เมนู

กุกกุฬกถา


[639] สกวาที สังขารทั้งปวง เป็นดุจเถ้าลึง คือร้อนระอุ
ไม่มีระยะว่างเว้น หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. สุขเวทนา สุขทางกาย สุขทางใจ สุขเป็นทิพย์
สุขของมนุษย์ สุขในลาภ สุขในสักการะ สุขในการไป สุขในการนอน
สุขในความเป็นใหญ่ สุขในความเป็นอธิบดี สุขของคฤหัสถ์ สุขของ
สมณะ สุขมีอาสวะ สุขไม่มีอาสวะ สุขมีอุปธิ สุขไม่มีอุปธิ สุขมี
อามิส สุขไม่มีอามิส สุขมีปีติ สุขไม่มีปีติ สุขในฌาน สุขคือความ
หลุดพ้น สุขในกาม สุขในการออกบวช สุขเกิดแต่ความวิเวก สุข
คือความสงบ สุขเกิดแต่ความตรัสรู้ มีอยู่ มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า สุขเวทนา ฯ ล ฯ สุขเกิดแก่ความตรัสรู้
มีอยู่ ก็ไม่ต้องกล่าวว่า สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้าลึง ไม่มีระยะว่างเว้น.
[640] ส. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้าลึง ไม่มีระยะว่างเว้น
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สังขารทั้งปวงเป็นทุกขเวทนา เป็นทุกข์ทางกาย
เป็นทุกข์ทางใจ เป็นความโศกความร่ำไร ทุกขโทมนัส อุปายาส

คือความคับแค้น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[641] ป. ไม่พึงกล่าวว่า สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้าลึง ไม่
มีระยะว่างเว้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวงเป็น
ของร้อน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักขุเป็นของร้อน รูปทั้งหลาย
เป็นของร้อน จักขุวิญญาณเป็นของร้อน จักขุสัมผัสเป็นของร้อน
แม้ความรู้สึกเสวย อารมณ์อันใด เป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม
มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ตาม เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย แม้
อันนั้น ก็เป็นของร้อน ร้อนด้วยอะไร ร้อนด้วยไฟคือราคะ ด้วย
ไฟคือโทสะ ด้วยไฟคือโมหะ ร้อนด้วยชาติ ด้วยชรามรณะ
ด้วยโศก ด้วยปริเทวะ ด้วยทุกข์ ด้วยโทมนัส ด้วยอุปายาส
เรากล่าวว่า สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ฉะนี้ โสตะเป็นของร้อน
เสียงทั้งหลายเป็นของร้อน ฯลฯ มานะเป็นของร้อน กลิ่น
ทั้งหลายเป็นของร้อน ฯลฯ ชิวหาเป็นของร้อน รสทั้งหลายเป็น
ของร้อน ฯลฯ ภายเป็นของร้อน โผฏฐัพพะทั้งหลายเป็นของร้อน
ฯลฯ มโนเป็นของร้อน ธรรมทั้งหลายเป็นของร้อน มโนวิญญาณ

เป็นของร้อน มโนสัมผัสเป็นของร้อน ความรู้สึกเสวยอารมณ์
อันใด เป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ก็ตาม เกิด
ขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย แม้อันนั้น ก็เป็นของร้อน ร้อน
ด้วยอะไร ร้อนด้วยไฟราคะ ด้วยไฟคือโทสะ ด้วยไฟคือโมหะ
ร้อนด้วยชาติ ด้วยชรามรณะ ด้วยโศก ด้วยปริเทวะ ด้วยทุกข์
ด้วยโทมนัส ด้วยอุปายาส เรากล่าวว่าสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน
ฉะนี้
ดังนี้1 เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ป. ถ้าอย่างนั้น สังขารทั้งปวงก็เป็นดุจเถ้าลึง ไม่มี
ระยะว่างเว้นน่ะสิ.
[642] ส. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้าลึง ไม่มีระยะว่างเว้น
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ
กามคุณมี 5 ประการนี้ 5 ประการอะไรบ้าง รูปทั้งหลายอันเป็น
วิสัยแห่งจักขุวิญญาณ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพึงใจ มีลักษณะ
น่ารัก ยั่วกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงทั้งหลายอันเป็น
วิสัยแห่งโสตวิญญาณ ฯลฯ กลิ่นทั้งหลายอันเป็นวิสัยแห่งฆาน-

1. วิ. มหา. 4/55.

