เมนู

วรรคที่ 3


พลกถา


[696] ส. สกวาที กำลังพระตถาคตทั่วไปแก่พระ-
สาวก หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. กำลังของพระตถาคต ก็คือ กำลังของพระสาวก
กำลังของพระสาวก ก็คือ กำลังของพระตถาคต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[697] ส. กำลังของพระตถาคตทั่วไปแก่พระสาวก หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กำลังของพระตถาคตอันนั้น กำลังของพระสาวก
ก็อันนั้นแหละ กำลังของพระสาวกอันนั้น กำลังของพระตถาคตก็อัน
นั้นแหละ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[698] ส. กำลังของพระตถาคตทั่วไปแก่พระสาวก หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กำลังของพระตถาคตเช่นใด กำลังแห่งพระสาวก
ก็เช่นนั้น กำลังแห่งพระสาวกเช่นใด กำลังของพระตถาคต ก็เช่นนั้น
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[699] ส. กำลังของพระตถาคตทั่วไปแก่พระสาวก หรือ ?.
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุรพประโยค บุรพจริยา การกล่าวธรรม การ
แสดงธรรมแห่งพระตถาคต เช่นใด บุรพประโยค บุรพจริยา การ
กล่าวธรรม การแสดงธรรม แห่งพระสาวกก็เช่นนั้น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[700] ส. กำลังของพระตถาคตทั่วไปแก่พระสาวก หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระตถาคต คือ พระชินะ พระศาสดา พระ-
สัมมาสัมพุทธะ พระสัพพัญญู คือผู้รู้ธรรมทั้งปวง พระสัพพทัสสาวี
คือ ผู้เห็นธรรมทั้งปวง พระธรรมสามี คือเจ้าแห่งธรรม พระธรรมปฏิ-
สรณะ คือ ผู้มีธรรมเป็นที่อาศัย หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระสาวก ก็คือ พระชินะ พระศาสดา พระ-
สัมมาสัมพุทธะ พระสัพพัญญู พระสัพพทัสสาวี พระธรรมสามี พระ-
ธรรมปฏิสรณะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[701] ส. กำลังของพระตถาคตทั่วไปแก่พระสาวก หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระตถาคต เป็นผู้ยังมรรคที่ยังมิได้บังเกิดให้เกิด
ขึ้น เป็นผู้ยังมรรคที่ยังมิได้ปรากฏให้ปรากฏขึ้น เป็นผู้กล่าวมรรคที่ใคร ๆ

มิเคยได้กล่าว เป็นผู้รู้มรรค เป็นผู้รู้แจ้งมรรค เป็นผู้ฉลาดในมรรค หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระสาวก ก็เป็นผู้ยังมรรคที่ยังมิได้บังเกิดให้เกิด
ขึ้น เป็นผู้ยังมรรคที่ยังมิได้ปรากฏให้ปรากฏขึ้นเป็นผู้กล่าวมรรคที่ใคร ๆ
มิเคยได้กล่าว เป็นผู้รู้มรรค เป็นผู้รู้แจ้งมรรค เป็นผู้ฉลาดในมรรค หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[702] ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่งความ
ยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ ทั่วไปแก่พระสาวก
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระสาวก เป็นพระสัพพัญญู เป็นพระสัพพ-
ทัสสาวี หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[703] ป. พระสาวกรู้ฐานะและอฐานะ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า พระสาวกรู้ฐานะและอฐานะ ด้วยเหตุ
นั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่ง
ฐานะและอฐานะ ทั่วไปแก่พระสาวก ดังนี้.
[704] ป. พระสาวกรู้ผลอันสุกวิเศษโดยฐานะ โดยเหตุ
แห่งกรรมสมาทานทั้งอดีตและปัจจุบัน หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า พระสาวกรู้ผลอันสุกวิเศษโดยฐานะ
โดยเหตุแห่งกรรมสมาทานทั้งอดีตอนาคตและปัจจุบัน ด้วยเหตุนั้นนะ
ท่านจึงต้องกล่าวว่า กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่งผลอัน
สุกวิเศษโดยฐานะ. โดยเหตุแห่งกรรมสมาทานทั้งอดีตอนาคตและปัจจุ-
บัน ทั่วไปแก่พระสาวก.
[705] ป. พระสาวก รู้ปฏิปทาอันนำไปสู่คติทั้งปวง หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า พระสาวกรู้ปฏิปทาอันนำไปสู่คติทั้งปวง
ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตาม
จริงซึ่งปฏิปทาอันจะนำไปในคติทั้งปวง ทั่วไปแก่พระสาวก ดังนี้.
[706] ป. พระสาวกรู้โลกอันมีธาตุต่าง ๆ มีธาตุมิใช่น้อย
หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า พระสาวกรู้โลกอันมีธาตุต่าง ๆ มีธาตุ
มิใช่น้อย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า กำลังของพระตถาคต คือ
การรู้ตามจริงซึ่งโลกอันมีธาตุต่าง ๆ มีธาตุมิใช่น้อย ทั่วไปแก่พระสาวก
[707] ป. พระสาวก รู้ความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีอธิมุติ
คืออัธยาศัยต่าง ๆ กัน หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า พระสาวกรู้ความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มี

