เมนู

อรรถกถาอริยันติกถา


ว่าด้วยเป็นอริยะ


บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องเป็นอริยะ. ในปัญหานั้น ลัทธิแห่งชนเหล่า
ใด ดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายในขณะนี้ว่า อาสวักขยญาณเป็น
อริยะอย่างเดียวเท่านั้น หามิได้โดยที่แท้แม้ญาณเบื้องต้น1 9 อย่าง ที่
เป็นกำลัง ก็เป็นอริยะด้วย ดังนี้ สกวาทีหมายชนเหล่านั้น จึงถามว่า
การรู้ตามจริงในฐานะและอฐานะ เป็นอริยะหรือ คำตอบรับ-
รองเป็นของปรวาที. คำถามด้วยสามารถแห่งมรรคเป็นต้นว่า ญาณ
นี้ใดในอริยมรรค เป็นต้น ญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง นั้นพึงเป็น
อริยะหรือ
อีก เป็นของสกวาที คำตอบปฏิเสธเป็นของปรวาที. คำ
ถามว่าด้วย สุญญตารมณ์ เป็นต้นอีก เป็นของสกวาที. ในคำถามนั้น
สุญญตา 2 อย่าง คือ สัตตสุญญตา ความว่างเปล่าจากสัตว์ 1 สัง-
ขารสุญญตา
ความว่างเปล่าจากสังขาร 1. ปัญจขันธ์ เป็นสภาพว่าง
1. ทสพลญาณ ญาณอันเป็นกำลัง 10 คือ :- 1. ฐานาฐานญาณ ปรีชา
หยั่งรู้ฐานะ และอฐานะ 2. วิปากญาณ ปรีชาหยั่งรู้ผลแห่งกรรม 3. สัพ-
พัตถคามินีปฏิปทาญาณ ปรีชาหยั่งรู้ทางไปสู่ภูมิทั้งปวง 4. นานาธาตุญาณ ปรีชา
หยั่งรู้ธาตุต่าง ๆ 5. นานาธิมุตติญาณ ปรีชาหยั่งรู้อธิมุตติ คือ อัธยาศัยของ
สัตว์ต่าง ๆ 6. อินทริโยปริยัตติญาณ ปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์
ของสัตว์ 7. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ ปรีชาหยั่งรู้อาการมีความเศร้าหมองเป็นต้น
แห่งธรรมมีฌานเป็นต้น 8. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ 9. จุตูปปาตญาณ
10. อาสวักขยญาณ.

เปล่าจากสัตว์ อันชาวโลกสมมติไว้ด้วยทิฏฐิ ชื่อว่า สัตตสุญญตา
พระนิพพาน
เป็นสภาพว่างเปล่าสงัดแล้ว เป็นธรรมชาติออกไปแล้ว
จากสังขารทั้งปวง ชื่อว่า สังขารสุญญตา. ในปัญหานั้น ปรวาที
หมายเอาความว่างเปล่าที่เป็นอารมณ์ของพระนิพพาน จึงปฏิเสธ แต่
รับรองเพราะหมายเอาความว่างเปล่าที่เป็นอารมณ์ของสังขาร. แม้ถูก
ถามว่า ทรงทำไว้ในพระทัย ก็ปฏิเสธเพราะหมายเอาพระนิพพาน
เท่านั้น ย่อมตอบรับรองเพราะหมายเอาสังขารทั้งหลาย. ต่อจากนั้นถูก
สกวาทีถามว่า เป็นการประชุมแห่งผัสสะ 2 อย่าง แห่งจิต 2
ดวงหรือ
เพราะถือเอานัยนี้ว่า ผู้มีมนสิการในฐานญาณ และ
อฐานญาณเป็นต้นมีสังขารเป็นอารมณ์ แต่ผู้มีมนสิการในความว่าง
เปล่ามีพระนิพพานเป็นอารมณ์
ปรวาทีนั้น เมื่อไม่ได้โอกาสอันมี
เลสนัย จึงปฏิเสธ. แม้อนิมิตตะ และ อัปปณิหิตะ ก็นัยนี้นั้นแหละ.
จริงอยู่ ขันธ์ทั้งหลาย ชื่อว่า ไม่มีนิมิต เพราะไม่มีนิมิตคือสัตว์
พระนิพพาน ชื่อว่า ไม่มีนิมิต เพราะไม่มีนิมิต คือสังขาร. ขันธ์
ทั้งหลาย
ชื่อว่า อัปปณิหิตะ คือไม่มีที่ตั้ง โดยการตั้งความปรารถนา
แห่งสัตว์อันถึงการนับว่า ปณิธิ เพราะอรรถว่าพึงตั้งไว้ กล่าวคืออันเขา
ยกขึ้นแล้วพึงตั้งไว้แม้ในธรรมอย่างหนึ่ง. พระนิพพาน ชื่อว่า อัปป-
ณิหิตะ คือไม่มีที่ตั้ง ด้วยการตั้งไว้ซึ่งตัณหา หรือด้วยการตั้งไว้ซึ่ง
สังขารทั้งปวงอันเป็นอารมณ์แห่งตัณหา. เพราะฉะนั้นในการวิสัชชนา
แม้นี้ ทั้งการปฏิเสธและการรับรอง บัณฑิตพึงทราบโดยนัยก่อนนั่น
เทียว.

