เมนู

นิคคหจตุกกะ


[8] ส. ก็ท่านยังจะยืนยันว่า กล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็น
บุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะแต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ
เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถ-
ปรมัตถะ ดังนี้ไซร้ ด้วยเหตุนั้น ท่านเมื่อยังปฏิญาณอยู่ข้างรับรอง
บุคคลอย่างนี้ ด้วยปฏิญญาอย่างนี้ ก็ต้องนิคคหะอย่างนี้ ดังนั้น เรา
จึงนิคคหะท่าน ท่านถูกนิคคหะชอบแล้วเทียว. หากว่าท่านหยั่งเห็น
บุคคล โดยสัจฉิสัตถปรมัตถะด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า สภาวะ
ใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้นตามสภาวะ
นั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า
ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะ
ใดเป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะ
นั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด
เป็นสัจฉิกัตกะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะ
นั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล
โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ. ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า
ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะแต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะ
สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น
ตามสภาวะ นั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ นี้เป็นความผิดของท่าน.
นิคคหจตุกกะ จบ

อุปนยนจตุกกะ


[9] ส. หากนิคคหะที่เราทำแก่ท่านนี้ เป็นนิคคหะชั่วไซร้
ท่านจงเห็นอย่างเดียวกันนั่นแหละ ในนิคคหะที่ท่านได้ทำแก่เรา ใน
กรณีว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ
แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้า
ไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ก็เราผู้
ปฏิญาณอยู่ข้างปฏิเสธบุคคลอย่างนี้ ด้วยปฏิญญานี้ อันท่านไม่พึง
นิคคหะอย่างนี้ ดังนั้นท่านนิคคหะเรา เราจึงถูกนิคคะชั่วเทียว คือ
นิคคหะว่า หากว่าท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วย
เหตุนั้นนะท่านจึงกล่าวว่า สภาวะใดเป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ
ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ,
ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล
โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ
เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิ-
กัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ
เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิ-
กัตถปรมัตถะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถ-
ปรมัตถะ. ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็น
บุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ
เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิ-
กัตถปรมัตถะ ดังนี้ นี้เป็นความผิดของท่าน.
อุปนยนจตุกกะ จบ