วิญญาณ ฯลฯ รสทั้งหลายอันเป็นวิสัยแห่งชิวหาวิญญาณ ฯลฯ
โผฏฐัพพะทั้งหลายอันเป็นวิสัยแห่งกายวิญญาณ ที่น่าปรารถนา
น้ำใคร่ น่าพึงใจ มีลักษณะน่ารักยั่วกาม เป็นที่ตั้งแห่งความ
กำหนัด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ 5 ประการเหล่านี้แล

ดังนี้1 เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า สังขารทั้งปวงเป็น
ดุจเถ้าลึง ไม่มีระยะว่างเว้น.
[643] ป. ไม่พึงกล่าวว่า สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้าลึง ไม่
มีระยะว่างเว้น หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เป็นลาภของพวกเธอ พวกเธอได้ดีแล้ว ขณะเพื่อการ
อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ พวกเธอแทงตลอดแล้ว ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราได้เห็นนรกชื่อว่า ฉผัสสายตนิกา ในนรกชื่อว่า
ฉผัสสายตนิกานั้น บุคคลเห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยจักษุ ย่อม
เห็นแต่รูปที่มีลักษณะไม่น่าปรารถนา มิได้เห็นรูปที่มีลักษณะน่า
ปรารถนา ย่อมเห็นแต่รูปที่มีลักษณะไม่น่าใคร่ มิได้เห็นรูปที่มี
ลักษณะน่าใคร่ ย่อมเห็นแต่รูปที่มีลักษณะไม่น่าพึงใจ มิได้เห็น

1. สํ. สฬา. 18/413, องฺ. นวก. 23/238.

รูปที่มีลักษณะน่าพึงใจ ฟังเสียงอย่างใดอย่าหนึ่งด้วยโสต ฯลฯ
ดมกลิ่นอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสอย่างใดอย่างหนึ่ง
ด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะ อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย
ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยใจ ย่อมรู้แจ้งแต่
ธรรมารมณ์ที่มีลักษณะไม่น่าปรารถนา มิได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่มี
ลักษณะน่าปรารถนา ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์ที่มีลักษณะไม่น่า
ใคร่ มิได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่มีลักษณะน่าใคร่ ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมา-
รมณ์ที่มีลักษณะไม่น่าพึงใจ มิได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่มีลักษณะน่า
พึงใจ
ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ถ้าอย่างนั้น สังขารทั้งปวงก็เป็นดุจเถ้าลึง ไม่
มีระยะว่างเว้นน่ะสิ.
[644] ส. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้าลึง ไม่มีระยะว่างเว้น
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เป็นลาภของพวกเธอ พวกเธอได้ดีแล้ว ขณะเพื่ออยู่
ประพฤติพรหมจรรย์ พวกเธอแทงตลอดแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย เราได้เห็นสวรรค์ ชื่อว่าฉผัสสายตนิกา ในสวรรค์ชื่อ

ฉผัสสายตนิกานั้น บุคคลเห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยจักษุ ย่อม
เห็นแต่รูปที่มีลักษณะน่าปรารถนา มิได้เห็นรูปที่มีลักษณะไม่น่า
ปรารถนา ย่อมเห็นแต่รูปที่มีลักษณะน่าใคร่ มิได้เห็นรูปที่มี
ลักษณะไม่น่าใคร่ ย่อมเห็นแต่รูปที่มีลักษณะน่าพึงใจ มิได้เห็น
รูปที่มีลักษณะไม่น่าพึงใจ ฟังเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยโสต
ฯลฯ ดมกลิ่นอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสอย่างใด
อย่างหนึ่งด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย
กาย ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยใจ ย่อมรู้แจ้ง
ในธรรมารมณ์ที่มีลักษณะน่าปรารถนา มิได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่มี
ลักษณะที่มีลักษณะไม่น่าปรารถนา ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์ที่มี
ลักษณะน่าใคร่ มิได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่มีลักษณะไม่น่าใคร่ ย่อม
รู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์ที่มีลักษณะน่าพึงใจ มิได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่
มีลักษณะไม่น่าพึงใจ
ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า สังขารทั้งปวงเป็น
ดุจเถ้าลึง ไม่มีระยะว่างเว้น.
[645] ป. ไม่พึงกล่าวว่า สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้าลึง ไม่
มีระยะว่างเว้น หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

