เมนู

สุทธิกสังสันทนา


[17] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่ง
เห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.
ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่าท่านหยั่งเห็นบุคคล
โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นรูป โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุ
นั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น, ที่ท่านกล่าว
ในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถ-
ปรมัตถะ ดุจหยั่งเป็นรูป โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูป
เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นอื่น
บุคคลก็เป็นอื่น ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถ-
ปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นรูป โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ. ที่ท่านกล่าวในปัญหา
นั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ
ดุจหยั่งเห็นรูป โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นอื่น
บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯ ล ฯ
[18] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่ง
เห็นเวทนา โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ฯล ฯ ดุจหยั่งเห็นสัญญา ฯลฯ
ยตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นธัมมายตนะ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ ฯ ล ฯ

ดุจหยั่งเห็นสังขาร ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. วิญญาณเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.
ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่าท่านหยั่งเห็นบุคคล
โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วย
เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า วิญญาณเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น,
ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ
ดุจหยั่งเห็นวิญญาณ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณ
เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณเป็นอื่น
บุคคลก็เป็นอื่น ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถ-
ปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ที่ท่านกล่าวใน
ปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถ-
ปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า
วิญญาณเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯ ล ฯ
[19] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจ
หยั่งเห็นจักขายตนะ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็น
โสตายตนะ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นฆานายตนะ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นชิวหายตนะ
ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นกายายตนะ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นรูปายตนะ ฯ ล ฯ ดุจ
หยั่งเห็นสัททายตนะ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นคันธายตนะ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็น
รสายตนะ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นโผฏฐัพพายตนะ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นมนา-

[20] . . .ดุจหยั่งเห็นจักขุธาตุ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ
ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นโสตธาตุ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นฆานธาตุ ฯ ล ฯ ดุจหยั่ง
เห็นชิวหาธาตุ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นกายธาตุ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นรูปธาตุ
ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นสัททธาตุ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นคันธธาตุ ฯ ล ฯ ดุจหยั่ง
เห็นรสธาตุ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นโผฏฐัพพธาตุ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นจักขุ
วิญญาณธาตุ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นโสตวิญญาณธาตุ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็น
ฆานวิญญาณธาตุ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นชิวหาวิญญาณธาตุ ฯ ล ฯ ดุจหยั่ง
เห็นกายวิญญาณธาตุ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นมโนธาตุ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็น
มโนวิญญาณธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นธัมมธาตุ ฯ ล ฯ โดยสัจฉิกัตถปมัตถะ
หรือ ฯ ล ฯ
[21] . . .ดุจหยั่งเห็นจักขุนทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ
ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นโสตินทรีย์ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นฆานินทรีย์ ฯ ล ฯ ดุจ
หยั่งเห็นชิวหินทรีย์ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นกายินทรีย์ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็น
มนินทรีย์ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นชีวิตินทรีย์ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นอิตถินทรีย์
ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นปุริสินทรีย์ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นสุขินทรีย์ ฯ ล ฯ ดุจ
หยั่งเห็นทุกขินทรีย์ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นโสมนัสสินทรีย์ ฯ ล ฯ ดุจหยั่ง
เห็นอุเปกขินทรีย์ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นสัทธินทรีย์ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็น
วิริยินทรีย์ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นสตินทรีย์ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นสมาธิ-
นทรีย์ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นปัญญินทรีย์ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นอนัญญาตัญ-
ญัสสามีตินทรีย์ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นอัญญินทรีย์ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็น
อัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว
ส. อัญญาตาวินทรีย์ เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.
ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่าท่านหยั่งเห็นบุคคล
โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ
ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็
เป็นอื่น, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็น
บุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิ-
กัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็น
อื่น ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็
เป็นอื่น ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ
ดุจหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหา
นั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจ
หยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกัถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า อัญ-
ญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่นดังนี้ ผิด ฯ ล ฯ
[22] ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ
เพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่
1 และท่านก็หยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ
หรือ ?
1. องฺ. จตุกก. 21/96. อภิ. ปุ. 36/10.

ส. ถูกแล้ว.
ป. รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.
ป. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม, หากว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และท่านก็หยั่ง
เห็นรูป โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า รูป
เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่
และข้าพเจ้าก็หยั่งเห็นรูป โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูป
เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นอื่น
บุคคลก็เป็นอื่น ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า
บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และข้าพเจ้าก็หยั่งเห็นรูปโดย
สัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และ
ข้าพเจ้าก็หยั่งเห็นรูป โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็น
อื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯ ล ฯ
ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ
เพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่
และท่านก็หยั่งเห็นเวทนา ฯ ล ฯ และท่านก็

