เมนู

อัญญาณกถา


[490] สกวาที ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ป. อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัย
คืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา สัญโญชน์คืออวิชชา นิวรณ์คืออวิชชา
ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[491] ส. อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัย
คืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา สัญโญชน์คืออวิชชา นิวรณ์คืออวิชชา
ไม่มีแก่พระอรหันต์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคือ
อวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคือวิชชา สัญโญชน์คืออวิชชา
นิวรณ์คืออวิชชา ไม่มีแก่พระอรหันต์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความไม่รู้ของ
พระอรหันต์มีอยู่.
[492] ส. ความไม่รู้ของปุถุชนมีอยู่ และอวิชชา โอฆะ
คืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา
สัญโญชน์คืออวิชชา นิวรณ์คืออวิชชา ของเขาก็มีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ และอวิชชา

โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคือ
อวิชชา สัญโญชน์คืออวิชชา นิวรณ์คืออวิชชา ของท่านก็มีอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[493] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ แต่อวิชชา โอฆะ
คืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฎฐานคืออวิชชา
สัญโญชน์คืออวิชชา นิวรณ์คืออวิชชา ไม่มีแก่ท่าน หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความไม่รู้ของปุถุชนมีอยู่ แต่อวิชชา โอฆะคือ
อวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา
สัญโญชน์คืออวิชชา นิวรณ์คืออวิชชา ไม่มีแก่เขา หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[494] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ อันความไม่รู้ครอบงำ พึงฆ่าสัตว์
พึงลักทรัพย์ พึงพูดเท็จ พึงพูดส่อเสียด พึงพูดเพ้อเจ้อ พึงตัดช่อง
ย่องเบา พึงปล้นตลอดบ้าน พึงปล้นเฉพาะหลังคาเรือน พึงซุ่มดักที่
ทางเปลี่ยว พึงคบหาทาระของผู้อื่น พึงฆ่าชาวบ้าน พึงฆ่าชาวนิคม
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[495] ส. ความไม่รู้ของปุถุชนมีอยู่ และปุถุชนอันความ

ไม่รู้ครอบงำ พึงฆ่าสัตว์ พึงลักทรัพย์ ฯ ลฯ พึงฆ่าชาวบ้าน พึงฆ่า
ชาวนิคม หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ และพระอรหันต์
อันความไม่รู้ครอบงำ พึงฆ่าสัตว์ พึงลักทรัพย์ ฯ ล ฯ พึงฆ่าชาวบ้าน
พึงฆ่าชาวนิคม หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[496] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ แต่พระอรหันต์
จะได้ถูกความไม่รู้ครอบงำ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯ ล ฯ ฆ่าชาวบ้าน
ฆ่าชาวนิคม ก็หาไม่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความไม่รู้ของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชนจะได้ถูก
ความไม่รู้ครอบงำ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯ ล ฯ ฆ่าชาวบ้าน ฆ่าชาวนิคม
ก็หาไม่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[497 ] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความไม่รู้ในพระศาสดา ความไม่รู้ในพระธรรม
ความไม่รู้ในพระสงฆ์ ความไม่รู้ในสิกขา ความไม่รู้ในส่วนอนาคต
ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ทั้งในส่วนอนาคตและในส่วนอดีต

ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้
จึงเกิดขึ้น ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[498] ส. ความไม่รู้ในพระศาสดา ความไม่รู้ในพระธรรม
ความไม่รู้ในพระสงฆ์ ความไม่รู้ในสิกขา ความไม่รู้ในส่วนอนาคต
ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ทั้งในส่วนอนาคตและส่วนอดีต ความ
ไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึง
เกิดขึ้น ไม่มีแก่พระอรหันต์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ความไม่รู้ในพระศาสดา ความไม่รู้
ในพระธรรม ความไม่รู้ในพระสงฆ์ ฯ ล ฯ ความไม่รู้ในปฏิจจสมุป-
ปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ไม่มีแก่
พระอรหันต์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่
[499] ส. ความไม่รู้ของปุถุชนมีอยู่ และความไม่รู้ใน
พระศาสดา ความไม่รู้ในพระธรรม ความไม่รู้ในพระสงฆ์ ฯ ล ฯ
ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้
จึงเกิดขึ้น ของเขาก็มีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ และความไม่รู้
ในพระศาสดา ความไม่รู้ในพระธรรม ความไม่รู้ในพระสงฆ์ ฯ ล ฯ

ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้
จึงเกิดขึ้น ของท่านก็มีอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[500] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ แต่ความไม่รู้ใน
พระศาสดา ความไม่รู้ในพระสงฆ์ ฯ ล ฯ ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาท
ธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ไม่มีแก่ท่าน หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความไม่รู้ของปุถุชนมีอยู่ แต่ความไม่รู้ในพระ-
ศาสดา ความไม่รู้ในพระธรรม ความไม่รู้ในพระสงฆ์ ฯ ล ฯ ความ
ไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึง
เกิดขึ้น ไม่มีแก่เขา หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[501] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ราคะอันพระอรหันต์ละขาดแล้ว ถอนรากขึ้น
แล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ทำให้ไม่เกิดขึ้นได้ในภายหลัง ทำให้
มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากราคะอันพระอรหันต์ละขาดแล้ว ถอนราก
ขึ้นแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ทำให้ไม่เกิดขึ้นได้ในภายหลัง

ทำให้มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดาแล้วก็ต้องไม่กล่าวว่า ความไม่รู้
ของพระอรหันต์มีอยู่ ฯ ล ฯ
ส. โทสะ ฯ ล ฯ โมหะ ฯ ล ฯ อโนตตัปปะ อัน
พระอรหันต์ละขาดแล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน
ทำให้ไม่เกิดขึ้นได้ในภายหลัง ทำให้มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา
แล้ว มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า อโนตตัปปะอันพระอรหันต์ละขาดแล้ว
ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ทำให้ไม่เกิดได้ในภายหลัง
ทำให้มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่าความไม่รู้
ของพระอรหันต์มีอยู่.
[502] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ยังมรรคให้เกิดแล้ว ฯ ล ฯ ยัง
โพชฌงค์ให้เกิดแล้ว ฯ ล ฯ เพื่อละขาดซึ่งราคะ มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าพระอรหันต์ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละ
ขาดซึ่งราคะก็ต้องไม่กล่าวว่า ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่.
[503] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ยังมรรคให้เกิดแล้ว ฯ ล ฯ ยัง
โพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อขาดซึ่งโทสะ ฯ ล ฯ เพื่อละขาดซึ่งอโนต-
ตัปปะ มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าพระอรหันต์ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละ
ขาดซึ่งอโนตตัปปะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่.
[504] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ
แล้ว ฯ ล ฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าพระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ
แล้ว ฯ ล ฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า
ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่.
[505 ] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?
ป. ความไม่รู้ของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของ
ตนมีอยู่ แต่ความไม่รู้ไม่มีแก่พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น.
ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของ
ตนมีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น

มีอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[506] ส. ความไม่รู้ไม่มีแก่พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรม
อื่น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความไม่รู้ไม่มีแก่พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรม
ของตน หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[507] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน ละขาด
ราคะแล้ว แต่ความไม่รู้ของท่านยังมีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น ละขาดราคะ
แล้ว แต่ความไม่รู้ของท่านมีอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[508] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน ละขาด
โทสะแล้ว ละขาดโมหะแล้ว ฯ ล ฯ ละขาดอโนตตัปปะแล้ว แต่ความ
ไม่รู้ของท่านยังมีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น ละขาดอโนต-
ตัปปะแล้ว แต่ความไม่รู้ของท่านยังมีอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[509] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน ยังมรรคให้
เกิดแล้ว ฯ ล ฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละขาดซึ่งราคะ แต่ความ
ไม่รู้ของท่านยังมีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น ยังโพชฌงค์ให้
เกิดแล้วเพื่อละขาดซึ่งราคะ แต่ความไม่รู้ของท่านยังมีอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[510] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน ยังมรรค
ให้เกิดแล้ว ฯ ล ฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละขาดซึ่งโทสะ ฯ ล ฯ
เพื่อละขาดซึ่งอโนตตัปปะ แต่ความไม่รู้ของท่านยังมีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น ยังโพชฌงค์ให้
เกิดแล้วเพื่อละขาดซึ่งอโนตตัปปะ แต่ความไม่รู้ของท่านยังมีอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[511] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเป็นผู้ปราศ-
จากราคะ โทสะ โมหะแล้ว ฯ ล ฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
แล้ว แต่ความไม่รู้ของท่านยังมีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น เป็นผู้ปราศ-
จากราคะ โทสะ โมหะแล้ว ฯ ล ฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
แล้ว แต่ความไม่รู้ของท่านยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[512] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น ละขาดราคะ
แล้ว และความไม่รู้ไม่มีแก่ท่าน หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน ละขาด
ราคะแล้ว และความไม่รู้ไม่มีแก่ท่าน หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[513] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น ละขาดโทสะ
แล้ว ฯ ล ฯ ละขาดอโนตตัปปะแล้ว และความไม่รู้ไม่มีแก่ท่าน หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน ละขาด
อโนตตัปปะแล้ว และความไม่รู้ไม่มีแก่ท่าน หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[514] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น ยังมรรคให้เกิด
แล้ว ฯ ล ฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว ฯ ล ฯ เพื่อละขาดซึ่งราคะ ยังมรรค
ให้เกิดแล้ว ฯ ล ฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละขาดซึ่งอโนตตัปปะ
และความไม่รู้ไม่มีแก่ท่าน หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนยังโพชฌงค์
ให้เกิดแล้วเพื่อละขาดซึ่งอโนตตัปปะ และความไม่รู้ไม่มีแก่ท่าน หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[515] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น เป็นผู้ปราศ-
จากราคะ โทสะ โมหะแล้ว ฯ ล ฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
แล้ว และความไม่รู้ไม่มีแก่ท่าน หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน เป็นผู้
ปราศจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว ฯ ล ฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควร
ทำให้แจ้งแล้ว และความไม่รู้ไม่มีแก่ท่าน หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[516] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นอาสวะ สำหรับผู้ที่รู้อยู่เห็นอยู่ ไม่
กล่าวสำหรับผู้ไม่รู้อยู่ไม่เห็นอยู่ ก็บุคคลรู้อยู่อย่างไรเห็นอยู่อย่าง
ไร ความสิ้นอาสวะจึงมิได้ บุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ว่า อย่างนี้รูป
อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป อย่างนี้ความดับแห่งรูป อย่างนั้นเวทนา
ฯลฯ อย่างนี้สัญญา ฯ ล ฯ อย่างนี้สังขาร ฯ ล ฯ อย่างนี้วิญญาณ
อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับแห่งวิญญาณ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล ความ
สิ้นอาสวะจึงมิได้
ดังนี้1 เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
1. สํ. ขนฺธ. 17/260.

ส. ถ้าอย่างนั้นก็ไม่พึงกล่าวว่า ความไม่รู้ของพระ-
อรหันต์มีอยู่.
[517] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นอาสวะ สำหรับผู้ที่รู้อยู่เห็นอยู่ ไม่
กล่าวสำหรับผู้ไม่รู้อยู่ไม่เห็นอยู่ ก็บุคคลรู้อยู่อย่างไรเห็นอยู่อย่าง
ไร ความสิ้นอาสวะจึงมีได้ บุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุ
เกิดแห่งทุกข์ นี้ธรรมเป็นที่ดับแห่งทุกข์ นี้ทางให้ถึงธรรมเป็นที่
ดับแห่งทุกข์ ดังนี้ ความสิ้นอาสวะจึงมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บุคคลรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้แล ความสิ้นอาสวะจึงมีได้
ดังนี้1
เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้นก็ไม่พึงกล่าวว่า ความไม่รู้ของพระ-
อรหันต์ มีอยู่.
[518] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่สำรอก

1. สํ. มหา. 19/1705.