เป็นทุกข์ สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มีพระภาค-
เจ้าตรัสว่าเป็นทุกข์ สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อง
กล่าวว่า สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้าลึง ไม่มีระยะว่างเว้น.
[646] ส. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้าลึง ไม่มีระยะว่างเว้น
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ทาน มีผลไม่น่าใคร่ มีผลไม่เป็นที่ฟูใจ มีผล
แสลง มีทุกข์เป็นกำไร เป็นทุกข์เป็นวิบาก หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ศีล ฯลฯ อุโบสถ ฯล ฯ ภาวนา ฯล ฯ พรหม-
จรรย์มีผลไม่น่าปรารถนา มีผลไม่น่าใคร่ มีผลไม่เป็นที่ฟูใจ มีผลแสลง
มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ทาน มีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผลเป็น
ที่น่าฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก หรือ ?
ป. ถูกแล้ว
ส. หากว่า ทานมีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มี
ผลเป็นที่ฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ก็ต้องไม่

กล่าวว่า สังขารทั้งปวง เป็นดุจเถ้าลึง ไม่มีระยะว่างเว้น.
ส. ศีล ฯล ฯ อุโบสถ ฯลฯ ภาวนา ฯล ฯ พรหม-
จรรย์มีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผลเป็นที่ฟูใจ มีผลไม่แสลง มี
สุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พรหมจรรย์มีผลน่าปรารถนา มีผลน่า
ใคร่ มีผลเป็นที่ฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก
ก็ต้องไม่กล่าวว่า สังขารทั้งปวง เป็นดุจเถ้าลึง ไม่มีระยะว่างเว้น.
[647] ส. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้าลึง ไม่มีระยะว่างเว้น
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ความสงัด
ของบุคคลผู้ยินดีแล้ว ผู้มีธรรมอันได้สดับแล้ว เห็นอยู่ เป็นสุข
ความไม่เบียดเบียน คือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย เป็นสุขใน
โลก ความคลายกำหนัด คือความล่วงกามทั้งหลายเสียได้ เป็นสุข
ในโลก การที่นำอัสมิมานะออกเสียได้ นี่แลเป็นสุขอย่างยิ่ง1
สุขยิ่งกว่าความสุขนั้น เราได้ถึงแล้วนั้นเป็นสุขเต็มที่ทีเดียว วิช-
ชา 3 เราได้บรรลุโดยลำดับแล้ว ข้อนี้แลเป็นสุขอย่างยิ่ง
ดังนี้
เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
1. ขุ. อุ. 25/51.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า สังขารทั้งปวงเป็น
ดุจเถ้าลึง ไม่มีระยะว่างเว้น.
กุกกุฬกถา จบ

อรรถกถากุกกุฬกถา


ว่าด้วยเถ้าลึง คือความร้อนระอุ


บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องเถ้าลึง. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีลัทธิคือ
มีความเห็นผิดดุจนิกายโคลิกะทั้งหลาย ในขณะนี้ว่า สังขารทั้งปวง
เป็นดุจเถ้าลึง คือเป็นเช่นกับฉาริกนรกอันเจือด้วยถ่านเพลิง โดยแน่
นอน เพราะไม่พิจารณาถือเอาพระสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน สังขารทั้งปวงเป็น
ทุกข์
ดังนี้เป็นต้น คำถามของสกวาทีเพื่อวิพากษ์ คือตำหนิ ลัทธิ
นั้นด้วยการชี้แจงถึงความสุขมีประการต่าง ๆ ของสังขารเหล่านั้น. คำ
ตอบรับรองเป็นของปรวาที. ในปัญหานั้น คำว่า ไม่มีระยะว่างเว้น
หรือ
ได้แก่ ไม่ทำเขตแดนส่วนหนึ่ง คือหมายความว่า ไม่ทำสิ่ง
ทั้งปวงนั่นแหละให้แปลกกัน. คำที่เหลือในที่ทั้งปวง พึงทราบโดยนัย
ที่แสดงไว้แล้วในบาลี พร้อมทั้งการชำระพระสูตรนั่นแล.
อรรถกถากุกกุฬกถา จบ