หยั่งเห็นสัญญา ฯ ล ฯ และท่านก็หยั่งเห็นสังขาร ฯ ล ฯ และท่านก็
หยั่งเห็นวิญญาณ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?
ป. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และท่านก็หยั่ง
เห็นวิญญาณ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า
วิญญาณเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าว
ได้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน
มีอยู่ และข้าพเจ้าก็หยั่งเห็นวิญญาณ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึง
กล่าวว่า วิญญาณเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด. แต่ถ้าไม่พึงกล่าว
ว่า วิญญาณเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และข้าพเจ้า
ก็หยั่งเห็นวิญญาณ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้น พึง
กล่าวได้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อ
กูลตน มีอยู่
และข้าพเจ้าก็หยั่งเห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะแต่
ไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯ ล ฯ
[23] ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ
เพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่
และท่านก็หยั่งเห็นจักขายตนะโดยสัจฉิกัตถ-
ปรมัตถะ หรือ ฯ ล ฯ และท่านหยั่งเห็นโสตายตนะ ฯ ล ฯ และท่าน
ก็หยั่งเห็นธัมมายตนะ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ฯ ล ฯ

[24] . . .ท่านก็หยั่งเห็นจักขุธาตุโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ ?
ฯลฯ และท่านก็หยั่งเห็นกายธาตุ ฯลฯ และท่านก็หยั่งเห็นรูปธาตุ ฯลฯ
และท่านก็หยั่งเห็นโผฏฐัพพธาตุ ฯลฯ และท่านก็หยั่งเห็นจักขุวิญญาณ-
ธาตุ ฯ ล ฯ และท่านก็หยั่งเห็นมโนวิญญาณธาตุ ฯ ล ฯ และท่านก็หยั่ง
เห็นธัมมธาตุ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ฯ ล ฯ
[25] . . .และท่านก็หยั่งเห็นจักขุนทรีย์ โดยสัจฉิกัตถ-
ปรมัตถะหรือ ฯ ล ฯ และท่านก็หยั่งเห็นโสตินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ
หรือ ฯ ล ฯ และท่านก็หยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ
หรือ ฯ ล ฯ
ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ
เพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และท่านก็หยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิ-
กัตถปรมัตถะ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.
ป. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และท่านก็หยั่งเห็น
อัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าว
ว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น, ที่ท่านกล่าวในปัญหา

นั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ
เพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่
และข้าพเจ้าก็หยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์ โดย
สัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็
เป็นอื่น ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคล
ก็เป็นอื่น ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้
ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่
และข้าพเจ้าก็หยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์
โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และ
ข้าพเจ้าก็หยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าว
ว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯ ล ฯ
สุทธิกสังสันทนา จบ

อรรถกถาสุทธิกสังสันทนา


ว่าด้วยการเทียบเคียงสุทธิกะ


บัดนี้ เป็นการเทียบเคียงสัจฉิกัตถะกับรูปเป็นต้น. ในคำเหล่านั้น
คำว่า รูป เป็นคำถามของสกวาที โดยหมายเอาด้วยคำว่า ท่าน
หยั่งเห็นรูปได้โดยปรมัตถะฉันใด แม้บุคคลท่านก็หยั่งเห็นตามลัทธิของ
ท่านฉันนั้นหรือ ดังนี้. คำรับรองถือเอาเพียงคำว่า บุคคลมีอยู่ ดังนี้
เป็นของปรวาที. การซักถามของสกวาทีว่า ถ้าว่าบุคคลมีอยู่จากรูป
ปรมัตถะราวกะรูปตามลัทธิของท่านไซร้ ความเป็นอย่างอื่น คือการเกิด
ดับ แม้เหล่าบุคคลก็ย่อมปรากฏราวกะธรรมทั้งหลายมี เวทนาเป็นต้น
ดังนี้ การปฏิเสธเป็นของปรวาที เพราะเห็นผิดจากพระสูตรที่เป็นลัทธิ.
คำที่เหลือปรากฏชัดแล้วโดยอรรถนั้นเทียว ก็ในที่นี้เมื่อว่าโดยธรรม
ท่านแสดงอนุโลมปัญจกะ 57 ประเภท ในอนุโลมปัญจกะที่เป็นมูลใน
ฝ่ายสกวาที ด้วยสามารถแห่งสัจฉิกัตถปรมัตถะ 57 ประเภท ฯ หมวด 4
แห่งปฏิกัมมะท่านย่อไว้. และท่านแสดงปฏิโลมปัญจกะ 57 ประเภท
ในอนุโลมแห่งปัจจนิกแม้อันเป็นมูลฝ่ายปรวาทีอีก. หมวด 4 แห่ง
ปฏิกัมมะ เป็นต้น ท่านย่อไว้. คำซักถามของปรวาทีว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสแล้ว เป็นต้นเพื่อแสดงถึงความที่บุคคลเป็นของมีอยู่ ด้วยคำ
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้แล้วด้วย ซึ่งความที่รูปเป็นสภาวะที่หยั่ง
เห็นได้ด้วยสามารถแห่งสัจฉิกัตถะและปรมัตถะด้วย แล้วจึงให้สกวาที
รับรองซึ่งความเป็นอย่างอื่น คนละอย่าง แห่งธรรมทั้ง 2. คำปฏิเสธ