เมนู

ส. ถูกแล้ว.
ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่งความ
ยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ ทั่วไปแก่พระสาวก
หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[719] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ทั่วไปแก่พระสาวก
หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่งความ
ยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ ทั่วไปแก่พระสาวก
หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พลกถา จบ

อรรถกถาพลกถา


ว่าด้วย พละ คือ กำลัง


บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องพละ คือกำลัง. ในเรืองนั้น ชนเหล่าใดมี
ลัทธิ ดุจนิกายอันธกะทั้งหลายในขณะนี้ว่า กำลังพระตถาคตทั่วไป
แก่พระสาวกทั้งหลาย เพราะถือเอาพระสูตร 10 สูตร มีอนุรุทธสังยุต
สูตรเป็นต้น โดยไม่พิจารณาว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็แล เราย่อมรู้

ชัดซึ่งฐานะโดยความเป็นฐานะ และย่อมรู้ชัดอฐานะโดยความเป็น
อฐานะตามความเป็นจริง เพราะความที่สติปัฏฐานทั้ง 4 เหล่านี้เรา
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่า
นั้น. คำตอบรับรองเป็นของปรวาที เพราะตั้งอยู่ในลัทธิ. อนึ่ง ชื่อว่า
กำลังแห่งพระตถาคตนี้ ทั่วไปแก่พระสาวกทั้งหลายก็มี ไม่ทั่วไปก็มี
ทั้งทั่วไปและไม่ทั่วไปก็มี มีอยู่ ในกำลังเหล่านั้น ญาณในความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลายชื่อว่า สาธารณะ คือทั่วไปแก่พระสาวก แต่อิน-
ทริยปโรปริยัตติญาณ ได้แก่ญาณรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ เป็น
อสาธารณญาณ คือญาณไม่ทั่วไป ญาณที่เหลือเป็นสาธารณะด้วย
อสาธารณะด้วย. จริงอยู่พระสาวกทั้งหลายย่อมรู้ซึ่งฐานาฐานญาณเป็น
ต้นได้บางอย่าง แต่พระตถาคตทั้งหลายย่อมรู้ฐานาฐานญาณเป็นต้นได้
โดยสิ้นเชิง. พระสาวกทั้งหลายย่อมรู้สาธารณาณเหล่านั้นโดยอุทเทส
คือโดยหัวข้อ ไม่รู้โดยนิทเทส คือโดยนำออกแสดงโดยพิสดาร. ก็ลัทธิ
นี้กล่าวว่า กำลังของพระตถาคตแม้ทั้งปวงว่าทั่วไปแก่พระสาวก
โดยไม่แปลกกัน
ดังนี้ เพื่อตำหนิลัทธินั้น ๆ เพราะเหตุนั้น จึงเริ่ม
ซักถามอีกว่า กำลังของพระตถาคตก็คือกำลังพระสาวก ดังนี้
เป็นต้น.
ในการตอบปัญหาเหล่านั้น ปัญหาที่ 1 ปรวาทีหมายเอาความ
ที่กำลังเหล่านั้น เป็นวิสัยคือเป็นอารมณ์แห่งอาการทั้งปวงโดยนิทเทส
จึงตอบปฏิเสธ. ในปัญหาที่ 2 ตอบรับรองด้วยสามารถแห่งญาณมีฐานา-

ฐานญาณเป็นต้นโดยอุทเทส. ในปัญหาว่า กำลังของพระตถาคต
อันนั้น กำลังของพระสาวกก็อันนั้นแหละ
ปรวาทีตอบปฏิเสธ
เพราะไม่มีการกระทำที่แตกต่างกันโดยอาการทั้งปวง. บุรพประโยค
คือการประกอบในเบื้องต้น ก็ดี บุรพจริยา คือการประพฤติเบื้องต้น
ก็ดี ย่อมเป็นอย่างเดียวกันโดยอรรถ. การกล่าวธรรมด้วย การแสดง
ธรรมด้วย
ก็เป็นเช่นเดียวกัน.
ในปัญญาว่าด้วยอินทริยปริยัตติญาณ ปรวาทีตอบรับรองใน
วิสัย คืออารมณ์แห่งพระสาวก หมายเอาทั่วไปโดยเอกเทส คือบางส่วน.
บัดนี้ ปัญหาของปรวาที มีคำว่า พระสาวกรู้ฐานะและ
อฐานะหรือ
เป็นต้น เพื่อให้ตั้งไว้ซึ่งความที่ญาณเหล่านั้นเป็นสาวก
สาธารณญาณ โดยความที่ท่านย่อมรู้ฐานาฐานญาณเป็นต้นโดยอุทเทส
เพราะฉะนั้นจึงประกาศความรู้อรรถของพระสาวกสักว่าการรู้นั้น. ใน
ปัญหานั้นปรวาทีไม่ถือเอาอินทริยปโรปปริยัตติญาณซึ่งเป็นญาณอย่างใด
อย่างหนึ่งแห่งอสาธารณญาณ 6.
คำว่า ความสิ้นอาสวะแห่งพระตถาคต กับความสิ้น
อาสวะแห่งพระสาวก
ดังนี้ อธิบายว่า คำใดอันบุคคลควรกล่าวพึงมี
เพราะอาศัยการสิ้นอาสวะของพระตถาคต กับการสิ้นอาสวะของพระ-
สาวกนั้น ความแตกต่างกันหามีไม่. แม้ในบทว่า ความหลุดพ้น
แห่งพระตถาคต กับความหลุดพ้นแห่งพระสาวก
ก็นัยนี้นั่น