อธิมุติต่าง ๆ กัน ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า กำลังของพระ-
ตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่งความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีอธิมุตติต่าง ๆ กัน
ทั่วไปแก่พระสาวก.
[708] ป. พระสาวกรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว การ
ออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า พระสาวกรู้ความเศร้าหมอง ความผ่อง
แผ้ว การออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ ด้วยเหตุนั้นนะ
ท่านจึงต้องกล่าวว่า กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่งความ
เศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว การออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และ
สมาบัติ ทั่วไปแก่พระสาวก.
[709] ป. พระสาวกรู้ญาณเป็นเครื่องระลึกถึงขันธ์ที่เคย
อยู่อาศัยในกาลก่อนได้แก่ระลึกชาติหนหลังได้ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว
ป. หากว่า พระสาวกรู้ญาณเป็นเครื่องระลึกถึงขันธ์
ที่เคยอยู่อาศัยในกาลก่อน ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า กำลังของ
พระตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่งญาณเป็นเครื่องระลึกถึงขันธ์ที่เคยอยู่
อาศัยในกาลก่อน ทั่วไปแก่พระสาวก.
[710] ป. พระสาวกรู้จุติและอุปบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า พระสาวกรู้จุติและอุปบัติแห่งสัตว์ทั้ง
หลาย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า กำลังของพระตถาคต คือ
การรู้ตามจริงซึ่งจุติและอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย ทั่วไปแก่พระสาวก.
[711] ป. อาสวะทั้งหลาย ทั้งของพระตถาคต ทั้งของพระ-
สาวกต่างก็สิ้นไปแล้ว มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. มีเหตุอะไร ๆ ที่ทำให้ต่างกันในระหว่างความสิ้น
อาสวะแห่งพระตถาคต กับความสิ้นอาสวะแห่งพระสาวก หรือใน
ระหว่างความหลุดพ้นแห่งพระตถาคต กับความหลุดพ้นแห่งพระสาวก
หรือ ?
ส. ไม่มี.
ป. หากว่า ไม่มีเหตุอะไร ๆ ที่ทำให้ต่างกันใน
ระหว่างความสิ้นอาสวะแห่งพระตถาคต กับความสิ้นอาสวะแห่งพระ-
สาวก หรือในระหว่างความหลุดพ้นแห่งพระตถาคต กับความหลุดพ้น
แห่งพระสาวก ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า กำลังของพระตถาคต
คือ การรู้ตามจริงในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ทั่วไปแก่พระสาวก.
[712] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ทั่วไปแก่พระสาวก หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ
และอฐานะ ทั่วไปแก่พระสาวก หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[713] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ทั่วไปแก่พระสาวก
หรือ ?
ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติ
และอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย ทั่วไปแก่พระสาวก
หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[714] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ
และอฐานะ ไม่ทั่วไปแก่พระสาวก หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ไม่ทั่วไปแก่พระสาวก
หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[715] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติ
และอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย ไม่ทั่วไปแก่พระ-
สาวก หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.

ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ไม่ทั่วไปแก่พระสาวก
หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[716] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่งความ
ยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ ไม่ทั่วไปแก่พระสาวก
หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ
และอฐานะ ไม่ทั่วไปแก่พระสาวก หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[707] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่งความ
ยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ ไม่ทั่วไปแก่พระสาวก
หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ไม่ทั่วไปแก่พระสาวก
หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[718] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ
และอฐานะ ทั่วไปแก่พระสาวก หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.
ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่งความ
ยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ ทั่วไปแก่พระสาวก
หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[719] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ทั่วไปแก่พระสาวก
หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่งความ
ยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ ทั่วไปแก่พระสาวก
หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พลกถา จบ

อรรถกถาพลกถา


ว่าด้วย พละ คือ กำลัง


บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องพละ คือกำลัง. ในเรืองนั้น ชนเหล่าใดมี
ลัทธิ ดุจนิกายอันธกะทั้งหลายในขณะนี้ว่า กำลังพระตถาคตทั่วไป
แก่พระสาวกทั้งหลาย เพราะถือเอาพระสูตร 10 สูตร มีอนุรุทธสังยุต
สูตรเป็นต้น โดยไม่พิจารณาว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็แล เราย่อมรู้