ไม่ละซึ่งสิ่งทั้งปวง ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ต่อเมื่อ
รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งกำหนดรู้ สำรอกละซึ่งสิ่งทั้งปวง จึงเป็นผู้ควร
เพื่อความสิ้นทุกข์
ดังนี้1 เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้นก็ต้องไม่กล่าวว่า ความไม่รู้ของพระ-
อรหันต์มีอยู่.
[519] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า พร้อมกับการ
บรรลุโสดาปัตติมรรคของท่าน ท่านละธรรม 3 ประการได้แล้ว
คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส ที่ยังมีอยู่บ้าง
อย่างใดอย่างหนึ่ง ท่านจึงพ้นจากอบายภูมิทั้ง 4 และเป็นผู้ไม่
ควรทำความผิดสถานหนัก 6 ประการ
ดังนี้1 เป็นสูตรมีอยู่จริง
มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้นก็ต้องไม่กล่าวว่า ความไม่รู้ของพระ-
อรหันต์มีอยู่.
[520] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
1. ขุ. อิติ. 25/175.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ในสมัยใด ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากผงฝ้าเกิดขึ้นแก่อริยสาวก
ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความ
ดับเป็นธรรมดา ดังนี้ ในสมัยนั้น พร้อมกับความเกิดขึ้นแห่ง
ทัศนะ อริยสาวกก็ละสัญโญชน์ ได้ 3 ประการ คือ สักกายทิฏฐิ
วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส
ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้นก็ต้องไม่กล่าวว่า ความไม่รู้ของพระ-
อรหันต์มีอยู่.
[521] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่
หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระอรหันต์อาจไม่รู้นามและโคตรของสตรีและ
บุรุษทั้งหลาย อาจไม่รู้ทางและมิใช่ทาง อาจไม่รู้ชื่อของหญ้าไม้ ต้นไม้
เจ้าป่าทั้งหลายก็ได้ มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า พระอรหันต์อาจไม่รู้นามและโคตรของ
สตรีและบุรุษทั้งหลาย อาจไม่รู้ทางและมิใช่ทาง อาจไม่รู้ชื่อของหญ้า
ไม้ และไม้เจ้าป่าก็ได้ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ความไม่รู้
ของพระอรหันต์มีอยู่.

ส. เพราะพระอรหันต์อาจไม่รู้นามและโคตรของ
สตรีและบุรุษทั้งหลาย อาจไม่รู้ทางและมิใช่ทาง อาจไม่รู้จักชื่อของหญ้า
ไม้ และไม้เจ้าป่าก็ได้ ฉะนั้น ความไม่รู้ของพระอรหันต์ จึงมีอยู่
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ อาจไม่รู้โสดาปัตติผล หรือสกทา-
คามิผล หรืออนาคามิผล หรืออรหัตผล ก็ได้หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
อัญญาณกถา1 จบ
1. อรรถกถาท่านอธิบายรวมทั้ง 3 เรื่อง คือ เรื่องความไม่รู้ เรื่องความ
สงสัย เรื่องการแนะนำของผู้อื่นพร้อมกันไป เพราะเนื้อเรื่องทั้ง 3 นี้เป็นทำนอง
เดียวกันทั้งสิ้น สำหรับเรื่องความไม่รู้ กับเรื่องความสงสัย เหมือนกับเกือบ
ทั้งหมดตลอดถึงพระสูตรที่ยกมาอ้างด้วย เพราะฉะนั้นสำหรับอภิธรรมจะคัดเฉพาะ
ความที่เหมือนกันออก ส่วนที่แปลกกันก็จะนำมาแสดงไว้ทั้งหมด แต่อรรถกถา
ไม่มีการตัดเนื้อความอะไร ๆ ออกเลย.

กังขากถา


[522] สกวาที ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาสัญโญชน์
วิจิกิจฉานิวรณ์ ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[523] ส. วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาสัญโญชน์
วิจิกิฉานิวรณ์ ของพระอรหันต์ไม่มี หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉา-
สัญโญชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ของพระอรหันต์ไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า
ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่.
[524] ส. ความสงสัยของปุถุชนมีอยู่ และวิจิกิจฉา วิจิ-
กิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาสัญโญชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ของเขาก็ยังมีอยู่
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ และวิจิกิจฉา
วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาสัญโญชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ของท่านก็ยังมี
อยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