แหละ. คำที่เหลือในที่นี้มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
บัดนี้ ปัญหาของปรวาทีว่า ในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้ง
หลาย
เป็นต้นนั่นแหละอีก เพื่อเปรียบเทียบญาณในความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลายของพระตถาคตกับพระสาวกที่สกวาทีตอบรับรองเป็น
สาธารณญาณนั้น แล้วจึงถามซึ่งความเป็นสาธารณญาณทั้งหลายแม้ที่
เหลือ. ญาณนั้นอันสกวาทีผู้แก้ปัญหารับรองแล้วว่าเป็นสาธารณญาณ
เพราะไม่มีอะไรแปลกกันในการสิ้นอาสวะเลย. ในญาณทั้งหลายนอก
จากนี้ท่านตอบปฏิเสธความเป็นญาณสาธารณะเพราะไม่มีพิเศษในพระ-
สาวก. คำถามเรื่องอสาธารณญาณ1 ของปรวาทีเปรียบเทียบอาสวัก-
ขยญาณนั้นนั่นแหละกับบรรดาญาณทั้งหลายมีฐานาฐานญาณเป็นต้น
อีก. ในการวิสัชนาปัญหานั้น สกวาทีปฏิเสธในอาสวักขยญาณแต่รับรอง
ในญาณแม้ที่เหลือ. ต่อจากนี้เป็นคำถามอสาธารณญาณของปรวาที
เปรียบเทียบกับอินทริยปโรปริยัตติญาณ. ญาณนั้นท่านแสดงไว้โดยย่อ.
1 อสาธารณญาณ 6 ได้แก่ ญาณที่ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกทั้งหลาย 6 คือ :-
1. อินทริยปโรปริยัตติญาณ ได้แก่ ปัญญาหยั่งรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอิน-
ทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย.
2. อาสยานุสยญาณ ได้แก่ ปัญหาหยั่งรู้อาสยะ คือ อัธยาศัย และกิเลสที่
นอนเนื่องในสันดานของสัตว์.
3. ยมกปาฏิหิรญาณ ได้แก่ ปัญญาหยั่งรู้การทำยมกปาฏิหาริย์
4. มหากรุณาสมาปัตติญาณ ได้แก่ ปัญญาหยั่งรู้ในการเข้ามหากรุณาสมบัติ
5. สัพพัญญุตญาณ ได้แก่ ปัญญาหยั่งรู้ธรรมทั้งปวง
6. อนาวรณญาณ ได้แก่ ปัญญาหยั่งรู้ธรรมอันไม่มีอะไรขัดข้อง.

แม้ในการวิสัชนาปัญหา สกวาทีตอบรับรองในอินทริยปโรปริยัตติญาณ
ตอบปฏิเสธในญาณที่เหลือทั้งหลาย. ต่อจากนั้นคำถามสาธารณญาณ
แห่งอนทริยปโรปรยัตติญาณ
ของปรวาทีซึ่งเปรียบเทียบกับฐานาฐาน-
ญาณทั้งหลาย. ญาณแม้นั้น ท่านก็แสดงไว้โดยย่อ. ในการวิสัชนา
ปัญหานั้น สกวาทีตอบปฏิเสธในอินทริยปโรปริยัตติญาณ ตอบรับรอง
ในญาณทั้งหลายที่เหลือ ด้วยประการฉะนี้แล.
อรรถกถาพลกถา จบ

อริยันติกถา


[720] สกวาที กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริง
ในฐานะและอฐานะ เป็นอริยะ หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. เป็นมรรค เป็นมงคล เป็นนิพพาน เป็นโส-
ดาปัตติมรรค เป็นโสดาปัตติผล เป็นสกทาคามิมรรค เป็นสกทาคามิ-
ผล เป็นอนาคามิมรรค เป็นอนาคามิผล เป็นอรหัตมรรค เป็นอร-
หัตผล เป็นสติปัฏฐาน เป็นสัมมัปปธาน เป็นอิทธิบาท เป็นอินทรีย์
เป็นพละ เป็นโพชฌงค์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[721] ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ
และอฐานะ เป็นอริยะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. มีสุญญตะ เป็นอารมณ์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. มีสุญญตะ เป็นอารมณ์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระตถาคตทรงทำไว้ในพระทัยซึ่งฐานะและ
อฐานะด้วย ทรงทำไว้ในพระทัยซึ่งสุญญตะด้วย หรือ ?