สมันตจักขุ (ในขุททกนิกาย มหานิทเทส)

นั่นแหละ อันธรรม คือ จตุตถฌานอุปถัมภ์แล้ว ชื่อว่าเป็น ทิพพจักขุ
ดังนี้ สกวาทีหมายชนเหล่านั้น จึงถามปรวาทีว่า มังสจักขุ อัน-
ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพพจักขุหรือ
คำตอบรับรองเป็นของ
ปรวาที. ก็ถูกถามอีกว่า มังสจักขุก็คือทิพพจักขุ ทิพพจักขุก็คือ
มังสจักขุหรือ
ปรวาทีปฏิเสธว่า มังสจักขุนั้นก็เป็นเพียงมังสจักษุ
นั้นเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น. แม้ในคำถามทั้งหลายว่า มังสจักขุ
เป็นเช่นใด
เป็นต้น ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะความที่จักษุทั้ง 2
นั้น ไม่มีสภาพอย่างเดียวกัน. แม้ในปัญหามีคำว่า วิสัย เป็นต้น
ความว่า รูปายตนะนั่นแหละเป็นวิสัยแห่งจักษุแม้ทั้ง 2. อธิบายว่า
ก็มังสจักขุย่อมเห็นรูปอันมาสู่คลองแห่งจักษุเท่านั้น ส่วนทิพพจักขุนี้
ย่อมเห็นรูปอันไม่มาสู่คลองแห่งจักษุได้ แม้รูปนั้นจะมีภูเขากั้นไว้
เป็นต้น. อนึ่ง รูปแม้ละเอียดยิ่งนัก ก็เป็นโคจรคืออารมณ์ของทิพพจักขุ
ได้ แต่รูปเช่นนี้เป็นอารมณ์ของมังสจักขุไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น
อานุภาพ คือ อำนาจ และโคจร คือ อารมณ์ แห่งจักษุทั้ง 2
นี้ จึงไม่เหมือนกัน ด้วยประการฉะนี้. ถูกถามว่า เป็นอุปาทินนะ
คือเป็นกัมมชรูป แล้วเป็นอนุปาทนนะ คือมิใช่กัมมชรูป
หรือ ปรวาทีนั้น ย่อมปรารถนาว่า มังสจักขุเป็นอุปาทินนะ ส่วน
ทิพพจักขุเป็นอนุปาทินนะ ทั้งมังสจักขุนั้นและก็ไม่เป็นทิพพขุ เพราะ-
ฉะนั้นจึงตอบปฏิเสธ. ถูกถามครั้งที่ 2 ปรารถนา ทิพพจักขุย่อมเกิด
ขึ้นเพราะอาศัยมังสจักขุเป็นปัจจัย เพราะอาศัยพระบาลีว่า ความ
เกิดขึ้นแห่งมังสจักขุเป็นทางแห่งทิพพจักขุ ดังนี้ ทั้งมังสจักขุนั้นก็

เป็นความผ่องใสของมหาภูตรูปทั้ง 4 อันเป็นไปในรูปาวจร เพราะฉะนั้น
จึงตอบรับรอง. แม้ถูกถามว่า เป็นกามาวจร ปรวาที่ไม่ปรารถนา
ซึ่งมังสจักขุนั่นแหละเป็นทิพพจักขุ เหตุใด เพราะเหตุนั้น จึงตอบ
ปฏิเสธ. ถูกถามครั้งที่ 2 ก็ตอบรับรองว่า ธรรมดาว่า รูปาวจรเกิด
เพราะความที่มังสจักขุเกิดขึ้นแล้ว โดยมีรูปาวจรฌานเป็นปัจจัย. แม้
ถูกถามว่า เป็นรูปาวจรแล้วเป็นอรูปาวจรหรือ ต่อจากนี้ไป
ท่านตอบปฏิเสธ เพราะความไม่มีรูปาวจรจิต ในขณะแห่งอรูปาวจร
ด้วยการภาวนา. ถูกถามครั้งที่ 2 ก็ตอบรับรอง เพราะลัทธิว่า มังสจักขุ
นั้นเป็นสภาพผ่องใสของมหาภูตรูปทั้ง 4 อันเป็นปัจจัยให้อรูปาวจร
เกิดขึ้น ดังนี้ ก็แต่ปรวาทีนั้นไม่ปรารถนาความที่มังสจักขุนั้นเป็น
โลกุตตธรรม (อปริยาปันนะ) เพราะฉะนั้น จึงตอบปฏิเสธนั้นเทียว.
คำว่า ทิพพจักขุอันธรรมอุปถัมภ์แล้ว ได้แก่ เป็นธรรมกามาวจร
อุปถัมภ์แล้ว. คำว่า อันธรรมอุปถัมถ์แล้ว ได้แก่ เป็นธรรม คือ
โลกุตตรอุปถัมภ์แล้ว. ถูกถามว่า จักขุมี 2 อย่างเท่านั้นหรือ ปรวาที
ไม่ปรารถนาความที่ทิพพจักขุอันธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นปัญญาจักขุ แม้
ก็จริง ถ้าอย่างนั้น ก็ตอบปฏิเสธ เพราะความที่ปัญญาจักขุเป็นสภาพ
มีอยู่. ถูกถามอีก ก็ตอบรับรองด้วยสามารถแห่งลัทธิว่า มังสจักขุอัน
ธรรมอุปถัมภ์แล้วย่อมเป็นทิพพจักขุ ดังนี้ คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถง่าย
ทั้งนั้น แล.
อรรถกถาทิพพจักขุ จบ

ทิพพโสตกถา


[809] สกกวาที มังสโสต อันธรรมอุปถัมถ์แล้ว เป็น
ทิพยโสต หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. มังสโสต ก็คือทิพยโสต ทิพยโสต ก็คือ มังสโสต
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[810] ส. มังสโสต อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยโสต
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. มังสโสตเป็นเช่นใด ทิพยโสตก็เป็นเช่นนั้น
ทิพยโสตเป็นเช่นใด มังสโสตก็เป็นเช่นนั้น
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[811] ส. มังสโสต อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยโสต
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. มังสโสตอันนั้น ทิพยโสตก็อันนั้นแหละ ทิพย-
โสตอันนั้น มังสโสตก็อันนั้นแหละ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