เมนู

อรรถกถาสติปัฏฐานกถา


ว่าด้วยสติปัฏฐาน


บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องสติปัฏฐาน. ในเรื่องนั้น ลัทธิแห่งชนเหล่าใด
ว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน เพราะถือเอาธรรมทั้งหลายมีกาย
เป็นต้นเป็นอารมณ์ด้วยสติ โดยนัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในสติ-
ปัฏฐานสังยุตว่า จตุนฺนํ สติปฏฺฐานานํ ภิกฺขเว สมุทยญฺจ อตฺถงฺค-
มญฺจ เทสิสฺสามิ
ดังนี้ แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง
เหตุเกิดขึ้น และความดับไปแห่งสติปัฏฐานทั้ง 4 ดุจลัทธินิกายอันธกะ
ทั้งหลายในขณะนี้. นิกายเหล่านี้ คือ ปุพพเสลิยะ อปรเสลิยะ ราชคิริยะ
และสิทธัตถิกะทั้งหลายเหล่านี้ ชื่อว่า นิกายอันธกะซึ่งเป็นนิกายที่เกิดขึ้น
ในภายหลัง. คำถามเพื่อตำหนิลัทธิแห่งชนเหล่านั้นเป็นของสกวาที
คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยคำว่าสติปัฏฐาน ดังนี้:-
ชื่อว่า ปัฏฐาน เพราะอรรถว่า ย่อมตั้งมั่นในธรรมทั้งหลาย
มีกายเป็นต้น ถามว่าอะไรย่อมตั้งขึ้น ตอบว่า สติ. การตั้งมั่นแห่งสติ
ทั้งหลายแม้มีสติเป็นอารมณ์ก็ย่อมตั้งมั่นด้วยอรรถนี้ว่า สติยา ปฏฺ-
ฐานา สติปฏฺฐานา
แปลว่า การตั้งมั่นแห่งสติชื่อว่าสติปัฏฐาน
เพราะฉะนั้น การตั้งมั่นแห่งสติเหล่านั้นจึงชื่อว่า ปัฏฐาน ถามว่า
ปัฏฐานอะไรย่อมตั้งมั่น ตอบว่า สติย่อมตั้งมั่น. ปัฏฐาน คือสติชื่อว่า

สติปัฏฐาน ย่อมได้ด้วยอรรถว่า สติยา ว ปฏฺฐานา สติปฏฺฐานา
แปลว่า ปัฏฐาน คือ สติ ชื่อว่า สติปัฏฐาน นี้ เหตุใด เพราะ
เหตุนั้น วาทะแม้ทั้ง 2 คือวาทะของสกวาทีและปรวาที ย่อมถูกต้อง
โดยปริยาย.
อนึ่ง ชนเหล่าใดละปริยายนี้แล้วย่อมกล่าวว่า ธรรมทั้งปวง
เป็นสติปัฏฐาน
โดยส่วนเดียวเท่านั้น คำถามของสกวาทีหมายถึงชน
เหล่านั้น คำตอบรับรองด้วยสามารถแห่งอารมณ์เป็นของปรวาที. แต่
เมื่อสกวาทีซักว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติ เป็นต้น ปรวาทีก็ตอบ
ปฏิเสธเพราะความที่ธรรมทั้งปวงไม่เป็นสติทั้งหมด.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ขยคามี เป็นเหตุให้ถึงความสิ้น
ไป เป็นต้น เป็นชื่อพิเศษแห่งมรรค จริงอยู่ เอกายนมรรคชื่อว่า
ขยคามี
เพราะอรรถว่า บรรลุพระนิพพานอันเป็นเหตุสิ้นไปแห่งกิเลส
ทั้งหลาย. ชื่อว่า โพธคามี เป็นเหตุให้ถึงการตรัสรู้เพราะอรรถว่า
ถึงการตรัสรู้สัจจะ 4. ชื่อว่า อปจยคามี เป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน
เพราะอรรถว่า ถึงการทำลายวัฏฏะ. สกวาทีถามด้วยบทเหล่านี้โดยหมาย
เอาอย่างนี้ว่า ธรรมทั้งปวงเป็นเอกายนมรรคมีอยู่ตามลัทธิของท่าน
อย่างนี้หรือ คำทั้งหลายแม้มีคำว่า ธรรมอันไม่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะ อันไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์
เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อ
ต้องการถามโดยความเป็นโลกุตตระ. คำทั้งหลายว่า พุทธานุสสติ
เป็นต้น ท่านกล่าวโดยคำที่แยกประเภท จากโลกุตตระ. คำเป็นต้นว่า

จักขายตนะ เป็นสติปัฏฐาน ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งคำถาม
อันเป็นประเภทแห่งธรรมทั้งปวง. ในปัญหาทั้งปวงแม้เหล่านั้น บัณฑิต
พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า คำตอบปฏิเสธมีอยู่ ด้วยสามารถแห่ง
สติ คำตอบรับรองมีอยู่ ด้วยสามารถแห่งอารมณ์.
การชำระพระสูตร
มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น ด้วยประการฉะนี้แล.
อรรถกถาสติปัฏฐานกถา จบ

เหวัตถีติกถา


[437] สกวาที อดีตมีอยู่ หรือ ?
ปรวาที มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยภาวะ
อย่างนี้.
ส. มีอยู่ก็นั่นแหละ ไม่มีอยู่ก็นั้นแหละ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. ก็มีอยู่นั้นแหละ ไม่มีอยู่ก็นั้นแหละ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อรรถว่ามีอยู่ก็คืออรรถว่าไม่มีอยู่ อรรถว่าไม่มี
อยู่ก็คืออรรถว่ามีอยู่ ความมีอยู่ก็คือความไม่มีอยู่ ความไม่มีอยู่ก็คือ
ความมีอยู่ บัญญัติว่ามีอยู่หรือว่าไม่มีอยู่ก็ดี ว่าไม่มีอยู่หรือว่ามีอยู่ก็ดี
บัญญัติทั้ง 2 นี้ ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน
เหมือนกัน หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[438] ส. อนาคตมีอยู่ หรือ ?
ป. มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้.
ส. มีอยู่ก็นั้นแหละ ไม่มีอยู่ก็นั้นแหละ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. มีอยู่ก็นั้นแหละ ไม่มีอยู่ก็นั้นแหละ หรือ ?