เมนู

อรรถกถานิคคหจตุกกะ


หมวด 4 แห่งนิคม คือ บทสรุปนิคคหะที่ 1 - 8


บัดนี้ ชื่อว่า นิคคมจตุกกะ มีคำว่า เราไม่พึงถูกนิคคหะ
อย่างนี้ เป็นต้น. ในข้อว่า เราไม่พึงถูกนิคคหะอย่างนี้ ถ้าว่า
ความเป็นแห่งนิคคหะนี้เป็นนิคคหะชั่วอันเราให้สำเร็จแล้วไซร้ ท่านก็
ไม่พึงนิคคหะเราอย่างนี้. คำว่า ด้วยเหตุนั้นแหละ อธิบายว่า ด้วย
เหตุนั้น นิคคหะนี้เป็นนิคคหะชั่ว เพราะฉะนั้น ท่านจึงนิคคหะอันใด
กะเราว่า ถ้าว่า บุคคล ฯล ฯ นี้เป็นความผิดของท่าน ดังนี้ การ
นิคคหะของท่านนี้ผิด. ข้อว่า ด้วยเหตุนั้นแหละนิคคหะที่ท่านทำแล้ว
อธิบายว่า นิคคหะใดที่ท่านทำแล้ว นิคคหะนั้น เป็นการทำที่ไม่ดี ด้วย
เหตุใด เป็นความผิดด้วยเหตุนั้นแหละ. ปฏิกรรมใดเราทำแล้ว ปฏิกรรม
นั้นนั่นแหละเราทำดีแล้ว. ก็การยังกถามรรคให้สำเร็จนี้ท่านทำแล้วทำดี
แล้วด้วยสามารถแห่งปฏิกัมมจตุกกะเป็นต้น. ข้อนี้พึงทราบว่าชื่อว่า
อนุโลมปัจจนิกปัญจกะ อันท่านชี้แจงแล้วด้วยสามารถแห่งปฏิกัมมะ
นิคคหะ อุปนยนะและนิคคมจตุกกะทั้งหลาย มีคำว่า หยั่งเห็นไม่ได้
เป็นต้น แห่งอนุโลมปัญจกะมีคำว่า ย่อมหยั่งเห็นบุคคล เป็นต้น
ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
อรรถกถานิคคมจตุกกะ จบ
อรรถกถานิคคหะที่ 1 จบ

นิคคหะที่ 2


ปัจจนีกปัญจกะ


[6] ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ท่านไม่
หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.
ป. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล
โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า สภาวะใด
เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะ
นั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า
ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะแต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะ
ใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตาม
สภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า สภาวะ
ใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตาม
สภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็น
บุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า
ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะแต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะ
ใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตาม
สภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด.
ปัจจนีปัญจกะ จบ