เมนู

อรรถกถาปฏิกัมมจตุกกะ


หมวด 4 แห่งการทำตอบ


บัดนี้ เป็นคำถามของสกวาทีในนัยแห่งอนุโลม เพื่อแสดงถึง
ความชนะในวาทะของตนโดยเป็นธรรม เสมอด้วยการรับรองปัญหานั้น
นั่นแหละ. คำตอบรับรองของปรวาทีอาศัยลัทธิของตน. การซักถามไม่
ให้โอกาสแก่ลัทธิของปรวาทีด้วยสามารถแห่งปรมัตถะอีกเป็นของสกวาที.
การปฏิเสธของปรวาที เพราะความที่บุคคลเป็นสภาพไม่มีอยู่โดยปรมัตถะ.
เบื้องหน้าแต่นี้ คำของสกวาทีทั้งปวงมีคำว่า ท่านจงรู้ปฏิกรรม
เป็นต้นนั่นเทียว เพื่อแสดงความชนะของตนโดยธรรมเสมอ. ในปฏิ-
กัมมจตุกกะนั้น พึงทราบเนื้อความแห่งปฏิกัมมะนิคคหะ อุปนยนะและ
นิคคมจตุกกะทั้งปวง โดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ.
ข้อนี้ชื่อว่าปัจจนิกานุโลมปัญจกะ พึงทราบว่าท่านชี้แจงแล้ว ด้วย
สามารถแห่งปฏิกัมมะ นิคคหะ อุปนยนะ และนิคคมจตุกกะอันมีคำว่า
ย่อมหยั่งเห็นได้ เป็นต้น แห่งปัจจนิกปัญจกะคำว่า ย่อมหยั่งเห็น
บุคคลไม่ได้ เป็นต้น ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้. ปัญจกะ คือ หมวด 5
ทั้ง 2 ในปฐมสัจฉิกัตถะเหล่านี้ ท่านอธิบายแล้วด้วยประการฉะนี้. ใน
ปัญจกะทั้ง 2 นั้น ปัญจกะแรกสกวาทีทำนิคคหะแก่ปรวาที ชื่อว่าเป็น
นิคคหะดี แต่ความชนะที่ปรวาทีอาศัยวาทะอันมีเลศนัย ทำตอบแก่สกวาที
ที่ตนให้สำเร็จแล้ว เป็นความชนะที่ไม่ดี ในปัญจกะที่ 2 ปรวาทีทำ
นิคคหะแก่สกวาทีเป็นนิคคหะที่ไม่ดี. แต่ความชนะที่สกวาทีอาศัยวาทะ
อันเป็นธรรม อันตนให้สำเร็จแล้วทำตอบแก่ปรวาทีเป็นการชนะที่ดี.
อรรถกถาปฏิกัมมจตุกกะ จบ

นิคคหจตุกกะ


[8] ส. ก็ท่านยังจะยืนยันว่า กล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็น
บุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะแต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ
เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถ-
ปรมัตถะ ดังนี้ไซร้ ด้วยเหตุนั้น ท่านเมื่อยังปฏิญาณอยู่ข้างรับรอง
บุคคลอย่างนี้ ด้วยปฏิญญาอย่างนี้ ก็ต้องนิคคหะอย่างนี้ ดังนั้น เรา
จึงนิคคหะท่าน ท่านถูกนิคคหะชอบแล้วเทียว. หากว่าท่านหยั่งเห็น
บุคคล โดยสัจฉิสัตถปรมัตถะด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า สภาวะ
ใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้นตามสภาวะ
นั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า
ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะ
ใดเป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะ
นั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด
เป็นสัจฉิกัตกะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะ
นั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล
โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ. ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า
ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะแต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะ
สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น
ตามสภาวะ นั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ นี้เป็นความผิดของท่าน.
นิคคหจตุกกะ จบ