เมนู

อรรถกถาเหวัตถีติกถา


ว่าด้วยมีอยู่โดยภาวะอย่างนี้


บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องมีอยู่โดยภาวะอย่างนี้. ในเรื่องนั้น ลัทธิ
แห่งชนเหล่าใด ดุจลัทธินิกายอันธกะทั้งหลายในขณะนี้ซึ่งมีประเภท
ตามที่กล่าวมาแล้วว่า ธรรมทั้งหลายอันต่างด้วยอดีตธรรมเป็นต้นแม้
ทั้งปวงมีอยู่ด้วยสามารถแห่งธรรมมีรูปเป็นต้น หรือว่าอดีตธรรมไม่มีอยู่
ด้วยสามารถแห่งอนาคตและปัจจุบัน หรืออนาคต และปัจจุบันไม่มีอยู่
ด้วยสามารถแห่งอดีตธรรมเป็นต้น เพราะฉะนั้น จึงว่าสิ่งทั้งปวงนั้น
แหละอย่างนี้มีอยู่ อย่างนี้ไม่มีอยู่ ดังนี้ สกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น
จึงถามปรวาทีว่า อดีตมีอยู่หรือ คำว่าวิสัชนาว่า มีอยู่โดย
ภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้
เป็นของปรวาที.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า เหว ท่านแก้ว่าได้แก่ เอวํ
แปลว่า อย่างนี้ หรือโดยภาวะอย่างนี้ ลำดับนั้น สกวาที่เมื่อจะถามว่า
ถ้าอดีตธรรมอย่างนี้มี อย่างนี้ไม่มีไซร้ ครั้นเมื่อมีความเป็นอย่างนั้นมี
อยู่ อดีตธรรมนั้นแหละชื่อว่ามีอยู่ อดีตธรรมนั้นแหละชื่อว่าไม่มีอยู่
จึงกล่าวว่า มีอยู่ก็อันนั่นแหละ ไม่มีอยู่ก็อันนั่นแหละ หรือ
ปรวาทีหมายเอาความมีอยู่แห่งธรรมเหล่านั้นโดยสภาวะนั้นเท่านั้น และ
หมายเอาความไม่มีอยู่แห่งธรรมเหล่านั้นโดยสภาวะนั้นเท่านั้น จึงตอบ
ปฏิเสธ. ถูกถามครั้งที่ 2 ก็ตอบรับรองหมายเอาความมีอยู่โดยสภาวะ
ของตน และความไม่มีอยู่โดยสภาวะอื่น. เบื้องหน้าแต่นี้ไป คำว่า

อรรถว่ามีอยู่ก็คืออรรถว่าไม่มีอยู่ อธิบายว่า สกวาทีถามว่า
ภาวะอันเป็นของตนมีอยู่ ภาวะอันเป็นของตนไม่มีอยู่ ชื่อว่าย่อมมี
หรือ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในวาระทั้งปวงโดยอุบายนี้. ก็ในที่สุด
ปรวาทีจึงกล่าวคำว่า ถ้าอย่างนั้น อดีตก็มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่
มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้
ดังนี้ และคำเป็นต้นว่า ถ้าอย่างนั้น รูป
ก็มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้
ดังนี้ เพื่อให้
ลัทธิตั้งไว้แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ลัทธินั้นก็เป็นลัทธิที่ตั้งอยู่ไม่ได้นั่น
แหละ เพราะเป็นลัทธิที่ตั้งไว้โดยปราศจากโยนิโสมนสิการ ดังนี้แล.
อรรถกถาเหวัตถีติกถา จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ


1. ปุคคลกถา 2. ปริหานิกถา 3. พรหมจริยกถา
4. โอธิโสกถา 5. ชหติกถา 6. สัพพมัตถีติกถา 7. อตีตขันธาติกถา
8. เอกัจจมัตถิกถา 9. สติปัฏฐานกถา 10. เหวัตถีติกถา
มหาวรรคที่ 1 จบ