เมนู

อรรถกถาปฏิกัมมจตุกกะ


หมวด 4 แห่งการทำตอบ


บัดนี้ เป็นคำถามของสกวาทีในนัยแห่งอนุโลม เพื่อแสดงถึง
ความชนะในวาทะของตนโดยเป็นธรรม เสมอด้วยการรับรองปัญหานั้น
นั่นแหละ. คำตอบรับรองของปรวาทีอาศัยลัทธิของตน. การซักถามไม่
ให้โอกาสแก่ลัทธิของปรวาทีด้วยสามารถแห่งปรมัตถะอีกเป็นของสกวาที.
การปฏิเสธของปรวาที เพราะความที่บุคคลเป็นสภาพไม่มีอยู่โดยปรมัตถะ.
เบื้องหน้าแต่นี้ คำของสกวาทีทั้งปวงมีคำว่า ท่านจงรู้ปฏิกรรม
เป็นต้นนั่นเทียว เพื่อแสดงความชนะของตนโดยธรรมเสมอ. ในปฏิ-
กัมมจตุกกะนั้น พึงทราบเนื้อความแห่งปฏิกัมมะนิคคหะ อุปนยนะและ
นิคคมจตุกกะทั้งปวง โดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ.
ข้อนี้ชื่อว่าปัจจนิกานุโลมปัญจกะ พึงทราบว่าท่านชี้แจงแล้ว ด้วย
สามารถแห่งปฏิกัมมะ นิคคหะ อุปนยนะ และนิคคมจตุกกะอันมีคำว่า
ย่อมหยั่งเห็นได้ เป็นต้น แห่งปัจจนิกปัญจกะคำว่า ย่อมหยั่งเห็น
บุคคลไม่ได้ เป็นต้น ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้. ปัญจกะ คือ หมวด 5
ทั้ง 2 ในปฐมสัจฉิกัตถะเหล่านี้ ท่านอธิบายแล้วด้วยประการฉะนี้. ใน
ปัญจกะทั้ง 2 นั้น ปัญจกะแรกสกวาทีทำนิคคหะแก่ปรวาที ชื่อว่าเป็น
นิคคหะดี แต่ความชนะที่ปรวาทีอาศัยวาทะอันมีเลศนัย ทำตอบแก่สกวาที
ที่ตนให้สำเร็จแล้ว เป็นความชนะที่ไม่ดี ในปัญจกะที่ 2 ปรวาทีทำ
นิคคหะแก่สกวาทีเป็นนิคคหะที่ไม่ดี. แต่ความชนะที่สกวาทีอาศัยวาทะ
อันเป็นธรรม อันตนให้สำเร็จแล้วทำตอบแก่ปรวาทีเป็นการชนะที่ดี.
อรรถกถาปฏิกัมมจตุกกะ จบ