ต่อจากนี้ อนุโลมและปฏิโลมปัญหาว่า โลกุตตรธรรมทั้งหลาย
มีสติปัฏฐานเป็นต้น เป็นอริยะด้วย มีสุญญตะเป็นต้น เป็นอารมณ์
ด้วย ฉันใด ญาณเป็นเครื่องหยั่งรู้ฐานะและอฐานะโดยลัทธิของท่าน
ฉันนั้นหรือ ในการวิสัชชนาปัญหานั้น การตอบรับรองแม้ทั้งปวง
และการปฏิเสธทั้งปวง เป็นของปรวาที บัณฑิตพึงทราบคำถามและ
คำตอบแม้ในญาณที่เหลือโดยอุบายนี้. แต่ในบาลีท่านย่อญาณที่เหลือไว้
แล้วก็จำแนกจุตูปปาตญาณไว้สุดท้าย. ข้างหน้าต่อจากนี้ เป็นคำถามถึง
ความเป็นพระอริยะทั้งโดยอนุโลม และปฏิโลมแห่งญาณทั้งหลายที่เหลือ
เปรียบเทียบกับอาสวักขยญาณอันสำเร็จแล้วว่าเป็น อริยะ แม้ในลัทธิ
ของตน. คำถามทั้งปวงเป็นของปรวาที. สกวาทีตอบรับรองด้วย ปฏิ-
เสธด้วย. เนื้อความเหล่านั้นมีอรรถง่ายทั้งนั้น. ส่วนในบาลีท่านย่อ
ญาณทั้ง 7 ไว้ในที่นี้แล้วแสดงดุจนัยที่ 1 นั่นแล.
อรรถกถาอริยันติกถา จบ

วิมุจจติกถา


[738] สกวาที จิตมีราคะหลุดพ้นได้ หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. จิตสหรคตด้วยราคะ เกิดพร้อมกับราคะ ระคน
ด้วยราคะ สัมปยุตด้วยราคะ ปรากฏพร้อมกับราคะ แปรไปตามราคะ
เป็นอกุศล เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของ
สัญโญชน์ เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นอารมณ์ของโอฆะ เป็นอารมณ์
ของโยคะ เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นอารมณ์ของปรามาสะ เป็น
อารมณ์ของอุปทาน เป็นอารมณ์ของสังกิเลส หลุดพ้นได้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[739] ส. จิตมีผัสสะหลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง 2 คือ ทั้ง
ผัสสะและจิต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. จิตมีราคะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง 2 คือ ทั้ง
ราคะและจิต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[740] ส. จิตมีเวทนา ฯลฯ จิตมีสัญญา ฯลฯ จิตมี
เจตนา ฯลฯ จิตมีปัญญา หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง 2 คือ ทั้งปัญญา
และจิต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.