เมนู

นิคคหะที่ 2


อรรถกถาปัจจนีกกปัญจกะ


หมวด 5 แห่งปัจจนิก


เมื่อความชนะฝ่ายแรกของสกวาทีมีอยู่ประมาณเท่าใด ความ
ชนะของปรวาทีด้วยวาทะอันมีเลศนัยสักว่าเป็นคำธรรมดาก็มีประมาณ
เท่านั้น. บัดนี้ ครั้นเมื่อความชนะฝ่ายแรกของปรวาที่มีอยู่ฉันใด ความ
ชนะของสกวาทีโดยธรรมตามความเป็นจริงก็มีอยู่ฉันนั้น เพื่อแสดงซึ่ง
ความเกิดขึ้นแห่งวาทะเช่นนั้น ท่านจึงเริ่มปัจจนิกานุโลมปัญจกะด้วย
คำว่า ย่อมหยั่งเห็นบุคคลไม่ได้ เป็นต้น. ในปัจจนิกนั้นเป็นคำถาม
ของปรวาที. คำรับรองของสกวาทีหมายเอาสัจฉิกัตถปรมัตถะอันต่างด้วย
รูปเป็นต้น. คำซักถามของปรวาทีอีกว่า " สภาวะใดเป็นสัจฉิกัตถะ
หมายเอาสมมติสัจจะล้วน หรือสมมติสัจจะที่เจือด้วยปรมัตถะ " คำปฏิเสธ
ของสกวาทีว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น เพราะสัจฉิกัตถปรมัตถะนั้นใคร ๆ
ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นไม่ได้ด้วยสามารถแห่งสมมติสัจจะ หรือเพราะ
ความซักถามอันระคนแล้วด้วยสัจจะทั้ง 2. คำเป็นต้นว่า ท่านจงรับรู้
นิคคหะ ดังนี้ ด้วยสักว่าเป็นคำธรรมดาว่า ท่านปฏิเสธอยู่ซึ่งคำอัน
ท่านรับรองแล้ว เป็นของปรวาที. พึงทราบว่า นิคคหะที่ 2 อาศัยวาทะ
ที่ 2 ว่า ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้. ปรวาที
ยกนิคคหะขึ้นแล้วด้วยเลศนัยนั้น ดังพรรณนามาฉะนี้.
อรรถกถาปัจจนีกปัญจกะ จบ

ปฏิกัมมจตุกกะ


[7] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ท่านหยั่ง
เห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.
ส. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม. หากว่าท่านหยั่งเห็นบุคคล
โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า สภาวะใด
เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้นว่า ตามสภาวะนั้น
โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้า
หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะแต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็น
สัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น
โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็น
สัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น
โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดย
สัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวไว้ในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้า
หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็น
สัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น
โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะดังนี้ ผิด.
ปฏิกัมมจตุกกะ จบ